5 เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนมจากพืชผักตามแหล่งธรรมชาติ
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าน้ำนมแม่นั้นถือเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกในช่วงวัย 6 เดือนแรก เพราะในน้ำนมแม่นั้นประกอบไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทั้งทางด้านร่างกาย และด้านสมองของลูกน้อย เพราะในน้ำนมแม่มีสฟริงโกไมอีลินเป็นส่วนประกอบจำนวนมาก ช่วยให้ลูกน้อยฉลาด เรียนรู้ได้ไว ซึ่งไม่อาจหานมชนิดใดมาเทียบคุณค่าจากน้ำนมแม่ได้เลย จะสังเกตเห็นได้ว่าทารกที่ได้รับนมแม่นั้นส่วนใหญ่แล้วจะมร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ เจ็บป่วยได้ยากกว่าทารกที่ได้รับนมผง ในน้ำนมแม่นอกจากจะช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลูกน้อยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย สำหรับแม่ท่านไหนที่ตั้งใจจะให้นมแม่ล้วนกับลูกน้อยนั้น จะต้องมีการวางแผนการบำรุงทั้งน้ำนมและร่างกายให้เป็นอย่างดี เนื่องจากสารอาหารในน้ำนมแม่นั้นจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับอาหารที่แม่ๆทานเป็นส่วนใหญ่ คุณแม่จึงต้องบำรุงร่างกายให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ในเวลาเดียวกันคุณแม่ก็จะต้องบำรุงร่างกาย อาจจะด้วยวิตามินเสริม เพื่อให้ร่างกายไม่เกิดภาวะขาดสารอาหาร ลดความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนในอนาคตได้อีกด้วย แต่สำหรับแม่ท่านไหนที่น้ำนมไม่เพียงพอให้ลูกทาน วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆมาฝากแม่ๆกัน ด้วยเทคนิคการเพิ่มน้ำนมจากผักมหัศจรรย์ รับรองว่าสามารถเรียกน้ำนมให้เพิ่มมากขึ้นได้อย่างแน่นอน 1. หัวปลี มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้เป็นอย่างดี สังเกตได้จากอาหารเสริมสำหรับคุณแม่ให้นม ส่วนมากจะมีส่วนผสมของหัวปลีอยู่ด้วย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่เป็นแหล่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญสำหรับทารกมากมาย เช่น อุดมไปด้วยแคลเซียมสูง โปรตีน ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีน ฟอสฟอรัส เป็นต้น โดยสารอาหารที่ได้จากหัวปลีนั้นมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของลูกน้อย อีกทั้งยังช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อย ให้ฉลาดสมวัยได้อีกด้วย สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ต้องการให้ลูกดื่มนมตัวเองนานๆ สามารถทานหัวปลีเพื่อบำรุงและเพิ่มสารอาหารให้กับน้ำนมได้ 2. น้ำขิง ถือเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทย ที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี น้ำขิงจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตร เพราะ น้ำขิงจะช่วยเพิ่มการหลังฮอร์โมนโปรแลคติน ในร่างกายของคุณแม่ ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ มีหน้าที่กระตุ้นการสร้างและหลังน้ำนม […]
อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ที่สมบูรณ์
ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ควรระมัดระวังในเรื่องของอาหารการกินเป็นพิเศษ ควรให้ความสำคัญกับอาหารที่ทานเข้าสู่ร่างกาย เพราะอาหารที่คุณแม่ทานเข้าไปนั้น จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์โดยตรง ซึ่งในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นมีอาหารมากมายที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจเป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ได้ ซึ่งอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงนั้นแบ่งออกเป็นหลายประเภท วันนี้เราจึงรบรวมสาระดีๆเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินของคุณแม่ตั้งครรภ์มาฝากกัน มีประเภทไหนบ้างที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง ไปติดตามกันเลย 1. เนื้อสัตว์ติดมัน ถึงแม้จะเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง แต่เนื้อสัตว์ติดมันเต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัวที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายถ้าหากแม่ท้องทานมากเกินไปอาจทำให้ไขมันสะสมในร่างกายและไปอุดตันในหลอดเลือดได้ซึ่งอาจส่งผลเสียให้แม่ท้องกลายเป็นคนที่มีรูปร่างอ้วนท้วมเกินกว่าน้ำหนักที่มาตรฐานกำหนดซึ่งน้ำหนักที่ขึ้นมานี้ส่วนมากมักลงที่แม่และจะทำให้แม่ท้องมีน้ำหนักค้างอยู่มากหลังคลอด รวมถึงอาจเกิดความเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษได้อีกด้วย 2. อาหารรสหวาน อาทิ ลูกอม ช็อคโกแลต ขนมหวาน ซึ่งอาหารเหล่านั้นเต็มไปด้วยน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลเสียให้แม่ท้องเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ อีกทั้งยังอาจส่งผลเสียให้คุณแม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนขณะตั้งครรภ์อีกด้วย 3. เบเกอรี่และขนมกรุบกรอบ อาทิ พาย โดนัท ขนมปัง อาหารเหล่านี้ เป็นของว่างที่เต็มไปด้วย แป้ง ไขมัน น้ำตาลและโซเดียมปริมาณสูง ให้คุณค่าทางโภชนาการต่ำ อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ 4. อาหารรสเค็ม คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลือกทานอาหารที่ไม่ใส่ผงชูรสหรือ ใส่น้ำปลา ซีอิ้ว รวมถึงเครื่องปรุงรสที่น้อยกว่าปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงนอกใดที่อาจเกิดขึ้นในคุณแม่ตั้งครรภ์และโรคความดันโลหิตสูงที่จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ 5. อาหารแปรรูป เป็นอีกอาหารประเภทหนึ่งที่ควรงดในช่วงตั้งครรภ์เพราะนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ต่อลูกน้อยในครรภ์แล้วยังอาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของทารกได้เช่นกัน อาหารแปรรูปเช่นไส้กรอก ลูกชิ้น แหนม อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง เป็นต้น ซึ่งอาหารแปรรูปเหล่านี้จะผ่านกระบวนการผลิตโดยการเติมสารเคมีและสารปรุงแต่งเช่นโซเดียมไนเตรท โซเดียมฟอสเฟตรวมถึงผงชูรสเป็นต้น […]
ห้ามพลาด สำหรับ 6 สารอาหารที่ทำให้ลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง
สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น ต้องใส่ใจในอาหารการกินเป็นพิเศษ เพราะทุกสารอาหารที่เข้าสู่ร่างกายของคุณแม่ไป จะสามารถส่งผ่านให้กับลูกน้อยในครรภ์ได้โดยตรง ดังนั้น คุณแม่จึงควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกทานอาหารที่หลากหลาย เพื่อป้องกันลูกเกิดอาการแพ้ รวมถึงผักผลไม้ ที่จะเสริมสร้างวิตามินให้กับลูกน้อย ช่วยให้เขาสามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องได้รับสารอาหารให้ครบถ้วนโดยเฉพาะ 6 สารอาหารสำคัญที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย 1. โปรตีน คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องได้รับโปรตีนให้เพียงพอเพื่อเสริมสร้างลูกน้อยให้แข็งแรง โดยแหล่งโปรตีนที่เหมาะสำหรับคนท้องคือ เนื้อหมูไม่ติดมัน ควรเลือกเป็นส่วนของสันในหรือสันนอก เพื่อลดไขมันสะสมโดยควรกินเนื้อหมูครั้งละ 4 ช้อนโต๊ะต่อครั้งก็ถือว่าได้รับโปรตีนเพียงพอสำหรับมื้อนั้นแล้ว เนื้อไก่ไม่ติดมันส่วนของหน้าอกไก่ ตับหมูตับไก่นำมาปรุงอาหารเช่นผัดพริกไทยดำผัดพริกสดจะช่วยบำรุงเลือดและเสริมธาตุเหล็กได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ไข่ยังจัดเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ง่ายโดยไข่ขาว 1 ฟองมีโปรตีน 6-7 กรัม ซึ่งเป็นโปรตีนดีย่อยง่ายๆช่วยให้คุณแม่ขับถ่ายได้สะดวกอีกด้วยอีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้ลูกน้อยเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรง 2. แคลเซียม ถือเป็นแร่ธาตุสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ในช่วงไตรมาสแรกคุณแม่ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอไปตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ เพราะแคลเซียมจะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกของทารกให้แข็งแรง ซึ่งแหล่งแคลเซียมที่ดีได้มาจาก นม ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง เต้าหู้ ผักใบเขียว โยเกิร์ต ชีส นม ธัญพืชต่างๆ ผักคะน้าเป็นต้น ซึ่งแม่ท้องควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 มิลลิกรัม การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอจะช่วยป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง […]
สัญญาณอันตรายของคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่ต้องรีบไปพบแพทย์
สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หมั่นตรวจสอบและสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอ เพราะตลอดช่วงอายุครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้แม่หลายคนเป็นกังวลได้ว่า อาการแบบไหนเรียกว่าอาการปกติ หรืออาการแบบไหนควรเฝ้าระวังและต้องพบแพทย์ทันที วันนี้เราจึงรวบรวมสัญญาณอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ได้ จะมีอาการใดบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย 1. มีเลือดออกที่ช่องคลอด อาการนี้ถือเป็นอาการที่ผิดปกติซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่นการติดเชื้อภายในช่องคลอดการติดเชื้อในปากมดลูกหรือคุณแม่อาจมีภาวะรกเกาะต่ำก็เป็นได้ซึ่งอาการเลือดออกทางช่องคลอดนี้ถือเป็นสัญญาณอันตรายมากที่ควรไปพบแพทย์ในทันทีเพื่อเฝ้าระวังอาการต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 2. อาการลูกดิ้น มากเกินหรือน้อยไปอย่างผิดสังเกต การนับลูกดิ้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เพราะจะช่วยติดตามอาการของลูกน้อยภายในครรภ์ได้โดยทั่วไปแล้วเด็กทารกจะเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป โดยจะดิ้นประมาณ 200 ครั้งใน 12 ชั่วโมง และจะดิ้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามอายุครรภ์ แต่เมื่อใกล้คลอดทารกจะดิ้นน้อยลงซึ่งไม่ควรน้อยกว่า 10 ครั้ง แต่ถ้าหากลูกหยุดนิ่มเกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไปให้รีบพบแพทย์ทันที 3. อาการแพ้ท้อง ซึ่งถือเป็นอาการปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไปเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอาการที่สังเกตได้คือ คลื่นไส้ อาเจียน พะอืดพะอม เบื่ออาหาร อาการแพ้ท้องนี้เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นเกิน 14 สัปดาห์ฮอร์โมนจะอยู่ในระดับปกติอาการเหล่านี้จะค่อยๆหายไปเองตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากจนทานอาหารไม่ได้น้ำหนักลดซึ่งอาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้ คุณแม่อาจมีภาวะขาดสารอาหารขาดน้ำเช่นใจสั่นปัสสาวะน้อยอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์ทันที 4. ตกขาวมากผิดปกติ อาการตกขาวในหญิงตั้งครรภ์นั้นถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณแม่สังเกตเห็นว่า ตกขาวนั้นเริ่มมีกลิ่น มีสีที่เปลี่ยนไป ซึ่งนั่นอาจบ่งบอกได้ว่าอาจมีการติดเชื้อที่บริเวณช่องคลอดได้ ไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที 5. ตัวบวม ถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดหากคุณแม่มีอาการตัวบวมเท้าบวม […]
แนะนำ นมสำหรับคนท้อง แบบไหนดี มีแคลเซียมสูง
สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการบำรุงลูกน้อยในครรภ์คือ นม ซึ่งนมจะเป็นแหล่งเสริมแคลเซียมให้กับคุณแม่ได้เป็นอย่างดี แต่การดื่มนมในขณะตั้งครรภ์นั้น จะต้องดื่มไม่มากเกินกว่าปกติที่เคยดื่มในช่วงก่อนตั้งครรภ์ เพื่อลดโอกาสที่ลูกจะแพ้นมวัวนั่นเอง และที่สำคัญ คุณแม่ต้องดื่มนมให้หลากหลาย สลับกันไป เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน และช่วยลดโอกาสที่ลูกจะแพ้นมวัวได้เป็นอย่างดีนั่นเอง โดยแคลเซียม ถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างมาก เพราะเป็นสารที่ลูกน้อยจะดึงไปสร้างมวลกระดูกในเจริญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงนั่นเอง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน คุณแม่จึงควรได้รับแคลเซียมให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยปริมาณผู้หญิงตั้งครรภ์ต้องการงั้นส่งถึงวันละ 1,000 – 1,200 มิลลิกรัม เลยทีเดียว วันนี้เราจึง มาแนะนำนมสำหรับคนท้อง ที่มีแคลเซียมสูง เพื่อให้คุณแม่ได้รับอย่างเพียงพอในแต่ละวันนั่นเอง จะมีนมประเภทไหนบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย 1. นมวัว ถือเป็นนมที่นิยมทานมากที่สุดในคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะนมที่ปราศจากไขมัน นมพร่องมันเนยที่มีรสชาติอร่อยให้กรดอะมิโนสูง ซึ่งกรดอะมิโนมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ในนมวัวยังประกอบไปด้วยวิตามินอีสูงช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังมีวิตามินเอที่ช่วยในการมองเห็นและเสริมสร้างเนื้อเยื่อได้เป็นอย่างดีรวมถึงสามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยได้ด้วยเช่นกันโดยนมวัว 1 แก้วจะให้แคลเซียมกับคุณแม่ได้สูงถึง 240 mg 2. นมแพะ หลายคนอาจเคยได้ยินและเธอลองชิมกันมาบ้าง ซึ่งนมแพะนั้นหาซื้อได้ยากและมีราคาแพงกว่านมวัวแต่มีสารอาหารสูงมีให้เลือกทั้งแบบนมสดและแบบนม uht นมแพะจะให้โปรตีน รวมถึงมีไขมันต่ำและมีวิตามินบี 2 ที่สูงกว่านมวัว การดื่มนมแพะจึงสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญให้ร่างกายมีระบบการย่อยอาหารที่ดียิ่ง อีกทั้งยังมีวิตามินเอที่ร่างกายสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง โดยนมแพะ 1 แก้วจะให้แคลเซียมกับคุณแม่ได้ถึง […]
คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ การเตรียมตัวก่อนผ่าคลอด
หลังจากที่อุ้มท้องมานาน 9 เดือน ก็ถึงเวลาที่ลูกน้อยจะลืมตามาดูโลกภายนอกแล้ว เชื่อว่าแม่ๆทุกคนจะต้องมีอารมณ์ความรู้สึกมากมายที่ถาโถมมา หนึ่งในนั้นคุณแม่จะต้องตื่นเต้นอย่างมากแน่นอน ซึ่งการคลอดลูกนั้น คุณแม่สามารถเลือกได้ว่าจะคลอดธรรมชาติ หรือว่าจะผ่าคลอด ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ผสมผสานกับเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้แม่ๆไม่น้อยเลยทีเดียวที่เลือกวิธีการผ่าคลอด สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่กำลังเตรียมตัวผ่าคลอดอยู่นั้น วันนี้เรามีวิธีการเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการผ่าคลอดมาฝากกัน รวมถึงสิ่งของจำเป็นที่ต้องเตรียมให้พร้อมต้อนรับลูกน้อยที่จะลืมตาออกมาดูโลก จะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย 1. กระเป๋าเตรียมคลอด ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ คุณแม่ควรทยอยเตรียมกระเป๋าคลอดไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งกระเป๋าเตรียมคลอดนั้นจะบรรจุของใช้ที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ ลูกน้อย รวมถึงเอกสารที่จำเป็นที่ต้องยื่นให้กับโรงพยาบาลด้วย ซึ่งของใช้ส่วนตัวคุณแม่ อาทิ สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผ้าอนามัย หวี ผ้าเช็ดตัว เสื้อชั้นในสำหรับให้นม ถุงเก็บน้ำนม เสื้อผ้าสำหรับใส่วันออกจากโรงพยาบาล เป็นต้น ของใช้ลูกน้อย อาทิ หมวก เสื้อผ้า ผ้าอ้อม ผ้ารองฉี่ ผ้าห่อตัว อุปกรณ์อาบน้ำ เป็นต้น เอกสารสำคัญ อาทิ สมุดฝากครรภ์ บัตรโรงพยาบาล สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารสำหรับการแจ้งเกิดลูก เป็นต้น 2. […]
คุณแม่ตั้งครรภ์ห้ามพลาด กับ 6 สัญญาณเตือนใกล้คลอด
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อยู่ในช่วงโค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หรือในช่วง 2-3 สัปดาห์สุดท้ายใกล้คลอด โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่จะต้องมีความกังวลและตื่นเต้นอย่างมากแน่นอน ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่ต้องเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้อยู่ตลอดเวลา และระมัดระวังตัวเองเป็นพิเศษ เพราะในช่วงนี้ร่างกายและทารกเตรียมพร้อมที่จะคลอดอยู่ตลดเวลา ซึ่งก่อนการคลอดนั้นมักมีสัญญาณเตือนให้คุณแม่ได้เตรียมตัว เตรียมความพร้อมที่จะได้เห็นลูกน้อยในครรภ์ลืมตาดูโลกครั้งแรก ซึ่งอาการก่อนคลอดนั้น มักเกิดขึ้นเตือนก่อนกำหนดคลอดไม่กี่สัปดาห์ จะมีอาการเตือนที่คุณแม่ต้องเฝ้าระวังใดบ้างนั้นไปติดตามกันเลย 1. อาการเจ็บท้องเตือน เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว อาการเจ็บท้องเตือนนั้นเกิดจากมดลูกที่ขยายขนาดเต็มที่แล้วค่อยๆเคลื่อนต่ำลง สภาวะนี้คุณแม่จะรู้สึกว่ามีท้องแข็งเกิดขึ้นเป็นระยะๆ แต่ไม่บ่อยและถี่มากเท่ากับการเจ็บท้องจริง เมื่อนั่งพักแล้วจะรู้สึกดีขึ้น แตกต่างจากการเจ็บท้องจริงที่ปวดจนไม่สามารถทำอะไรได้เลย 2. อาการท้องลด ถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่าคุณแม่ต้องเตรียมพร้อมที่จะคลอดลูกน้อยอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากสภาวะนี้ทารกได้มีการกลับหัวเคลื่อนต่ำลง จะสังเกตได้จากความสูงของยอดมดลูกที่ลดลง ทำให้คุณแม่รู้สึกหายใจได้โล่งสบายมากยิ่งขึ้น หากมีอาการนี้ในท้องแรกจะคลอดภายใน 1 เดือน แต่ถ้าหากเกิดขึ้นในท้องหลังคุณแม่อาจคลอดทารกภายในไม่กี่วันที่จะถึงนี้ 3. มีมูกไหลออกมาทางช่องคลอด โดยปกติแล้วหญิงตั้งครรภ์บริเวณปากมดลูกจะมีเมื่อที่เรียกว่า mucus plug มูกนี้มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่มดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อร่างกายเข้าสู่กระบวนการคลอดปากมดลูกจะเริ่มเปิดและบางลงทำให้เมื่อกี้นี้หลุดออกมาซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่าร่างกายใกล้คลอดแล้วและบางครั้งนี้อาจมาพร้อมกับเลือดฝนออกมาด้วย นอกจากนี้เมื่อร่างกายใกล้คลอดแล้วปากมดลูกเริ่มขยายมากขึ้นทำให้เส้นเลือดบริเวณปากมดลูกมีการแตกและมีมูกเลือดไหลปนออกมา หากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ควรเตรียมตัวให้พร้อม 4. อาการเจ็บท้องคลอด สภาวะนี้คุณแม่จะรู้สึกเจ็บท้องคล้ายกับการเจ็บท้องหลอก แตกต่างกันตรงที่ อาการปวดนั้นรุนแรงกว่าหลายเท่า จะสังเกตได้ว่าถ้าคุณแม่มีอาการเจ็บท้องคลอดจะเจ็บถี่ต่อเนื่องกัน โดยอาการปวดนั้นจะปวดถี่ๆทุกๆ 10 นาที และมีอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆจนคลอด เมื่อนั่งพักก็ไม่คลายปวด อาจมาพร้อมกับอาการปวดยอดมดลูกและแผ่นหลัง หรือบางกรณีอาจมีมูกเลือดปนออกมาทางช่องคลอดด้วยเช่นกัน 5. ท้องเสีย […]
อาการคนท้องระยะแรกและสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังตั้งครรภ์
สำหรับใครที่กำลังวางแผนมีบุตรนั้น คงมีหลายคำถามสำหรับการตั้งครรภ์ ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในนั้นจะต้องสงสัยอย่างแน่นอนว่า อาการเริ่มแรกที่จะบ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์นั้นมีสัญญาณอะไรเตือนบ้าง ซึ่งอาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังจะเป็นคุณแม่มือใหม่นั้นไม่เหมือนกัน อาการแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป โดยในช่วงสัปดาห์แรกนั้นคุณแม่อาจจะยังไม่มีอาการใดแสดงออกมากนัก บางคนมีอาการแพ้ท้องหนักมาก หรือในบางคนไม่เกิดอาการแพ้เลย วันนี้เราจึงรวบรวมอาการที่จะบ่งบอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นมาฝากกัน เพื่อการเตรียมความพร้อมเป็นคุณแม่มือใหม่ได้อย่างเป็นอย่างดี 1. ประจำเดือนขาด ถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่อาจบ่งบอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว ประจำเดือนของผู้หญิงจะมีระยะเวลาประมาณ 21-35 วัน โดยปกติแล้วจะมาใกล้เคียงกันทุกเดือน แต่ถ้าประจำเดือนขาดไปมากกว่า 10 วัน นั่นอาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่ากำลังจะตั้งครรภ์ เพราะเมื่อเกิดการปฏิสนธิกันระหว่างไข่กับอสุจิ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อยับยั้งไม่ให้ผนังมดลูกนั้นหลุดลอกออกมากลายเป็นประจำเดือน เพราะจะเริ่มมีการฝังตัวของตัวอ่อน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนขาดนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะตั้งครรภ์เสมอไป อาจขึ้นอยู่จากหลายปัจจัย เช่น ความเครียด ยาคุมกำเนิด หรือในบางคนอาจเป็นโรคที่มีผลต่อการขาดประจำเดือนได้ เช่น โรคของระบบต่อมไร้ท่อ เบาหวาน เป็นต้น 2. จมูกไวต่อกลิ่น เป็นอีกหนึ่งอาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ คุณจะมีอาการเหม็นหรือได้กลิ่นสิ่งรอบข้างแปลกๆจนอยากอาเจียนเช่นกินข้าวสุก กลิ่นแป้ง กลิ่นน้ำหอม คุณจะรู้สึกเหม็นมากผิดปกติอาการนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายที่มีมากเพิ่มขึ้นในขณะที่คุณกำลังท้องทำให้จมูกไวต่อกลิ่นเป็นพิเศษหรือในบางคนอาจจะเหม็นสามีก็เป็นได้ 3. มีตกขาวมากผิดปกติ เมื่อมีการตั้งครรภ์ร่างกายจะปรับฮอร์โมนให้เพิ่มสูงมากขึ้นกว่าปกติ รวมถึงตกขาว ที่จะเพิ่มขึ้นในปริมาณมากซึ่งลักษณะของตกขาวจะเป็นมูกเหลวสีขาวขุ่นหรือมีสีครีมซึ่งไม่ต้องตกใจไปถือเป็นเรื่องปกติ เพราะโดยปกติแล้วร่างกายจะมีการสร้างของเหลวขึ้นมาที่บริเวณปากมดลูกและช่องคลอดเพื่อหล่อลื่นบริเวณปากช่องคลอดอยู่แล้วเพียงแต่จะผลิตมากขึ้นคุณแม่ต้องดูแลรักษาความสะอาดบริเวณจุดซ่อนเร้นสม่ำเสมอ เพื่อลดความอับชื้นและลดโอกาสที่จะเกิดเชื้อราขึ้นได้ ตกขาวที่มีลักษณะที่ผิดปกติเช่นมีสีเขียว สีเหลือง […]
6 อริยบถประจำวันสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ อัพเดท 2021
สำหรับใครที่กำลังจะเป็นคุณแม่มือใหม่นั้น จะต้องพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกิดขึ้นกับร่างกายอย่างแน่นอน ในช่วงตั้งครรภ์นั้น มดลูกของคุณแม่จะค่อยๆขยายขนาดมากยิ่งขึ้น จนทำให้ไปกดอวัยวะสำคัญต่างๆในร่างกายได้ จึงอาจส่งผลให้คุณแม่มีอาการปวดเมื่อย หายใจไม่สะดวก และยิ่งในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย น้ำหนักตัวจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาต้องรับน้ำหนักมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ปวดขามากกว่าปกติได้ ดังนั้นทุกอริยบถของคุณแม่จึงสำคัญ และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายทั้งสิ้น วันนี้เราจึงมีอริยบถในชีวิตประจำวันของคุณแม่ตั้งครรภ์มาแนะนำกัน เพื่อให้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ลดอาการปวดเมื่อ ลงปได้มากเลยทีเดียว จะมีท่าใดบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย 1. ท่ายืนของคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อลดอาการปวดหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณแม่ไม่ควรยืนแอ่นหน้าท้องมากจนเกินไป จะทำให้บริเวณส่วนหลังนั้นรับน้ำหนักมากจนเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้ปวดหลังได้ คุณแม่ควรทิ้งน้ำหนักตัวทั้งหมดลงที่ส้นเท้าและกลางเท้า เพื่อให้น้ำหนักถ่ายเทได้อย่างสมดุล ลดอาการปวดเข่า ปวดกระดูก โดยสังเกตให้เข่าตึง หลังต้องตั้งตรง หน้าตรง ท่ายืนในลักษณะนี้จะช่วยลดอาการปวดหลังลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ท่าเดิน ของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้น จะต้องเริ่มจากการยืนที่ถูกต้อง หลังตรง ขณะที่จะก้าวเดินออกนั้นให้ยืดหน้าท้องขึ้น จัดไหล่ให้ตั้งตรง แล้วจึงก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างช้าๆ การขึ้นลงบันไดก็เช่นกัน จะต้องวางเท้าให้เต็มขั้นบันได เทน้ำหนักตัวลงที่กลางเท้า เพื่อกระจายน้ำหนักให้ได้อย่างสมดุล ใช้กล้ามเนื้อขายกตัวขึ้นในขณะที่หลังตั้งตรง โดยไม่เอนตัวไปด้านหน้ามากเกินไป 3. ท่านั่งของคุณแม่ตั้งครรภ์ หากคุณแม่ต้องนั่งเก้าอี้เป็นเวลานานควรนั่งให้เต็มก้น วางเท้าลงบนพื้น หรือหากนั่งเก้าอีกแล้วรู้สึกว่าขาลอย ให้หาเก้าอี้ตัวน้อยมาวางพักเท้าจะให้ความรู้สึกว่านั่งสบายมากยิ่งขึ้น ขณะที่นั่งควรจัดหลังให้ตั้งตรงไหล่และสะโพกต้องชิดกับเก้าอี้ […]
คุณแม่ตั้งครรภ์ น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ถึงจะดีต่อลูกน้อยในครรภ์
สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะมีลูก หรือใครที่กำลังจะเป็นคุณแม่มือใหม่ อาจมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของระดับฮอร์โมน อาการวิงเวียนศีรษะ แพ้ท้องหน้ามืด หรือรวมไปถึงในเรื่องของน้ำหนักตัว ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนน่าตกใจ ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลใจไป การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวนั้นเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทำความเข้าใจ และยอมรับ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวของคุณแม่นั้น สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ สารอาหารที่คุณแม่ได้ทานเข้าไปนั้น ล้วนแล้วแต่ไปบำรุงลูกน้อยในครรภ์ทั้งนั้น ซึ่งในช่วงตั้งครรภ์นี้คุณแม่ต้องปล่อยใจสบายๆ ไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องของน้ำหนักตัว เมื่อคลอดลูกน้อยออกมาแล้วนั้น ก็มีโอกาสที่จะกลับไปน้ำหนักตัวเท่าเดิมได้เช่นกัน วันนี้เราจึงมีข้อมูลดีๆเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวของคุณแม่มาฝากกัน ว่าในช่วงตั้งครรภ์ในแต่ละไตรมาสนั้น ควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ถึงจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ สำหรับใครที่สนใจนั้น ไปติดตามข้อมูลกันได้เลย ในช่วงการตั้งครรภ์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นถือเป็นเรื่องปกติ เพราะในช่วงตั้งครรภ์นี้ ร่างกายจะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 300 กิโลแคลอรีต่อวัน เพื่อใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อให้กับลูกน้อย อาหารที่คุณแม่ท้องควรทานเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวให้กับลูกน้อย ควรเน้นเป็นอาหารสดใหม่ที่ได้จากธรรมชาติ ผ่านการปรุงแต่งน้อย หลีกเลี่ยงอาหารกระป๋องหรืออาหารสำเร็จรูป โดยแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ วันละ 5-6 มื้อ โดยเน้นเป็นโปรตีนเพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้กับลูกน้อย คุณแม่ก็จะมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งคุณแม่สามารถคำนวณ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเพื่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ โดยคำนวณจากดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ คำนวณจาก น้ำหนักตัว หารด้วยส่วนสูง ยกกำลังสอง จะได้ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ เช่น หากก่อนตั้งครรภ์คุณแม่มีน้ำหนักตัวปกติ (18.5-24.9) น้ำหนักตัวที่เพิ่มจากการตั้งครรภ์ควรเท่ากับ โดยในช่วงไตรมาสที่ […]