จุกหลอก ดีต่อลูกน้อยจริงหรือเปล่า หรือมีข้อเสียต่อลูกน้อยกันแน่

บทความนี้ขอแนะนำ “จุกหลอก ดีต่อลูกน้อยจริงหรือเปล่า หรือมีข้อเสียต่อลูกน้อยกันแน่” เพราะเด็กน้อยบางครั้งก็ร้องไห้โยเยจะกินนม ทั้งที่เพิ่งจะกินไปเอง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้จุกหลอก มาเป็นตัวหลอกล่อเด็ก ๆ และซึ่งวิธีนี้ก็ได้ผล แต่อย่าชะล่าใจไป เพราะจุกหลอกมีข้อดีในตัวแล้ว ข้อเสียก็มีด้วยเช่น ดังนั้นก่อนตัดสินใจให้ลูกน้อยใช้จุกหลอก ลองพิจารณาดูอีกทีว่ามีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน

Baby Pacifier Standards & Regulations in the United States: An Overview

จุกหลอกคืออะไร

จุกหลอก หรือ จุกนมปลอม สำหรับให้เด็กอมหรือดูดไว้เพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว ไม่ร้องไห้งอแง และป้องกันไม่ให้เด็กดูดนิ้วบ่อย โดยจุกหลอกที่วางขายในปัจจุบันมีให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทั้งตามขนาดที่ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก และตามวัสดุที่ใช้ผลิตทั้งยางและซิลิโคน

50 WAYS to get rid of the dummy - Mum's Grapevine

ข้อดีของจุกหลอก

1.ช่วยให้เด็กอารมณ์ดีขึ้น เด็กเล็กส่วนใหญ่จะอารมณ์ดีขึ้นเมื่อได้ดูดอะไรบางอย่าง การใช้จุกหลอกจึงช่วยฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ รวมทั้งรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัยขึ้น

2.ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กชั่วคราว การใช้จุกหลอกเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของทารกได้ดี โดยเฉพาะเมื่อต้องฉีดยาหรือเจาะเลือด  เพราะจะทำให้เด็กผ่อนคลายและรู้สึกปลอดภัย

3.ช่วยให้เด็กนอนหลับได้ดี สำหรับทารกที่มีปัญหาในการนอน การใช้จุกหลอกจะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายจนหลับได้ง่ายและนานขึ้น 

4.ป้องกันการติดนิสัยดูดนิ้ว การดูดจุกหลอกจะช่วยให้เด็กไม่ดูดนิ้ว ซึ่งการติดนิสัยดูดนิ้วนั้นเลิกได้ยากกว่าการดูดจุกหลอก และหากไม่ได้ใช้เด็กก็จะเลิกติดจุกหลอกไปเอง

5.ช่วยปรับระดับความดันภายในหูระหว่างขึ้นเครื่องบิน หากพ่อแม่จำเป็นต้องพาเด็กเดินทางด้วยเครื่องบิน การใช้จุกหลอกจะช่วยปรับระดับความดันภายในหูของเด็ก ลดอาการหูอื้อหรืองอแงขณะเครื่องบินกำลังขึ้นได้

6.ลดความเสี่ยงต่อโรคไหลตายในทารก มีงานวิจัยพบว่าการให้ทารกดูดจุกหลอกในขณะนอนหลับอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไหลตายได้ ทว่ายังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าสามารถช่วยได้จริงหรือไม่ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

7.ป้องกันเชื้อโรคและอันตรายทางปาก เพราะเด็กเล็กมักชอบหยิบจับสิ่งของรอบข้าง ซึ่งบางสิ่งอาจจะสกปรก แล้วมักจะเผลอเอานิ้วเข้าปากโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นเมื่อเด็กดูดจุกหลอกอยู่ในปาก เขาก็จะไม่เผลอเอามือเข้าปากอีก

15 Best Baby Pacifiers You Can Buy Now

ข้อเสียของการใช้จุกหลอก

1.สร้างปัญหาในช่องปาก เด็กที่ใช้จุกหลอกติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งมีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป อาจเกิดปัญหาภายในช่องปากได้ เช่น ฟันขึ้นในลักษณะผิดปกติ หรือฟันเรียงตัวผิดปกติ  เป็นต้น

2.เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่หู การใช้จุกหลอกอาจทำให้เด็กเสี่ยงติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลางมากขึ้น เนื่องจากจุกหลอกอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคหากไม่มีการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม

3.ส่งผลเสียต่อการให้นมแม่ เด็กที่เริ่มใช้จุกหลอกเร็วเกินไปอาจสับสนระหว่างการดูดนมแม่กับการดูดจุกนมหลอกได้ เนื่องจากมีวิธีการดูดที่แตกต่างกัน หากเด็กดูดนมแม่แบบที่ดูดจุกหลอกก็อาจส่งผลกระทบต่อการดูดน้ำนมได้

4.เด็กติดจุกหลอก หากพ่อแม่ใช้จุกหลอกเพื่อช่วยให้เด็กนอนหลับง่ายบ่อย ๆ เด็กอาจติดเป็นนิสัยจนต้องดูดจุกหลอกตลอดเวลาขณะนอนหลับ ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กร้องไห้งอแงกลางดึกเมื่อจุกหลอกหลุดออกจากปาก

5.จุกหลอกอาจสกัดกั้นการเจริญเติบโต เพราะว่าการดูดจุกนมหลอกนั้นเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของทารกที่ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งอาจนำไปสู่การที่ทารกมีการใช้พลังงานมากเกินกว่าพลังงานที่ได้รับต่อวัน ทำให้พวกเขามีการเจริญเติบโตที่ช้า หรือสามารถรับประทานได้น้อยกว่าเด็กทั่วไป

6.วิธีเลิกจุกหลอก เด็กจะพูดช้า เมื่อจุกนมอยู่ในปาก และเด็กต้องการที่จะดูดจุกนมตลอดเวลานั้นส่งผลทำให้เด็กมีพัฒนาด้านการการใช้ภาษา การสื่อสาร และการพูดที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป เพราะการที่จุกนมอยู่ที่ปากนั้นทำให้พวกเขามีความลำบากที่จะพูด และไม่อยากจะพูดในที่สุด

Pacifier Safety Tips Every Parent Should Know

วิธีเลือกซื้อจุกหลอก

1.เลือกใช้จุกหลอกแบบชิ้นเดียว เพราะจุกหลอกบางยี่ห้ออาจออกแบบมาให้มีสองจุก ซึ่งเสี่ยงที่จะเกิดการสำลักได้

2.เลือกใช้จุกหลอกที่ทำมาจากซิลิโคน เพราะค่อนข้างมีความทนทาน สามารถทำความสะอาดได้ง่าย สะดวกต่อการเก็บรักษา

3.เลือกใช้จุกหลอกที่ทำมาจากยางธรรมชาติ เพราะปราศจากสารเคมี สารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของเด็ก ลดความเสี่ยงของการรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายตั้งแต่เด็ก

4.เลือกจุกหลอกที่มีการระบุคำว่า “BPA Free หรือ Bisphenol A Free” เนื่องจากสารชนิดดังกล่าวเสี่ยงที่จะสร้างความผิดปกติต่อร่างกายและพัฒนาการของเด็ก ทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย

5.เลือกจุกหลอกที่ใหญ่กว่าปากของเด็ก จุกหลอกที่มีขนาดเล็กกว่าช่องปากของเด็ก เสี่ยงที่จะผลุบเข้าปาก ซึ่งอาจติดคอ หรือทำให้เกิดการสำลัก อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้

6.เลือกจุกหลอกที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย บางชนิดมีดีไซน์ที่เยอะแต่ทำความสะอาดยาก อาจจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคก็ได้

7.ซื้อจุกหลอกแบบเดียวกันสำรองหลายอัน เผื่อบางทีทำหาย อาจจะทำให้เด็กหงุดหงิดได้ถ้าไม่มีจุกหลอก ดังนั้นควรซื้อสำรองไว้หลาย ๆ อันจะดีกว่า

เมื่อไหร่ที่ควรเลิกใช้จุกหลอก

เมื่อเด็กเริ่มหย่านม หรืออายุย่างเข้า 13-15 เดือน คุณแม่ควรมีระยะห่างในการใช้จุกหลอกกับเด็ก ซึ่งหากโชคดีก็จะพบว่าเด็กบางคนสามารถเลิกใช้จุกหลอกได้เองในช่วงที่มีอายุ 2-4 ขวบ

บทส่งท้าย

จุกหลอก มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันออกไป แต่คุณพ่อคุณแม่บ้านเห็นว่าจุกหลอกน่าจะได้ใช้แล้วเกิดประโยชน์มากกว่าข้อเสีย ก็ตัดสินใจใช้จุกหลอก เพื่อเป็นตัวช่วยในการทำให้ลูกไม่งอแงได้ หรือถ้ากังวลมากไป ก็ต้องจำกัดการใช้จุกหลอก เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้

เครดิตรูปภาพ www.compliancegate.com mumsgrapevine.com.au www.thebump.com www.theindusparent.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)