อาการโคลิคคืออะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมรับมืออย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำ “อาการโคลิคคืออะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมรับมืออย่างไรดี” คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะกังวลใจ เมื่อลูกร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุ และถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ก็อาจจะยิ่งกังวลใจกลัวว่าลูกจะเป็นอะไร แต่การที่ลูกน้อยร้องไห้อย่างไม่มีสาเหตุ อาจเป็นหนึ่งในอาการโคลิคในทารก ซึ่งอาการโคลิคคืออะไร แล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องรับมืออย่างไรบ้าง ในบทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน

Colic 101: What It Is & What you can do to Make it Better - Motherly

โคลิคคืออะไร ?

โคลิคคืออาการของทารกที่มีอายุราว ๆ 2–4 สัปดาห์ ร้องไห้อย่างหนักโดยไม่ทราบสาเหตุและไม่สามารถกล่อมให้หยุดร้องไห้ได้ ถือว่าเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทารกทุกคน ทั้งเพศชายและเพศหญิง แม้จะมีสุขภาพดี หรือรับประทานนมได้ตามปกติก็ตาม โดยทั่วไป เมื่อทารกรู้สึกหิว กลัว เหนื่อย หรือรู้สึกเปียกชื้นมักจะส่งเสียงร้องไห้ออกมา

แต่หากมีอาการโคลิคจะร้องไห้หนักมาก และร้องไห้ในช่วงเวลาเดิม ๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาเย็นหรือหัวค่ำ และจะร้องเสียงดัง เสียงแหลม และนานกว่าปกติ โดยรวมแล้วจะร้องไห้ประมาณวันละ 3 ชั่วโมง มากกว่าสัปดาห์ละ 3 วัน และยาวนานอย่างน้อย 3 สัปดาห์หรือบางรายอาจนานกว่านั้น และอาจมีอาการดีขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3–4 เดือน

โคลิคเกี่ยวกับสิ่งลี้ลับจริงไหม ?

ถ้าลูกน้อยมีอาการโคลิค จึงมักจะร้องในเวลาตอนกลางคืน และสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้ไม่หยุดนั้นส่วนมากจะเป็นสาเหตุที่ผู้ปกครองไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า แต่ไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งลี้ลับแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้ทารกร้องนั้นอยู่ในร่างกายของทารกเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฮอร์โมนในร่างกาย ทารกกำลังป่วยเป็นโรคบางโรคอยู่ในขณะนั้น ทารกอาจจะรู้สึกไม่สบายตัว รวมไปถึงการให้นมทารกแบบผิดวิธี เป็นต้น

Managing Colic in Babies | Happy Baby Organics

โคลิคเกิดจากอะไร

1.การหดเกร็งของกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร

2.อาการปวดท้องที่มีสาเหตุเกิดมาจากปรับเปลี่ยนฮอร์โมนในร่างกาย

3.มีลมหรือแก๊สในท้องมาก ทำให้ท้องอืดไม่สบายท้อง ซึ่งการร้องไห้อาจทำให้ทารกกลืนลมจำนวนมากเข้าไปในท้อง

4.พื้นฐานทางอารมณ์ของทารก หรือเด็กที่พ่อแม่มีปัญหาทางอารมณ์

5.การถูกรบกวนหรือถูกกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกมากเกินไป เช่น เสียง แสงไฟ เป็นต้น

6.การพัฒนาของระบบประสาทที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือการระคายเคืองของระบบประสาท

7.ปัญหาทางสุขภาพของทารก เช่น กรดไหลย้อน หูอักเสบ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ไส้เลื่อน แพ้นมวัว ผื่นผ้าอ้อม เป็นต้น

8.ปัญหาจากการป้อนนม ได้แก่ ป้อนมากเกินไป น้อยเกินไป หรือป้อนผิดวิธี

โคลิคเป็นอาการ ไม่ใช่ “โรคโคลิค”

คุณพ่อคุณแม่อาจเคยได้ยินคำว่า โรคโคลิค แต่ทางการแพทย์แล้วโคลิคไม่ใช่โรค และเป็นเพียงอาการที่ลูกแสดงออกมาในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตเท่านั้น  อาการโคลิค เกิดจากระบบการย่อยอาหารของลูกที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการเสียดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งเมื่อมีการสื่อสารกับปลายประสาทที่ลำไส้ และส่งสัญญาณไปยังสมอง จะทำให้การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติไป ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ไม่สบายท้อง ลูกจึงร้องไห้โยเย โวยวาย ไม่ยอมหยุด

แต่เมื่อลูกค่อย ๆ โตขึ้นและมีพัฒนาการของระบบย่อยอาหารและระบบประสาทที่ดีขึ้นแล้ว อาการเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปในที่สุด โดยส่วนมากจะดีขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3-4 เดือน เพราะฉะนั้น การที่ลูกมีอาการโคลิคไม่ใช่ว่าลูกป่วย แต่เป็นเพราะลูกอยู่ในช่วงกำลังปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ของชีวิต ซึ่งมีหลากหลายวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการโคลิคของลูกน้อยได้ 

Newborn Is Crying Because Of Colic Pain Stock Photo - Download Image Now -  Baby - Human Age, Colic, Crying - iStock

โคลิคไม่อันตราย แต่ต้องระวังภัยที่แอบแฝง

อาการโคลิคไม่ได้ร้ายแรงมากนัก แต่ถ้าหากลูกร้องไห้โยเยไม่หยุด และมีอาการที่ผิดปกติควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที หากพบว่าลูกน้อยมีอาการต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

– ร้องไห้หนักมาก ร้องนาน ร้องเสียงแหลม หรือกระสับกระส่าย

– อุ้มขึ้นมาและทารกตัวอ่อนปวกเปียก

– ไม่ยอมกินนม

– อาเจียนเป็นของเหลวสีเขียว ๆ

– อุจจาระเป็นเลือด

– มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสสำหรับทารกที่อายุต่ำกว่า 3 เดือน หรือมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสสำหรับทารกที่อายุ 3–6 เดือน

– กระหม่อมบุ๋ม

– ตัวเขียว หรือ ผิวซีด

– มีอาการชัก เกร็ง

– มีอาการหายใจที่ผิดปกติ
1,036 Colic Baby Stock Photos, Pictures & Royalty-Free Images - iStock

รับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยมีอาการโคลิค

การรับมือกับอาการโคลิคทำได้หลายวิธี แต่บอกไม่ได้ว่าวิธีไหนคือวิธีที่ดีที่สุด อาจต้องใช้เวลาในการค้นหาหรือทดลองจนกว่าจะเจอวิธีที่เหมาะสม แต่คุณพ่อคุณแม่อาจจะลองทำตามข้อแนะนำดังนี้ก็ได้

1.บางครั้งการที่ทารกร้องไห้อาจจะไม่ได้หิวนมเสมอไป เพียงแค่ต้องการหรืออยากจะดูดบางอย่าง คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกน้อยดูดจุกหลอกหรือดูดนิ้วมือของทารกเองก็ได้

2.ตรวจสอบความชื้นของผ้าอ้อมหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปว่าเปียกหรือชื้นมากเกินไปจนทำให้เจ้าตัวน้อยไม่สบายตัวหรือเปล่า 

3.ปรับอุณหภูมิภายในห้องให้ไม่หนาวหรือร้อนจนเกินไป 

4.ป้อนนมให้ลูกน้อยอิ่มท้องเขาจะได้ไม่ร้องไห้โยเย

5.อุ้มทารกแล้วโยกไปมาเบา ๆ เพื่อให้เขารู้สึกใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่ ให้เขารู้สึกผ่อนคลายจะได้หยุดร้องไห้ หรือพาอุ้มออกไปเดินเปลี่ยนบรรยากาศภายนอก อาจช่วยให้ทารกสงบลงได้

6.นวดผ่อนคลาย เหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากจะช่วยผ่อนคลายทารกแล้วยังช่วยไล่ลมและกระตุ้นระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย ทำได้ทุกวันเพื่อสุขภาพที่ดีของเจ้าตัวน้อย

บทส่งท้าย

อาการโคลิคไม่ใช่โรค เพียงแต่เป็นอาการที่เกิดในบางช่วงกับเด็กทารกเพียงเท่านั้น การดูแลและรับมือกับลูกน้อยที่มีอาการโคลิคนั้นอาจจะไม่ง่ายอย่างที่คิด โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจต้องทำการบ้านหนักสักหน่อย ซึ่งอาการโคลิคก็เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทารกทุกคน ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวรับมือให้ดีทั้งร่างกายและจิตใจ และต้องพักผ่อนให้เพียงพอด้วย และที่สำคัญอย่าเครียดหรือกังวลใจจนมาเกินไป ไม่อย่างนั้นจะส่งผลเสียทั้งกับตัวคุณเองและลูกน้อยได้

เครดิตรูปภาพ www.mother.ly www.happyfamilyorganics.com babywise.life www.istockphoto.com

แนะนำเว็บ : Bkkcar4cash รับจำนำรถ

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)