อาการแพ้นมวัวในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตลูกน้อย

บทความนี้ขอแนะนำ “อาการแพ้นมวัวในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตลูกน้อย” นมผงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว และผ่านกระบวนการแปรรูปจนมาเป็นนมผง ถูกนำมาใช้เป็นนมให้เด็กดื่ม เพื่อทดแทนนมแม่ ที่คุณแม่บางท่านอาจจะไม่สามารถให้นมกับลูกได้ ซึ่งในเด็กบางรายอาจจะมีอาการแพ้นมวัว จนส่งผลต่อร่างกายได้ บทความนี้จะขอแนะนำเกี่ยวกับเรื่องอาการแพ้นมวัวในเด็กมาฝากกัน

Cow's Milk Allergy | Allergy UK | National Charity

สาเหตุของการแพ้นมวัว

อาการแพ้นมวัวอาจจะเกิดขึ้นมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติเนื่องจากแพ้โปรตีนนมวัว ซึ่งจะเกิดขึ้นในหลังจากที่เด็กเปลี่ยนจากการทานนมแม่มาทานเป็นนมผง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกแพ้นมวัวก็อาจจะเกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุเช่น ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยากับโปรตีนนมวัวเกิดการต่อต้าน หรือคุณแม่อาจจะทานนมวัวเพื่อบำรุงมากไปในระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการที่คุณแม่อาจจะทานอาหารที่มีส่วนประกอบจากนมวัวเพิ่มเติมอีก จึงไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรงดี พันธุกรรม ซึ่งอาการแพ้นมวัวจะเกิดกับเด็กทารกแรกเกิด จนถึงเด็กอายุ 1 ขวบ

รู้ได้อย่างไรว่าแพ้?

การแพ้โปรตีนนมวัว จะยังไม่แสดงอาการในช่วงแรกที่เริ่มทานนมวัว แต่จะแสดงอาการหลังจากทานนมวัวไปแล้ว 1-2 สัปดาห์และถ้ามีหากมีอาการเหล่านี้หลังจากทานนมวัว เช่น มีผื่นขึ้นตามใบหน้าหรือตามตัว หน้าบวม ปากบวมแดง ลมพิษ อาเจียนมาก  บางรายถ่ายเป็นเลือดปนมูก ท้องเสียเรื้อรัง ให้รีบพาลูกนั้นเข้าไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการ หรือหาวิธีการรักษาทันที เพราะอาการแพ้นั้นสามารถทำให้ร่างกายของลูกได้รับอันตรายได้ หากรีบหาวิธีรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะเป็นผลดีทั้งตอตัวเด็กเอง และตัวของคุณแม่ด้วย

CMPA (Cow's Milk Protein Allergy): Advice From a Mum Who's Lived It

อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไรบ้าง?

อาการแพ้นมวัวในเด็กนั้น เกิดขึ้นได้ทั้งสองกรณี คือแพ้แบบไม่รุนแรงมาก กับ ในกรณีที่แพ้มาก ซึ่งในสองกรณีนี้จะมีอาการแบบไหนบ้าง แตกต่างกันอย่างไร

อาการแพ้ไม่รุนแรง

– จะเกิดอาการแพ้หลังทานนมไปแล้วหลายชั่วโมง

– มีผื่นแดงขึ้นตามใบหน้า และลำตัว มีอาการคันร่วมด้วย หรือจะขึ้นเป็นแบบตุ่มใส

– อาจจะมีอาการท้องเสีย หรือท้องผูก 

– แหวะนมหรืออาเจียน

– มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด มีน้ำมูก และเสมหะ

– เริ่มร้องไห้งอแง

อาการแพ้รุนแรง 

– มีผื่นแดงขึ้นตามใบหน้าและลำตัว มีอาการบวมที่หน้า ในปากและลำคอ

– หากแพ้รุนแรงจะเกิดอาการถ่ายเป็นมูกเลือด ส่งผลต่อลำไส้ ระบบลำไส้ และมีปัญหาในการย่อยอาหาร และดูดซึมอาหาร

– ซึม ไม่ร่าเริง อ่อนเพลีย

– จะมีอาการหายใจติดขัด หายใจเสียงดัง เหนื่อย หอบ 

– อาจเกิดลมพิษ ชัก หรือเป็นลมจนหมดสติได้

Understanding Paediatric Health - Mother & Child

การรักษา

หากคุณแม่สงสัยแล้วว่าลูกอาจจะแพ้นมวัว ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา และหาวิธีแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งการรักษาอาจจะต้องปฏิบัติทั้งตัวลูกเอง และตัวคุณแม่ร่วมด้วย

1.หากในกรณีที่ลูกยังกินนมแม่อยู่นั้น คุณแม่ควรงกรับประทานนมวัว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิด เพื่อช่วยรักษาลูก

2.หากลูกทานนมผง ก็ควรเปลี่ยนจากนมวัว เป็นนมแพะ หรือนมถั่วเหลืองแทน ซึ่งในกรณีที่เปลี่ยนนมนั้น ต้องดูด้วยว่าลูกแพ้นมแพะ หรือนมถั่วเหลืองด้วยหรือเปล่า

3.ให้ลูกงดทานนมวัว หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิด เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี

Different Prebiotics and Their Formula Role In Infant Milks

อาการแพ้นมวัวป้องกันได้อย่างไร

ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ คุณแม่เองก็ต้องสอบถามเบื้องต้นกับคนภายในครอบครัวทั้งฝั่งคุณแม่และคุณพ่อด้วยเลยว่า มีใครมีประวัติการเป็นภูมิแพ้บ้างหรือไม่ หากมีคุณแม่ก็ควรลดการทานมวัว หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวไปก่อน แล้วหันไปทานนมถั่วเหลืองแทน ซึ่งในเด็กบางรายก็อาจจะมีอาการแพ้นมถั่วเหลืองด้วยเช่นกัน ดังนั้นในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ควรทานนมวัว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัว หรือนมถั่วเหลืองในปริมาณที่ไม่ต้องเยอะ แต่ไม่ควรงดเลยเสียทีเดียว 

เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างมาก ฉะนั้นก็ควรจะรับประทานอาหารที่แคลเซียมและกรดโฟลิกควบคู่ไปด้วย หากทารกคลอดแล้วก็ควรให้เขานั้นพยายามทานแต่นมแม่ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยให้เขานั้นได้ทานนมแม่ไปจนถึงอายุ 6 เดือน และพยายามทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ให้สะอาดปลอดฝุ่นและสิ่งสกปรกอยู่เสมอ หมั่นทำความสะอาดบ้านให้ปลอดฝุ่นด้วย หากทำได้อย่างนี้ลูกก็อาจจะไม่เกิดอาการแพ้นมวัวก็ได้

บทส่งท้าย

นมแม่ถือว่าเป็นอาหารรสเลิศสำหรับทารกแรกเกิดเลยทีเดียว เพราะมีคุณประโยชน์และสารอาหารมากมาย มีภูมิคุ้มกันที่ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่ในกรณีที่คุณแม่บางรายไม่สามารถให้นมกับลูกได้ ก็เลือกใช้นมผงมาทดแทน ส่วนใหญ่จะเป็นนมวัว ซึ่งอาการแพ้นมวัวในเด็กก็เป็นอันตรายอยู่บ้างถ้าหากอาการรุนแรง ฉะนั้นคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการลูกน้อยให้ดี หากเริ่มมีผื่นแดงขึ้นตามใบหน้า ลำตัว เหนื่อยหอบ ก็ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพื่อหาสาเหตุอาการที่แท้จริง รีบหาทางรักษาและป้องกันไว้ก่อนจะบานปลายไปเยอะจะดีกว่า

เครดิตรูปภาพ www.allergyuk.org, www.refinedprose.com, mtalvernia.sg, mobilemall.pk สล็อตออนไลน์

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)