ลูกหกล้ม หัวโน ต้องดูแลอย่างไร อันตรายแค่ไหน และควรหาหมอหรือเปล่า

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกหกล้ม หัวโน ต้องดูแลอย่างไร อันตรายแค่ไหน และควรหาหมอหรือเปล่า” ลูกหกล้ม เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกมีการบาดเจ็บที่ไม่ร้ายแรง ไปจนถึงการบาดเจ็บร้ายแรง เช่น กระทบกระเทือนที่ศีรษะ บาดแผลใหญ่ กระดูกหัก     ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเรียนรู้วิธีรับมือเมื่อลูกหกล้ม และคอยสังเกตสัญญาณความผิดปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกได้รับบาดเจ็บร้ายแรงจนเป็นอันตรายได้

Crying Baby At The Park Stock Photo - Download Image Now - Tantrum,  Toddler, Baby - Human Age - iStock

ลูกหกล้ม เกิดจากอะไร

ลูกหกล้มอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยจะขึ้นอยู่กับอายุของลูก และสถานการณ์ต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว สำหรับเด็กทารก และเด็กโตอาจมีสาเหตุแตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

– วิ่งเล่น

– ตกจากเตียง

– ล้มเพราะเปลี่ยนโต๊ะ

– ปีนป่ายบนที่สูงแล้วล้มลงมา

– พ่อแม่สะดุดจนปล่อยลูกหลุดมือ

– พ่อแม่หลับหรือโยกตัวจนลูกหลุดมือ 

– ตกบันได เพราะชอบสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

ในเด็กโตสาเหตุของการหกล้มที่พบบ่อยที่สุด คือ

– การตกบันไดเมื่อพวกเขาเริ่มเคลื่อนไหวด้วยตัวเองได้และอยู่ในช่วงที่กำลังชอบสำรวจสภาพแวดล้อม

– ล้มลงบนพื้น หรือกระแทกกับพื้นผิวที่แข็งหรือแหลม ในขณะที่พวกเรากำลังเรียนรู้ที่จะเดิน กลิ้ง และคลาน พวกเขาอาจตกจากที่สูงได้ หากพวกเขาสามารถปีนได้

2,800 Baby Fall Down Stock Videos and Royalty-Free Footage - iStock | Baby  walk, Toddler, Learning to walk

ลูกหกล้ม ควรปล่อยให้ลุกด้วยตัวเองดีไหม

ถ้าลูกหกล้มเบา ๆ ไม่หนักมาก คุณพ่อคุณแม่อาจมองลูกอยู่ห่าง ๆ แล้วให้กำลังใจ เช่น “เป็นอะไรไหมลูก” ถ้าลูกลุกเองได้ ให้ชื่นชมเขาว่า “เก่งจังลูก หนูลุกเองได้ เก่งมาก” แต่ถ้าลูกเจ็บจนร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่อาจเดินไปกอด พร้อมบอกว่า “เจ็บตรงไหนลูก กอดแม่ไว้นะ ไม่เป็นไร เดี๋ยวมันก็หาย”ลองชวนลูกพูดคุย แล้วเป่าแผลให้ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้กับความเจ็บปวด เพราะเมื่อลูกได้รู้ว่านี่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ พวกเขาก็จะรู้สึกแข็งแรงขึ้นเอง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อย่ากลัวลูกจะล้มนะคะ เพราะทุกครั้งที่เขาล้ม ลูกจะรู้สึกภูมิใจที่พวกเขาลุกขึ้นเองได้ แต่หากเกิดอาการบาดเจ็บที่ร้ายแรง คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเป็นคนแรก ที่เขาไปปลอบลูก และดูแล

Baby fell off bed or couch: What to do and when to get help | BabyCenter

อาการผิดปกติเมื่อลูกหกล้ม ต้องไปโรงพยาบาลทันที  

ในกรณีส่วนใหญ่หาก ลูกน้อยหกล้ม แล้วร้องไห้ทันที ไม่มีเลือดออก และอาจไม่แสดงอาการบาดเจ็บที่ชัดเจน เมื่อจับพวกเขาให้ยืนขึ้น ก็อาจจะปลอบใจลูกน้อย ซึ่งในกรณีการหกล้มที่ไม่รุนแรงดังกล่าว จะไม่ได้รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินเสียเท่าไรนัก แต่มีบางสถานการณ์ที่ ควรต้องพาลูกน้อยไปหาคุณหมอทันที เมื่อลูกน้อยหกลม ซึ่งสถานการณ์เหล่านั้น ได้แก่

– ลูกน้อยหมดสติ

– ลูกน้อยเริ่มอาเจียนทันที

– เลือดออกจากจมูกหรือหูของเด็ก

– จุดที่อ่อนแอ อย่าง กระหม่อม บนกะโหลกศีรษะเริ่มบวม

– มีร่องรอยของการแตกหักของกะโหลกศีรษะ หรือมีรอยฟกช้ำ บวมที่ศีรษะ เลือดออก มีบาดแผลที่หนังศีรษะ

– ลูกน้อยมีอาการชัก

– แขน ขา คอ หรือกระดูกสันหลังจองทารกดูไม่ตรง ผิดรูป และสงสัยว่ากระดูกหัก

– มีสัญญาณใดๆ ที่ลูกน้อยทำตัวไม่เหมือนปกติ เช่น มีอาการเซื่องซึม หรือไม่อยากอาหาร

รับมืออย่างไรเมื่อลูกหกล้ม

หากลูกไม่ได้เป็นอะไรมากนัก คุณพ่อคุณแม่ควรปลอบใจเขาก่อนเป็นอันดับแรก แล้วอาจอุ้มเขาขึ้นมาเพื่อปลอบใจ ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกสบายใจได้ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปทำแผล รวมถึงตรวจเช็กร่างกายลูกต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.ตั้งสติ แม้จะดูไม่เกี่ยวอะไรกันมากนัก แต่ต้องยอมรับว่าถ้าพ่อแม่ควบคุมสติได้ ก็จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้าได้ดี ไม่ตื่นตกใจจนทำอะไรไม่ถูก ฉะนั้นต้องตั้งสติให้ดี ดูว่าลูกหกล้มแรงแค่ไหน หรือตกมาจากที่สูงมากน้อยแค่ไหนเพื่อประเมินสถานการณ์ 

2.สำรวจลูก ดูว่าลูกได้รับบาดเจ็บตรงไหนบ้าง เลือดออกไหม ฟกช้ำ หรือหัวโนตรงไหนหรือเปล่า 

3.หากมีบาดแผล ให้จัดการทำความสะอาดแผล และทำแผลให้เรียบร้อย 

4.หากไม่มีมีแผล แต่หัวโน ให้ทำความสะอาดบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ และทำการประคบเย็นโดยใช้ผ้าสะอาดห่อน้ำแข็ง หรือใช้เจลประคบเย็น 

5.สังเกตอาการ แม้ว่าจะจัดการทำแผล และประคบเย็นเรียบร้อยแล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่ยังจำเป็นจะต้องติดตามอาการของลูกน้อยต่อไปค่ะ ดูว่าในช่วง 24 ชั่วโมงนั้นลูกน้อยมีอาการอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ เช่น อาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาเจียนพุ่ง หมดสติ ง่วงซึมผิดปกติ นอนนานขึ้นกว่าปกติ หรือปลุกยากกว่าปกติ ปวดศีรษะรุนแรง มีอาการชักเกร็ง เลือดไหลไม่หยุด หายใจไม่ออก พูดจาผิดปกติ หากลูกมีอาการดังที่กล่าวควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที

6.ไปโรงพยาบาลทันที อย่างที่บอกว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องสำรวจดูก่อนว่าลูกตกอย่างไร ตกสูงแค่ไหน ฟาดกับพื้นแข็งหรือไม่ ถ้าตกสูง และกระทบกับพื้นแข็งอย่างรุนแรง หลังจากทำแผลและประคบเย็นเสร็จ ให้พาลูกไปโรงพยาบาลทันทีโดยไม่ต้องรอสังเกตอาการ

บทส่งท้าย

อุบัติเหตุสำหรับเด็ก แม้ไม่ทิ้งร่องรอยไว้ไม่ใช่ไม่บาดเจ็บ บางครั้งการบาดเจ็บของลูกเป็นการบาดเจ็บจากข้างในยิ่งเด็กเล็กที่ยังพูดไม่ได้ สื่อสารไม่เป็นต้องหมั่นสังเกตและรีบพาไปรักษา จะได้ผ่อนหนักให้เป็นเบา ลดโอกาสจากการเสียชีวิตได้

เครดิตรูปภาพ www.istockphoto.com www.babycenter.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)