ลูกน้อยหวงของ คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกน้อยหวงของ คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรดี” อาการหวงของของเด็ก เป็นเพราะว่า ตัวเขาเองยังเด็ก ยังไม่รู้ถึงความต้องการของผู้อื่นอีกทั้งยังไม่สามารถทำความเข้าใจกับอารมณ์ของตนเองได้ดี เด็กบางคนหวงของมากขนาดที่ใครก็จับไม่ได้เลย การหวงของถึงจะเป็นปกติของเด็กทุกคน แต่ผู้ปกครองก็ไม่ควรจะละเลยการแก้ปัญหาโดยสอนให้ลูกรู้จักแบ่งปัน แต่จะมีวิธีให้แก้ปัญหาข้อนี้ได้บ้างบทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน

Sisters Quarrel Over A Toy They Cannot Share A Teddy Bear Stock Photo -  Download Image Now - iStock

อาการหวงของ เป็นแบบไหน

เด็กที่มีอาการหวงของนั้น มักจะไม่ชอบให้ใครมายุ่งวุ่นวาย หรือมาแตะของ ๆ ตัวเอง หรือของเล่นที่ตัวเองชอบ แถมยังไม่ยอมแบ่งของเล่นให้คนอื่น ๆ เล่นอีกด้วย โดยปกติ อาการหวงของมีอยู่ด้วยกันหลายระดับ เด็กบางคนที่ขี้หวงไม่มากนัก จะยอมให้คนอื่นเล่นของเล่นของตัวเอง แต่เด็กบางคนที่หวงของมาก ๆ ก็จะไม่ยอมให้ใครมาแตะของเล่นตัวเอง แถมบางคนก็ยังชอบร้องไห้ ตอนที่มีคนหยิบของเล่นของตัวเองไปอีกด้วย หากปล่อยให้เด็กเป็นคนขี้หวง และไม่บอกไม่สอน เด็กอาจโตไปเป็นคนหวงของ จนทำให้คนรอบข้างไม่อยากปฏิสัมพันธ์ด้วยก็เป็นได้

ทำไมลูกถึงมีปัญหาเป็นเด็กขี้หวง

– ลูกรู้สึกว่าของชิ้นนั้นให้ความอุ่นใจแก่เขา เช่น ตุ๊กตาตัวโปรด กระเป๋าใบโปรด

– ลูกเริ่มเข้าใจว่าเขามีของที่เป็นของเขาเอง จึงรู้สึกหวงสิทธิ์ของตัวเองตรงนั้น

– ลูกถูกพ่อแม่บังคับให้แบ่งของของตนให้น้อง หรือคนอื่นโดยไม่เต็มใจบ่อยๆ จึงเกิดอาการหวงของเมื่ออยู่ที่โรงเรียน

Children Sharing Toys Images – Browse 4,301 Stock Photos, Vectors, and  Video | Adobe Stock

ทำไมเด็กถึงหวงของเล่น

สาเหตุที่ทำให้เด็กมีนิสัยขี้หวง อาจมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือคนในบ้าน ที่อาจจะไม่เคยสอนให้เด็กรู้จักการแบ่งปัน หรืออาจจะมาจากการที่เด็กอยู่ติดกับของเล่นนั้นมาตั้งแต่ยังเด็ก พอมีคนมาหยิบยืมหรือเอาของเล่นไปไกล ๆ ตัว ก็เลยรู้สึกหวงขึ้นมา นอกจากนี้ เด็กบางคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงหรือรักอิสระ ก็อาจจะมีแนวโน้มหวงของเล่นมากกว่าเด็กประเภทอื่น เนื่องจากเด็กจะคิดว่าตัวเองจะทำอะไรกับของเล่นนั้นก็ได้

Give Your Child a Head Start on Success With a Nanny | The Right Start

วิธีรับมือ ความขี้หวงของลูก

1.พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับการแบ่งปันสิ่งของ การอธิบายว่าการแบ่งปันสำคัญอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร จะทำให้ลูกตระหนัก และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการแบ่งปัน และพร้อมที่จะลงมือทำมากยิ่งขึ้น

2.สร้างแรงจูงใจ พยายามให้ลูก ๆ ผลัดกันเล่นของเล่นกับเพื่อน ๆ หากว่ามีเด็กคนอื่น ๆ อยู่ด้วย ไม่ว่าจะที่บ้าน หรือที่โรงเรียน ซึ่งนี่ถือเป็นการเริ่มแบ่งปันที่ดี นอกจากนี้ ลูกเราก็ยังได้เล่นของเล่นที่หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย

3.เป็นแบบอย่างให้กับลูก พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการสอนลูกให้รู้จักแบ่งปัน การสอนให้เด็กรู้จักแบ่งปัน ทำได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเริ่มจากการเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก เช่น แบ่งสิ่งต่าง ๆ ระหว่างคนในบ้านให้ลูกเห็นบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกค่อย ๆ ซึมซับเอาไว้ และทำตามเมื่อโตขึ้น หรือเมื่อเพื่อนบ้านมาขอความช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ให้แสดงความยินดีช่วยเหลือ เป็นต้น

4.ให้ลูกเป็นคนมอบของขวัญ หากเราต้องการมอบของขวัญให้เพื่อนบ้านหรือญาติ ๆ ลองให้ลูกเราเป็นคนมอบของขวัญแทนเราดูได้ ของขวัญที่ว่านี้ อาจจะเป็นของขวัญวันเกิด อาหาร ขนม หรืออะไรก็ได้

Nanny Share Program - Safe At Home Child Care | Ann Arbor Michigan

5.อย่าบังคับหรือหลอกล่อจนเกินไป เด็กที่ยังอายุน้อยมาก ๆ อาจจะยังไม่เข้าใจถึงการแบ่งปัน เราไม่ควรบังคับลูกเกินไป หากเขายังไม่พร้อมแบ่งปัน เพราะอาจทำให้เขามีทัศนคติที่ไม่ดีได้ ทางที่ดี ควรค่อย ๆ สอนลูกจะดีกว่า หรืออาจจะเริ่มสอนตอนที่เด็กเริ่มเดินได้ โดยการถามไถ่ว่า อยากจะแบ่งของเล่นกับเพื่อน ๆ ไหม เพื่อเป็นการเช็คว่าเด็กพร้อมแล้วหรือยัง

6.ชื่นชมเมื่อลูกแบ่งปัน เราอาจจะใช้คำว่า “ขอบใจจ้า” หรือ “เก่งมากลูก” เพื่อชมเชยลูก เมื่อลูกแบ่งของเล่นให้เพื่อน ๆ เล่นด้วย เพราะเมื่อเด็กได้รับคำชม เด็กจะรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้น และรู้สึกว่าตัวเองกำลังทำในสิ่งที่ดีและเหมาะสม

7.สอนลูกเป็นผู้ให้ อย่างเช่นเวลามีเด็กคนอื่นมาเยี่ยมแล้วมาเล่นของที่ลูกหวง ให้สอนลูกว่า  น้องมายืมเล่นเดี๋ยวน้องก็คืน แต่ถ้าหากลูกไม่ให้ ก็ไม่ควรไปดุด่าเขา แต่ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจ ว่าเพราะอะไร

8.เข้าร่วมงานการกุศลต่าง ๆ กับลูก งานกุศล ถือเป็นงานที่ทำให้เราได้แบ่งปันอย่างแท้จริง คุณแม่สามารถชวนน้อง ๆ บริจาคเงิน หรือลงแรงช่วยเหลืองานการกุศลง่าย ๆ ได้ เพื่อช่วยปลูกฝังให้ลูกได้รู้คุณค่าของการแบ่งปันและช่วยเหลือคนอื่น ๆ

บทส่งท้าย

คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักแบ่งปัน และเคารพสิ่งของของผู้อื่นจะช่วยให้ลูกรู้จักเคารพสิทธิ และรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การสอนเด็กที่หวงของต้องใช้เวลา  คำพูดและการกระทำที่อ่อนโยน อย่าดุด่า หรือตำหนิ เพราะจะทำให้เด็กเกิดการต่อต้านและไม่ยอมรับฟัง

เครดิตรูปภาพ www.istockphoto.com stock.adobe.com therightstartstaffing.com safeathomechildcare.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)