ลูกติดเกมทำอย่างไรดี พร้อมวิธีรับมือที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกติดเกมทำอย่างไรดี พร้อมวิธีรับมือที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้” หลายบ้านอาจเจอกับปัญหาลูกหลานกลายเป็นเด็กติดเกม และ มีพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อถูกห้ามเล่นเกม หรือ ถูกบังคับให้หยุดเล่นเกม ก่อนอื่นต้องดูบ่อเกิดของปัญหาก่อนว่า สมาชิกภายในบ้าน ดูแลเอาใจใส่เด็กเพียงพอหรือไม่ จนทำให้พวกเขาหันมาพึ่งพาเกม เป็นเพื่อนและเป็นกิจกรรมแก้เบื่อจนติดงอมแงม จนยากที่จะบอกลาเกมแสนสนุก มาดูวิธีการแก้ปัญหาเด็กติดเกมก่อนจะสายเกินไป 

Video game rehab' is just an excuse for lazy parents

การติดเกมคืออะไร

อาการติดเกม คือ การที่ลูกคุณใช้เวลาเล่นเกมคอมพิวเตอร์ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่า  แบบไม่สนใจสิ่งอื่นใดในชีวิตรอบตัว  1 ใน  5  ของนักเรียนใช้เวลา 5 ชั่วโมง หรือ มากกว่านั้น ในแต่ละวันอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์  สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าเด็กละเลยการเรียน  สังคมรอบข้าง  รวมไปถึงการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว 

จิตแพทย์เด็กเตือนผู้ปกครองสังเกตสัญญาณเสี่ยงลูกติดเกม  หากพบความผิดปกติเล่นเกมติดต่อกันนานหลายชั่วโมง อดหลับอดนอน กระทบชีวิตประจำวัน และ มีอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าว เมื่อต้องหยุดเล่นเกม แนะปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

Twelve ways to break your children's screen addiction as technology and  gaming wrecks sleep | The Sun

ลักษณะของเด็กติดเกมเป็นอย่างไร

1. ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด ทำให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลาย ๆ ชั่วโมง หรือเล่นนานขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน

2. หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะต่อต้าน หรือมีปฏิกิริยาหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง บางคนถึงขั้นก้าวร้าว อาละวาด

3. การเล่นของเด็กมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็ก เช่น เด็กไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจที่จะทำการบ้าน หนีเรียนหรือแอบหนีออกจากบ้านเพื่อจะได้เล่นเกม การเรียนตกลงอย่างมาก ละเลยการเข้าสังคม หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว

4. บางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โกหก ลักขโมย (เพื่อนำเงินไปเล่นเกม) ดื้อต่อต้าน แยกตัว เก็บตัว ฯลฯ

Is my child addicted to video games? Every 9th teen has addiction problems

ลูกติดเกม ส่งผลกระทบอะไรได้บ้าง

1.ด้านการเรียน

เด็กจะไม่ค่อยอยากไปโรงเรียนหรืออาจจะไปโรงเรียนสาย เพราะจะทุ่มเทเวลาไปกับการเล่นเกมมากกว่า และแน่นอนว่าสุดท้ายแล้วก็จะส่งผลให้ผลการเรียนแย่ลง พร้อมกับอาจจะมีปัญหาทางด้านการเข้าสังคมกับเพื่อนในโรงเรียนตามมา

2.ด้านสุขภาพจิต

ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตเป็นผลกระทบต่อเนื่องที่เมื่อเด็กมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคม ก็จะทำให้เขารู้สึกแปลกแยก ไม่สามารถเข้ากับเพื่อนคนอื่นได้  จนอาจเกิดปมด้อยในใจขึ้น

3.ด้านสุขภาพร่างกาย

การทุ่มเทเวลาไปกับการเล่นเกมมากเกินไป จะทำให้เด็กไม่ค่อยสนใจเรื่องอาหารการกินและการพักผ่อน จนสุดท้ายจะทำให้สุขภาพทรุดโทรมและเกิดการป่วยได้

4.ด้านพฤติกรรม

การที่ลูกติดเกมมาก ๆ แนวโน้มพฤติกรรมจะเสี่ยงต่อความก้าวร้าว ไม่เชื่อฟัง และจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวเมื่อถูกขัดจังหวะหรือถูกห้ามในการเล่นเกม

Should I Let My Kids Play Video Games? - Encouraging Discipline

วิธีป้องกันเด็กติดเกม

1.คุยกับเด็กเพื่อกำหนดกติกากันล่วงหน้า ว่าเด็กสามารถเล่นเกมได้ในวันใดบ้าง วันใดเล่นไม่ได้ เล่นได้ครั้งละไม่เกินกี่ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาใดถึงเวลาใด ก่อนจะเล่นต้องรับผิดชอบทำอะไรให้เสร็จเรียบร้อยก่อนบ้าง หากเด็กไม่รักษากติกา เช่น เล่นเกินเวลา ไม่ทำการบ้านให้เสร็จก่อน ฯลฯ เด็กจะถูกทำโทษอย่างไร (แนะนำให้ใช้วิธีริบเกม หรือตัดสิทธิการเล่นเป็นเวลาระยะหนึ่งหากเด็กไม่ทำตามกติกาที่ตกลง)

2.วางตำแหน่งคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมในที่โล่ง มีคนเดินผ่านไปมาบ่อยๆ ไม่ควรตั้งไว้ในห้องนอนหรือห้องที่ปิดมิดชิด เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้ติดตามเฝ้าดูได้ เป็นการป้องกันมิให้เด็กเก็บตัว แอบเล่นคนเดียวในห้อง หรือแอบเล่นทั้งคืน

3.วางนาฬิกาขนาดใหญ่ไว้หน้าเครื่อง หรือในตำแหน่งที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

4.ให้คำชมแก่เด็กเมื่อเด็กสามารถรักษาเวลาการเล่น ควบคุมตังเองไม่ให้เล่นเลยเวลาที่กำหนดได้

5.ใช้ความเด็ดขาดหากเด็กไม่รักษากติกา เช่น ริบเกมโดยไม่ใจอ่อน ถอดสายโมเด็มออก ฯลฯ

6.จัดหากิจกรรมที่สนุกสนานอย่างอื่นให้เด็กทำ หรือมีกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว

7.หลีกเลี่ยงการใช้เกมเป็นเสมือนพี่เลี้ยงเด็ก

8.สอนให้เด็กรู้จักการแบ่งเวลา รู้จักใช้เวลาอย่างเหมาะสม

How to Use Video Games to Connect with Your Kids

ลูกติดเกม แก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง

1.เข้าหาลูกของเราโดยใช้ความสัมพันธ์และท่าทางที่เป็นมิตร

2.วางกติกาการเล่นเกมให้ชัดเจนก่อนที่จะให้ลูกเล่นเกม

3.พยายามจริงจังกับกติกาที่วางไว้ หลีกเลี่ยงการผ่อนปรนหรือปล่อยให้กติกาหละหลวม

4.ใช้กิจกรรมที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่ลูกสนใจเข้ามาทดแทน เพื่อลดเวลาในการเล่นเกมลง และควรชมเชยหากลูกสามารถทำกิจกรรมนั้นได้ดี

5.เน้นการปรับแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรัดลูกจนเกินไป

6.เน้นการดูแลในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด คอยให้คำแนะนำให้ใช้งานอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์

7.ทุกคนในครอบครัวควรหาข้อตกลงในการใช้โทรศัพท์มือถือร่วมกัน เวลาใดใช้ได้หรือเวลาใดใช้ไม่ได้ สถานที่ใดควรใช้หรือไม่ควรใช้ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีอย่างพอดี

8.ชักชวนลูกไปทำกิจกรรมนอกสถานที่ เช่น ไปแคมป์ เป็นต้น เพื่อให้ไปเจอคนใหม่ ๆ สถานที่ใหม่ ๆ

9.ปรับประเภทของเกม ให้เป็นเกมที่เน้นพัฒนาสมองแทน

10.ควรขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการจัดการต่าง ๆ จากจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางโดยตรง

บทส่งท้าย

การแก้ปัญหาเด็กติดเกมให้ดีขึ้น ไม่ใช่ความรับผิดชอบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องเปลี่ยนและปรับด้วยกันทั้งสองฝ่าย ทั้งเด็กและพ่อแม่ รวมถึงคนรอบข้างที่บ้านและที่โรงเรียน ปัญหาต่าง ๆ น่าจะเริ่มต้นแก้ไขด้วยความเข้าใจ และมาเปิดใจคุยกัน เพื่อให้ทุกอย่างไม่สายเกินไป

เครดิตรูปภาพ shanghaimamas.org www.thesun.co.uk encouragingdiscipline.com techsavvymama.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)