พี่อิจฉาน้อง ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม ต้องรีบแก้ไขก่อนบานปลาย

บทความนี้ขอแนะนำ “พี่อิจฉาน้อง ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม ต้องรีบแก้ไขก่อนบานปลาย” หลายคนอาจจะมองว่าเป็นปัญหาเล็ก ๆ แต่บอกเลยว่ามันเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามเลยด้วยซ้ำ “แม่กำลังจะมีน้องนะลูก” “หนูจะได้เป็นพี่แล้ว” เป็นข่าวดีที่ลูกคนพี่อาจไม่แฮปปี้ก็ได้ เพราะรู้สึกเหมือนถูกน้องมาแย่งความรัก เรื่องนี้สำคัญมาก คุณพ่อคุณแม่จะรับมือกับปัญหานี้อย่างไรดีบทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน

How Do Newborns, Babies, Infants, Toddlers, Preschoolers and Kids Differ  from Each Other

เด็กเมื่อมีน้องจะรู้สึกอย่างไร

เด็กคงเลือกเกิดไม่ได้ว่าจะเกิดมาในครอบครัวแบบไหน น้องเกิดมาเพศอะไร หน้าตายังไง อารมณ์แบบใด แต่แน่นอนว่าคนที่มาใหม่นี้จะต้องมาแบ่งพ่อแม่ไป จากเดิมที่เคยได้รับความสนใจ 100% ก็เหลือแค่ครึ่งหนึ่ง ความรักที่เคยได้รับเต็ม ๆ ล้น ๆ ก็ต้องถูกแบ่งไป เด็กก็คือเด็กเขาอาจจะยังไม่เข้าใจคำว่าพี่น้องด้วยซ้ำ

การมีลูก 2 คน (ขึ้นไป) คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเหนื่อยใจ)แบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะการเหนื่อยฟังเสียงทะเลาะเบาะแว้งของพี่น้อง รวมไปถึงปัญหาพี่อิจฉาน้อง น้องชอบอ้อนแม่ ซึ่งเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและทุกที่ นั้น  ทำให้คุณแม่หลายคนหงุดหงิดไม่น้อย แถมยังเครียดกับความรู้สึกผิดว่า อาจเป็นเพราะตัวเองเลี้ยงลูกได้ไม่ดีพอ หรือน่าจะมีวิธีดีๆ หรือพยายามมากกว่านี้เพื่อให้สองพี่น้องอยู่ด้วยกันได้โดยสันติ

สังเกตอาการพี่อิจฉาน้อง

– คนเป็นพี่เริ่มเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ ญาติ คนในครอบครัว หรือคนอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น

– แสดงพฤติกรรมที่รุนแรงคือ การต่อสู้ ทำร้ายร่างกาย มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว

– มีพฤติกรรมเอาแต่ใจ โวยวาย อาละวาด เมื่อไม่ได้ดั่งใจ

– เด็กบางคนมักจะมีพฤติกรรมถดถอย แสดงพฤติกรรมเลียนแบบเด็กเล็ก ๆ มีพฤติกรรมต่อต้าน ร้องอาละวาด เก็บตัวหรือวิตกกังวล

– ไม่แบ่งของเล่นให้น้อง

– แอบหยิก แอบตีน้อง
My Experience Going from Two To Three Kids - Happily Eva After

เทคนิคสอนพี่คนโตให้รักน้อง

1.บอกลูกตรงๆว่าแม่กำลังจะมีน้อง ใช้คำง่ายๆ ตรงไปตรงมา น้ำเสียงอ่อนโยน เช่น “แม่ท้องใหญ่เพราะมีน้องอยู่ข้างใน พอน้องออกมาก็จะเป็นเพื่อนเล่นของหนูไง”“น้องดิ้นเพราะน้องรักหนูจ้ะ”

2.ให้ความสนใจเอาใจใส่พี่เท่าเดิม โดยให้ความสนใจกับพี่ควบคู่กับการให้ความสนใจน้อง และไม่ทุ่มเทเวลาเอาใจใส่แต่น้องคนเดียว ให้เวลากับพี่เหมือนเดิม หาเวลาอยู่กับลูกคนพี่ เช่น เล่นด้วยกัน อ่านนิทานด้วยกัน ไปเดินเล่น

3. ให้พี่มีส่วนร่วม ถ้าพี่คนโตมาป้วนเปี้ยนอยากเล่นกับน้อง ก็ให้เขามีส่วนร่วมกับการดูแลน้อง เช่น หยิบของใช้ ดูน้องระหว่างคุณแม่เข้าห้องน้ำ ใช้เพลงจากที่โรงเรียนมากล่อมน้อง แต่ข้อควรระวังสำหรับเรื่องแบบนี้คือ อย่าบังคับจนพี่คนโตรู้สึกว่าน้องเป็นภาระ 

4.ไม่พูดเปรียบเทียบ ต้องให้ความรักและความใส่ใจพี่น้องต้องเท่ากัน ไม่พูดจาเปรียบเทียบระหว่างพี่กับน้อง เช่น “ห้ามดื้อ ห้ามซนด้วย เพราะแม่เหนื่อย ดูสิ น้องยังไม่ดื้อเลยนะ สู้น้องก็ไม่ได้” ไม่ควรทำ ให้มองถึงจุดเด่นของแต่ละคน ให้เลี้ยงให้เขาเป็นตัวของตัวเอง ให้อิสระกับเขา ไม่บังคับ

Older Brother" Images – Browse 3,921 Stock Photos, Vectors, and Video |  Adobe Stock

5.ตามใจพี่คนโตบ้าง ลูกคนโตอ้อนอยากกินนม ก็ปั๊มนมของคุณนั่นแหละ ให้เขาชิม รับรองเขาจะไม่อ้อนขออีกเลย เพราะมันจืดและไม่อร่อยสำหรับเด็กโต แต่หากรสชาติถูกใจวัยอนุบาลขึ้นมา ให้บอกลูกว่า แม่แค่ให้ชิมและมีนมน้อยสำหรับน้องตัวเล็กๆ เท่านั้น  ถ้าน้องโตกว่านี้แม่ก็ให้น้องดื่มนมจากแก้วเหมือนกัน เพราะแม่ไม่มีน้ำนม

6.พูดคุยกับพี่คนโตบ่อยๆ ระหว่างให้นมลูก ให้พี่ช่วยลูบเท้าหรือขาน้อง คุณอาจจะคุยและถามเรื่องทั่ว ๆ ไป หรือให้เขาทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ อย่าปล่อยให้ลูกนั่งทำตาปริบๆ อยู่ข้างๆ เพราะทำตัวไม่ถูก

7.ให้ของขวัญพี่คนโต คุณควรจะให้ญาติสนิทที่มาเยี่ยมให้ซื้อของสัก 1-2 ชิ้น ฝากลูกคนโตด้วย แล้วบอกว่านี่คือรางวัลที่หนูช่วยแม่ดูแลน้อง จังหวะนี้คุณก็เล่าให้ญาติฟังว่าพี่คนโตช่วยดูแลคุณและน้องก่อนคลอดอย่างไรบ้าง เท่าที่วัยอย่างเขาทำได้

8.หมั่นให้ลูกแสดงความรักกับน้อง สร้างความรักความผูกพันระหว่างกัน เช่น ให้ลูกสัมผัสท้องแม่ที่ค่อย ๆ โตทุกวัน บอกว่าน้องอยู่ในนี้ พูดคุยกับน้องในท้อง แนะนำตัวให้น้องรู้จัก กอดน้องด้วยการกอดท้องแม่ สัมผัสท้องแม่เวลาน้องดิ้น หากน้องเกิดมาแล้วให้เขาได้จับ ได้หอมบ้าง เพื่อเพิ่มความผูกพัน

9.พูดถึงน้องในแง่ดีเสมอ ช่วงใกล้คลอดแม่อาจอุ้มลูกไม่ไหวหรือเล่นกับลูกไม่ถนัดเหมือนที่ผ่านมา ให้แม่อธิบายง่าย ๆ เช่น “แม่อุ้มหนูไม่ไหว แต่แม่กอดหนูได้เหมือนเดิม มาให้แม่กอดหน่อย”

บทส่งท้าย

วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้องที่ได้ผลที่สุด คือพ่อแม่ คนในครอบครัว ต้องแสดงให้เด็กรับรู้ และสัมผัสได้ว่า ทุกคนในครอบครัวยังรัก ยังห่วง และใส่ใจเหมือนเดิม เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกว่าน้องได้รับความรักมากกว่า ปัญหานี้อาจจะถูกมองว่าเล็กน้อย แต่ถ้าปล่อยไว้นานไป จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวในอนาคตได้เลยนะ

เครดิตรูปภาพ parenting.firstcry.com happilyevaafter.com stock.adobe.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)