อาการแพ้ท้องขณะตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่จะมีวิธีรับมืออย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำ “อาการแพ้ท้องขณะตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่จะมีวิธีรับมืออย่างไรดี” อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับแม่ตั้งครรภ์ โดยจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เหม็นกลิ่นอาหาร ซึ่งแต่ละครั้งที่มีอาการแพ้ท้องนั้นจะทำให้คุณแม่รู้สึกทรมานเป็นอย่างมาก เรามาดูกันดีกว่า หากคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นมีอาหารแพ้ท้อง จะต้องทำอย่างไรบ้าง

Morning sickness in your third trimester of pregnancy: is it normal? |  Practical Parenting Australia

อาการแพ้ท้อง คืออะไร 

อาการแพ้ท้อง คือ หนึ่งในสัญญาณเตือนว่ากำลังตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่จะรู้สึกอึดอัด เวียนศีรษะ คลื่นไส้ จนทำให้อาเจียน โดยเฉพาะตอนเช้าที่คุณแม่ท้องจะมีอาการค่อนข้างทรมานในช่วง 3 เดือนแรก แต่ทั้งนี้การแพ้ท้องของแต่ละคนจะแตกต่างกัน บางคนเป็นแค่ไตรมาสแรก บางคนมีอาการดังกล่าวไปตลอดการตั้งครรภ์เลยทีเดียว 

โดยอาการแพ้ท้องมักจะเริ่มขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 5-6 สัปดาห์ เริ่มจากอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเวียนหัว แต่ก็มีคุณแม่จำนวนมากกว่า 90% ที่กว่าจะมีอาการแพ้ท้องก็สัปดาห์ที่ 8 แล้ว ส่วนคุณแม่อีกประมาณ 20-30% จะได้มีอาการแพ้ท้องแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นคุณแม่บางท่านที่ตั้งครรภ์ได้หลายเดือนแล้วแต่ไม่มีอาการแพ้ท้องก็ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด

คนท้องแพ้ท้องนานแค่ไหน

อาการแพ้ท้องของคนท้องมักจะเริ่มรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 6 ขึ้นไปแล้วจะค่อย ๆ บรรเทาอาการลงหลังจากสัปดาห์ที่ 10 หรืออาจเกิดในช่วงสัปดาห์ที่ 12-16 และจะแพ้ท้องหนักมากในช่วงสัปดาห์ที่ 7 – 9 และไปสิ้นสุดช่วง 20 สัปดาห์ แต่ก็ยังมีคุณแม่บางท่านที่แพ้ท้องนานกว่านั้นค่ะ และยังมีคุณแม่อีกประมาณ 10% ที่อาการแพ้ท้องหนักมาเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 9 สัปดาห์ หลายคนเชื่อกันว่าอาการคลื่นไส้ อาเจียนของคุณท้อง บ้างบอกว่าเป็นสัญญาณของการ     ตั้งครรภ์ที่ดีของคุณแม่ โดยอาการแพ้ท้องมากหรือน้อยของคุณแม่นั้น อาจมีสาเหตุมาจากแนวโน้มการตั้งครรภ์ในแต่ละครั้ง หากคุณแม่ท้องสองหรือท้องสามจะมีแนวโน้มว่ามีอาการแพ้ท้องที่รุนแรงกว่า และเรื่องของเชื้อชาติที่เชื่อกันว่าผู้หญิงผิวขาวจะมีแนวโน้มที่มีอาการแพ้ท้องหลังจากตั้งครรภ์ไตรมาสแรกไปแล้ว
Your Guide to Coping with Morning Sickness — Imaginatal | Award Winning  Ultrasound Scanning Clinics

แพ้ท้อง อาการเป็นอย่างไร

จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณแม่มีอาการแพ้ท้องหรือไหม อาการแบบนี้เรียกว่าอาการแพ้ท้องหรือเปล่า คุณแม่สามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

– ไม่สามารถดื่มหรือกินอะไรลงได้ใน 24 ชั่วโมง

– ปัสสาวะน้อย หรือปัสสาวะสีเข้มไม่ใส

– มีอาการอาเจียน บางคนอาเจียนเป็นเลือดด้วยก็มี

– รู้สึกว่าร่างกายอ่อนแอ อยากจะเป็นลมตลอดเวลา

– ตาแห้ง ผิวแห้ง

ทั้งนี้ อาการแพ้ท้อง ของคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่า ใครแพ้มากหรือน้อย ถ้าหากปฏิบัติตัวตามที่แนะนำมาข้างต้นแล้ว อาการยังไม่บรรเทาลง แพ้ท้องหนักมาก รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียนตลอด คุณแม่ควรไปพบสูตินรีแพทย์โดยเร็ว ไม่แนะนำให้ซื้อยารับประทานเอง ยาอย่าง Domperidone (ดอมเพอริโดน) เป็นยาสำหรับบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไม่ใช่ยาแก้แพ้ท้อง ดังนั้นหากคุณผู้หญิงแพ้ท้องมากจนทนไม่ไหว ให้รีบปรึกษาแพทย์

วิธีรับมือกับอาการแพ้ท้อง

1. ดื่มน้ำให้เยอะ ๆ   ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น จะสามารถช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้า อาการบวม       วิงเวียนศีรษะของอาการแพ้ท้องลงได้เป็นอย่างดี หรืออาจจะดื่มน้ำผลไม้เพื่อให้ทารกในครรภ์ยังได้รับประโยชน์จากน้ำที่คุณแม่ดื่มเข้าไปอีกด้วย

2. การรับประทานอาหาร   เครื่องดื่มพวกชา สมุนไพรเพิ่มความสดชื่น อย่าง ชา ขิง หรือน้ำขิงสด เพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาการวิงเวียงศีรษะ และบำรุงเลือด พร้อมกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้ เลือกอาหารย่อยง่าย เพื่อป้องกันท้องอืดแน่นท้อง ทานอาหารประเภทโปรตีน และหลีกเลี่ยงอาหารที่มัน หรือรสเผ็ดจัด หากคุณแม่อยากทานอาหารรสเปรี้ยวให้เลือกทานเป็น ยำ สลัด หรือผลไม้สดแทนของดอง

3.พักผ่อนให้เพียงพอ   ร่างกายจะมีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ จะมีความรู้สึกว่าต้องการพักผ่อน เพื่อให้ระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานอย่างเป็นสมดุล หากอยู่ในช่วงแพ้ท้องจะเกิดความไม่สบายตัวได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงความร้อน สภาพแวดล้อมที่มีแต่มลภาวะ เพราะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้วิงเวียน ควรสวมใส่เสื้อผ้าสบายตัว คุณแม่ควรเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำดีที่สุด และพักผ่อนช่วงกลางวัน

4. การเดิน   การเดินจะสามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ และช่วยลดอาการจุกเสียดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

5. ฝึกสมาธิ ผ่อนคลายความเครียด   สามารถช่วยลดความกังวล ลดความเครียดของคุณแม่ลงได้ คุณแม่ควรหาเวลาทำจิตใจให้สงบ ทุกเช้าควรนั่งสมาธิ เพื่อปรับสมดุลในร่างกาย และปรับสภาพจิตใจให้สู้กับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายในร่างกาย

6. วิตามินอาหารเสริม   โดยปกติคุณหมอจะให้วิตามินบำรุงร่างกายให้รับประทานอยู่แล้ว หากคุณแม่ต้องการรับประทานเสริมเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์
Nausea and Vomiting During Pregnancy | Baby Arabia

แพ้ท้องหนักขนาดไหนที่ควรไปพบแพทย์

– คลื่นไส้หนักทั้งวันจนไม่สามารถกินอาหารหรือดื่มน้ำได้

– อาเจียนวันละ 3-4 ครั้ง จนไม่สามารถกินอาหารหรือดื่มน้ำได้

– อาเจียนออกมาเป็นสีน้ำตาล หรือมีเลือดปน

– น้ำหนักลดลง หรือน้ำหนักลดลงจนผิดปกติ

– ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ

– มีภาวะขาดน้ำ

– หัวใจเต้นเร็ว

– อ่อนเพลียมาก

– มีอาการเพ้อ หรือสับสน

– มีกลิ่นปากหรือกลิ่นตัวที่ไม่พึงประสงค์

บทส่งท้าย

อาการแพ้ท้องนั้น ถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกท่าน ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่อย่างใด แต่เมื่อรู้ถึงที่มาของอาการ และช่วงเวลาที่มักเกิดอาการขึ้น ก็จะช่วยให้สามารถรับมือได้ไม่ยากเลย และถ้ามีการดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้รับมือกับอาการแพ้ท้องและผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

เครดิตรูปภาพ www.practicalparenting.com.au imaginatal.co.uk baby-arabia.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)