คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสียอันตรายไหม กินยาอะไรได้บ้าง และควรรับมือได้อย่างไรบ้าง

บทความนี้ขอแนะนำ “คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสียอันตรายไหม กินยาอะไรได้บ้าง และควรรับมือได้อย่างไรบ้าง” คุณแม่ควรสังเกตความผิดปกติในการขับถ่ายของตนเอง ว่ามีอาการถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นมูก ถ่ายเป็นเลือดบ้างหรือไม่ ทั้งนี้อาการท้องเสียเป็นกลไกของร่างกายที่จะขับของเสียออกมา ซึ่งปกติแล้วอาการเหล่านี้มักจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง หรือเรื้อรังไม่เกิน 3 วัน จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหากับการตั้งครรภ์ แต่ถ้ามีอาการท้องเสีย อันตรายหรือไม่ ควรดูแลรักษาอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์ รวมถึงสามารถกินยาอะไรได้บ้าง 

Diarrhoea During Pregnancy: What Mums-To-Be Need to Know

คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสีย เกิดจากอะไร

1.เกิดจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน  คุณแม่หลายคนมีการเปลี่ยนแปลงอาหารการกินอย่างมากหลังตั้งครรภ์ หรือบางคนมีอาการแพ้ท้องอยากกินของแปลก ๆ หรือของเปรี้ยว ของหมักดอง เมื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการกินกะทันหันแบบนี้ ก็อาจจะทำให้มีอาการอาหารเป็นพิษ ปวดท้อง หรือท้องเสีย ตามมาได้

2.มีความเซนซิทีฟต่ออาหารมากขึ้น  คุณแม่จะมีความเซนซิทีฟต่ออาหารมากขึ้นหลังตั้งครรภ์ ยกตัวอย่างเช่น อาหารบางอย่างที่คุณสามารถรับประทานได้สบาย ๆ ก่อนตั้งครรภ์ แต่พอรับประทานหลังตั้งครรภ์กลับมีอาการแพ้ คลื่นไส้ และท้องเสีย เป็นต้น

3.รับประทานวิตามินมากเกินไป  การรับประทานวิตามินระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยบำรุงให้คุณแม่และทารกในครรภ์แข็งแรง และมีสุขภาพดี แต่ถ้ารับประทานวิตามินมากเกินไปก็อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ ท้องอืด และท้องเสียได้ เนื่องจากวิตามินไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

4.การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน  การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน นอกจากจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลงแล้ว ยังสามารถเร่งการทำงานของระบบย่อยอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

5.อาหารเป็นพิษ   คุณแม่อาจเผลอไปกินอาหารบางอย่างที่เกิดการปนเปื้อน หรือมีกรรมวิธีการปรุงที่ไม่สะอาดมากพอ ก็อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนของไวรัสหรือแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสียได้ ขณะตั้งครรภ์จึงควรใส่ใจอาหารการกินมากเป็นพิเศษ นอกจากจะต้องเลือกอาหารที่หลากหลายและดีต่อสุขภาพแล้ว กรรมวิธีในการปรุงก็ควรจะต้องสุกและสะอาด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และเด็กในท้อง 

Food poisoning while pregnant: Symptoms, treatment, dangers, and more

คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสียลูกในท้องจะเป็นอะไรไหม

อาการท้องเสียระหว่างตั้งครรภ์นั้น โดยปกติแล้ว ถ้ามีอาการไม่รุนแรง ก็ไม่มีผลกระทบอะไรต่อทารกในครรภ์ เพราะเชื้อโรคทั้งหลายอยู่เฉพาะในลำไส้เท่านั้น จะมีผลแค่ทำให้ลูกดิ้นมากผิดปกติเท่านั้นเอง เพราะมดลูกนั้น ถูกรายล้อมรอบด้วยลำไส้ เมื่อท้องเสีย  ลำไส้จะบีบตัวเสียงดังโครกคราก เสียงอาจจะรบกวนการนอนของทารกในครรภ์ จนทำให้ดิ้นมากผิดปกติ เว้นแต่ว่ามีคุณแม่ท้องมีอาการขาดน้ำ มีอาการอาหารเป็นพิษ ร่างกายสูญเสียน้ำเป็นจำนวนมาก และคุณแม่ท้องดื่มน้ำน้อย แบบนี้ย่อมไม่ดีต่อร่างกายของคุณแม่ท้อง รวมไปถึงทารกในครรภ์ด้วย

ท้องเสียตอนท้อง คุณแม่ควรดูแลตัวอย่างไรดี

– กินอาหารที่ย่อยง่าย เพื่อให้ร่างกายสามารถย่อยและขับถ่ายได้ง่ายขึ้น 

– หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด โดยเฉพาะอาหารที่รสเผ็ดจัด เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบย่อยอาหารและทำให้ท้องเสียรุนแรงขึ้นได้ 

– หลีกเลี่ยงการดื่มนม เพราะมีแนวโน้มที่จะทำให้อาการท้องเสียหนักขึ้นได้ 

– หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะมีแนวโน้มที่จะทำให้อาการท้องเสียหนักขึ้นได้ 

– ดื่มน้ำให้เพียงพอ อาการท้องเสียอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อทดแทนที่ร่างกายสูญเสียน้ำไปในขณะท้องเสีย 

– กินยาตามที่แพทย์สั่ง คนท้องไม่ควรซื้อยามากินเองโดยไม่ปรึกษากับแพทย์ หากมีอาการท้องเสียควรซื้อยาตามที่แพทย์หรือเภสัชกรเห็นชอบเท่านั้น เพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากยาแก้ท้องเสีย 
Take care with paracetamol when pregnant — but don't let pain or fever go  unchecked | UNSW Newsroom

คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสีย กินยาอะไรได้บ้าง

1. เกลือแร่

          เมื่อท้องเสียเป็นเวลานาน อาจทำให้คุณแม่มีอาการขาดน้ำ รู้สึกอ่อนเพลีย และไม่มีแรง แนะนำให้ชงเกลือแร่ดื่มแทนน้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อช่วยทดแทนปริมาณน้ำที่สูญเสียไป

2. ยาหยุดถ่าย (Imodium)

          ในกรณีที่คุณแม่มีอาการท้องเสียมาก และถ่ายไม่หยุด สามารถรับประทานยาหยุดถ่าย (Imodium) เพียง 1 แคปซูลก็พอ แต่ถ้าภายใน 48 ชั่วโมงหากอาการท้องเสียไม่ดีขึ้น ควรหยุดใช้ยา และรีบไปพบแพทย์ทันที

3. ยาผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย (Greater Ca-R-Bon)

          หลายคนอาจจะเคยคุ้นหน้าคุ้นตากันดีกับยาผงถ่านตัวนี้ ที่มีสรรพคุณช่วยดูดซับสารพิษออกจากร่างกาย รักษาอาการท้องเสีย และแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ซึ่งเป็นยาอีกตัวที่คุณแม่ตั้งครรภ์ก็สามารถรับประทานได้เช่นเดียวกัน

4. ยาแก้ปวดท้อง (Buscopan)

          หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการท้องเสียร่วมกับปวดท้อง แนะนำให้รับประทานยาแก้ปวด (Buscopan) เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง หรืออาการปวดเกร็งช่องท้อง

ท้องเสียแบบไหนต้องไปโรงพยาบาล

โดยธรรมชาติ อาการของโรคท้องเสียส่วนใหญ่จะดีขึ้นเองภายใน 3 วัน แต่ถ้ามีอาการอ่อนเพลียมาก หน้ามืด เวียนศีรษะ หมดแรง ลุกเดินไปไหนไม่ไหว ต้องนั่งหรือนอนอยู่กับเตียง อุจจาระมีมูกปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ คล้ายของเน่า คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศา ซึ่งเป็นอาการของภาวะขาดน้ำปานกลางถึงรุนแรง ก็ควรไปพบหมอ

คุณแม่ตั้งครรภ์ ป้องกันท้องเสียได้อย่างไรบ้าง

– เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกออกจากเตาใหม่ทุกครั้ง งดอาหารสุกๆ ดิบๆ

– ระมัดระวังการกินน้ำแข็ง น้ำดื่ม หรือน้ำผลไม้คั้นที่ไม่สะอาด

– หมั่นดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาด ล้างมือทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำก่อนและหลังทำอาหาร

– ทำความสะอาดชักโครก ที่รองนั่งและปุ่มกดชักโครกด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ

บทส่งท้าย

อาการท้องเสียถือเป็นเรื่องปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากคุณแม่ท้องเสียนานเกิน 2-3 วัน และอาการยังไม่ดีขึ้น มีไข้สูง ถ่ายไม่หยุด ถ่ายเป็นมูกปนเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรีบทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง และจะได้ไม่ส่งผลเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ด้วย

เครดิตรูปภาพ sg.theasianparent.com www.medicalnewstoday.com newsroom.unsw.edu.au

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)