คลอดลูกแบบไหนดี คลอดแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอด  ต่างกันอย่างไร

บทความนี้ขอแนะนำ “คลอดลูกแบบไหนดี คลอดแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอด  ต่างกันอย่างไร”  คุณแม่ตั้งครรภ์หลายท่านอาจจะยังมีคำถามที่คิดไม่ตกว่าจะคลอดลูกแบบไหนดีถึงจะดี และปลอดภัย ซึ่งในปัจจุบันการคลอดลูกก็มีหลายวิธีเช่น คลอดลูกธรรมชาติ คลอดลูกแบบผ่าคลอด แต่ละวิธีนั้นจะแตกต่างกันอย่างไรนั้น เรามีข้อมูลมาฝากกัน

Women and Pregnancy: Pregnancy Makes a Mother Strong, Happy and Sad

คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่า เพราะอะไร

การคลอดธรรมชาติ คือ การคลอดทารกผ่านทางช่องคลอด ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเนื่องจากมีความปลอดภัยต่อแม่และลูกมาก และมีภาวะแทรกซ้อนน้อย วิธีนี้เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายมีความพร้อม เช่น อุ้งเชิงกรานกว้าง ทารกอยู่ในท่ากลับหัวแล้ว ทารกตัวไม่ใหญ่มากจนเสี่ยงภาวะคลอดติดไหล่ 

การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดคลอด คือ การผ่าตัดเปิดหน้าท้องและมดลูกเพื่อนำทารกออกจากถุงน้ำคร่ำ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพที่ตรวจพบมาก่อน เช่น ภาวะรกเกาะต่ำ ครรภ์เป็นพิษ อุ้งเชิงกรานแคบ ทารกไม่กลับหัว หรือมีความจำเป็นต้องคลอดเร่งด่วน เพื่อช่วยชีวิตแม่และทารกไว้ก่อน เช่น การคลอดก่อนกำหนด คลอดธรรมชาติแล้วยังไม่สามารถคลอดได้สำเร็จ ที่เรียกว่า “ภาวะคลอดเนิ่นนาน”

จะเห็นได้ว่า คลอดธรรมชาติกับผ่าคลอดมีข้อบ่งชี้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการที่จะบอกว่า การคลอดวิธีไหนดีกว่ากันนั้นจึงต้องพิจารณารายละเอียดเป็นอย่างๆ ไป

คลอดลูกแบบไหนดี 

คลอดลูกธรรมชาติ

คลอดลูกธรรมชาติ

          การคลอดตามธรรมชาติ (Active Birth) เป็นวิธีปกติที่คุณแม่เบ่งคลอดเองทางช่องคลอด โดยเมื่อถึงกำหนดคลอด (ตั้งครรภ์ครบ 40 สัปดาห์) ปากมดลูกจะค่อย ๆ เปิดกว้างจาก 1 เซนติเมตร และจะเปิดกว้างไปเรื่อย ๆ เมื่อปากมดลูกเปิดหมด ศีรษะเด็กจะเคลื่อนลงมาต่ำ จนกระทั่งถึงระดับที่มองเห็นศีรษะเด็กผลุบโผล่ที่บริเวณช่องคลอด แม่จะมีลมเบ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยผู้ช่วยคลอดจะแนะนำการเบ่งที่ถูกวิธี คือเบ่งพร้อมกับการบีบตัวของมดลูก ก้มหน้าคางชิดอก เอามือจับใต้เข่า หายใจเข้าลึกสุด เบ่งยาวให้แรงดันลงมาที่ก้นเบ่งอย่างน้อย 10 วินาที ต่อเนื่องกันและเบ่งอย่างน้อย 3 ครั้ง ในหนึ่งการบีบตัวของมดลูก

ข้อดี ของการคลอดลูกธรรมชาติ

– ร่างกายฟื้นตัวเร็ว

– เสียเลือดน้อยกว่าผ่าคลอด

– หลังคลอดมดลูกหดตัวเล็กลงเอง

– ไม่มีแผลผ่าตัด และแผลที่มดลูก

– พร้อมให้นมลูกน้อยได้ทันที

 – หุ่นเข้าที่เร็วกว่าผ่าคลอด

– ทารกมีภูมิคุ้มกันที่ดีจากแบคทีเรียชนิดดีในช่องคลอด

– ทารกได้รับการบีบของเหลวออกจากปอดขณะคลอด

– ไม่มีความเสี่ยงจากการเจ็บครรภ์ในครั้งต่อไป

– ค่าใช้จ่ายไม่สูง

ข้อเสีย ของการคลอดลูกธรรมชาติ

– ไม่สามารถเตรียมตัวล่วงหน้าได้

– ใช้เวลาคลอดนาน กำหนดเวลาที่แน่นอนไม่ได้

– อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนต้องผ่าตัดคลอดฉุกเฉินได้

– มีโอกาสต้องใช้เครื่องดูดสุญญากาศหรือคีม หากแม่ไม่มีแรงเบ่งคลอด

– ช่องคลอดอาจไม่กระชับเหมือนเดิม

Normal Delivery or C-Section: What is the Best Option?

คลอดลูกแบบผ่าคลอด

          การผ่าคลอด (Cesarean Section) คือการคลอดด้วยการผ่าตัดแทนการคลอดแบบธรรมชาติทางช่องคลอด ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีเปิดปากแผลบริเวณระหว่างหน้าท้องและมดลูก หากคลอดปกติไม่ได้ หรือการคลอดธรรมชาติอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อแม่และบุตร มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น เชิงกรานแคบ ทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ หัวใจทารกเต้นผิดปกติ ครรภ์แฝด ครรภ์เป็นพิษ รกเกาะต่ำ สายสะดือสั้นเกินไป และความไม่พร้อมทางด้านร่างกาย หรือแม้แต่การคลอดในภาวะฉุกเฉิน แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดคลอด

ข้อดี ของการผ่าคลอด

– สะดวก มีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้า

– สามารถกำหนดวันเวลาคลอดได้

– ไม่เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนระหว่างรอคลอด

– ไม่เจ็บระหว่างทำคลอด

– หากสภาวะครรภ์มีความเสี่ยงจะช่วยให้ปลอดภัยได้ดีกว่าคลอดแบบธรรมชาติ

– สามารถทำหมันได้เลย

– ช่องคลอดยังกระชับเหมือนเดิม

ข้อเสีย ของการผ่าคลอด

– มีความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบหรือ บล็อกหลังสูง

– ฟื้นตัวช้า แผลผ่าหายช้า เสี่ยงต่อแผลผ่าตัดติดเชื้อ

– เกิดรอยแผลเป็นที่หน้าท้องจากการผ่า

– เกิดแผลที่มดลูก ทำให้เสี่ยงในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป

– เสียเลือดมากกว่าคลอดเอง

– ไม่สามารถให้น้ำนมลูกได้ทันที เพราะคุณแม่จะยังมีอาการมึนยาสลบอยู่

– หากท้องแรกผ่าแล้วการท้องครั้งต่อไปต้องผ่าเท่านั้น

– ค่าใช้จ่ายค่อนสูง

Giving Birth: Labor & Delivery Tips from an OBGYN for First-Time Moms

คลอดแบบไหนเจ็บกว่า

การคลอดธรรมชาติจะมีช่วงเวลาในการเจ็บท้องนานหลายชั่วโมง เนื่องจากมดลูกบีบตัวเป็นระยะๆ นั่นเอง จากนั้นต้องรอให้ปากมดลูกเปิดกว้างมากพอก่อนจึงจะคลอดได้ เมื่อถึงเวลาคลอด คุณหมอจะกรีดฝีเย็บเพื่อให้สะดวกแก่การคลอด ซึ่งขั้นตอนนี้แม่ส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกเจ็บเพราะจดจ่ออยู่กับการเบ่งคลอด และการปวดท้องคลอดมากกว่า จะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยในขั้นตอนการเย็บแผลเท่านั้น บางรายอาจต้องได้รับยาชาในขั้นตอนนี้

ส่วนการผ่าคลอดจะช่วยลดระยะเวลาในการเจ็บท้องจึงเจ็บท้องน้อยกว่า ในขณะผ่าคลอดแม่จะได้รับการดมยา หรือการระงับความรู้สึก ซึ่งทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดนั่นเอง จนกว่าเมื่อยาชาหมดฤทธิ์จึงเริ่มเจ็บแผลมากขึ้นตามลำดับ 

อาการเจ็บปวดนี้จะคงอยู่หลายวันจนกว่าแผลจะสมานตัวติดกันดีแล้ว อีกทั้งแม่ยังหมั่นเคลื่อนไหวบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพังผืด และต้องระมัดระวังการออกแรง การยกของ เพราะอาจทำให้แผลแยก แผลปริแตกได้

ไม่ว่าคุณแม่จะตัดสินใจเลือกคลอดวิธีไหน สุดท้ายแล้วจะขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของคุณแม่ว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ รวมทั้งความพร้อมของร่างกายคุณแม่ ณ เวลานั้นด้วย ซึ่งคุณหมอจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีคลอดที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุดในแต่ละราย

Hospitals expect you to price shop before you give birth. Good luck with  that. - Vox

คลอดลูกแบบไหน เหมาะกับใครบ้าง

การคลอดลูกธรรมชาติ

          เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ร่างกายแข็งแรง และมีภาวะครรภ์ปกติ

 การผ่าคลอด

          เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ภาวะครรภ์ไม่ปกติหรือไม่สามารถคลอดเองได้ จำเป็นต้องผ่าคลอดด้วยข้อบ่งชี้ทางสูติศาสตร์ เช่น เด็กไม่กลับหัว ทารกตัวโต อุ้งเชิงกรานมารดาแคบ ทารกมีความพิการที่ไม่สามารถคลอดเองได้ ปากมดลูกไม่เปิดหรือเปิดช้า หรือทารกมีภาวะหัวใจเต้นช้า เป็นต้น

บทส่งท้าย

การคลอดลูกถือเป็นการเจ็บปวดที่แสนล้ำค่า ฉะนั้นคุณแม่จะเลือกคลอดด้วยวิธีไหนนั้นก็ดีด้วยกันทั้งสองแบบ แต่การเลือกวิธีคลอดก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์จริงในวันคลอดด้วยว่าตัวของคุณแม่มีความพร้อมแบบไหนมากกว่ากัน

เครดิตรูปภาพ parenting.firstcry.com www.ahdubai.com www.daytoday.health www.istockphoto.com madisonwomenshealth.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)