กรดไหลย้อนในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการที่ไม่ควรมองข้าม ต้องรีบรักษาให้หายโดยไว

บทความนี้ขอแนะนำ “กรดไหลย้อนในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการที่ไม่ควรมองข้าม ต้องรีบรักษาให้หายโดยไว” คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นจะต้องมีความอึดอัดแล้ว เพราะด้วยความที่ท้องโตขึ้นทุกวัน และถ้าหากมีอาการกรดไหลย้อนร่วมด้วย ก็จะทำให้ไม่สบายตัว และจะทำอะไรก็ลำบาก แม้อาการกรดไหลย้อนไม่ได้รุนแรง แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเพราะมันสามารถกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันได้เลย ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่อยากเป็นกรดไหลย้อนต้องทำอย่างไร บทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน 

Heartburn During Pregnancy - MacArthur Medical Center

กรดไหลย้อน คืออะไร ?

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร

โรคกรดไหลย้อนเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคนี้ก็มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง โดยจะทำให้มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ หลังจากทานอาหารมื้อหนัก และมีอาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว

กรดไหลย้อนในคนท้อง เกิดจากอะไร 

– การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงที่ตั้งครรภ์ส่งผลต่อกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารมีการคลายตัว ส่งผลให้กระบวนการย่อยอาหารทำได้ไม่ค่อยดี จนทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมายังหลอดอาหาร 

– ฮอร์โมนตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างมีการคลายตัว ทำให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารสามารถที่จะไหลย้อนกลับขึ้นมายังหลอดอาหารได้ง่ายขึ้น 

– หากคุณแม่มีอาการกรดไหลย้อนเกิดขึ้นบ่อยในช่วงไตรมาสที่สอง และไตรมาสที่สาม นั่นอาจเป็นผลมาจากการที่มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น และทารกก็มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย การขยายตัวของทารกและมดลูกก็จะไปเบียดหรือกดทับอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร และดันให้อาหารหรือกรดในระบบทางเดินอาหารไหลย้อนหลับไปยังหลอดอาหารด้วย

Heartburn and Pregnancy: Fertility, Gestation, and Postpartum

อาการกรดไหลย้อนในคนท้อง

– รู้สึกแสบร้อนที่บริเวณกลางอก 

– จุกเสียดหรือเจ็บที่หน้าอกหลังรับประทานอาหาร 

– รู้สึกอึดอัด หนัก และแน่นท้อง  

– ท้องอืด ท้องเฟ้อ 

– มีอาการเรอ หรือเรอเหม็นเปรี้ยว 

– มีรสเปรี้ยวหรือขมในปาก 

– ไอหรือเจ็บคอ 

อาการกรดไหลย้อนในคนท้องมักเกิดขึ้นช่วงอายุครรภ์ 5-6 เดือน เมื่อเป็นแล้วจะไม่เป็นทั้งนี้ ภาวะกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เพียงแต่อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันของตัวคุณแม่เอง และในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเองหลังจากคลอดบุตรแล้ว

Heartburn During Pregnancy: How to Get Relief

วิธีรับมือภาวะกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์

1. รับประทานอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ ควรแบ่งมื้ออาหารให้ถี่ขึ้นและลดปริมาณการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง รวมทั้งเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน

2. ไม่นอนหลังจากเพิ่งรับประทานอาหารเสร็จ ควรนั่ง ยืน หรือลุกเดินอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารแล้วค่อยเอนตัวนอน

3. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำระหว่างรับประทานอาหาร ควรเปลี่ยนมาดื่มน้ำหลังรับประทานอาหารเสร็จและในช่วงระหว่างมื้ออาหารแต่ละมื้อแทน

4. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อน เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว อาหารรสจัด อาหารไขมันสูง อาหารที่มีกรดเป็นส่วนประกอบ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น

5. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของมินท์ เพราะจะยิ่งส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนรุนแรงขึ้นได้

6. รับประทานโยเกิร์ตหรือดื่มนมเมื่อเกิดอาการ เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนจากกรดไหลย้อนได้

7.เคี้ยวหมากฝรั่งหลังรับประทานอาหาร มีการศึกษาพบว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาลและไม่ใช่รสมินท์จะช่วยเพิ่มน้ำลาย ซึ่งน้ำลายจะช่วยชะล้างกรดในกระเพาะอาหารซึ่งไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ ทว่ายังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แน่ชัดในด้านนี้

8.ใช้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป มีฤทธิ์ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยให้มีกรดเกินไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารน้อยลง แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาด้วย เพื่อความปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์

9.ใช้หมอนหนุนบริเวณลำตัวส่วนบนระหว่างนอนหลับ เพื่อให้หลอดอาหารอยู่สูงกว่ากระเพาะอาหาร ป้องกันกรดไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร และควรนอนตะแคงซ้าย เพราะการนอนตะแคงขวาจะทำให้ตำแหน่งของกระเพาะอยู่เหนือหลอดอาหาร

10.สวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว เพราะการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไปอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้เช่นกัน

11. ควบคุมน้ำหนัก การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดกรดไหลย้อนในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้

12.ไม่เครียดเพราะความเครียดก็สามารถทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ เพราะเมื่อไหร่ที่มีความเครียด ร่างกายจะกระตุ้นให้น้ำย่อยในกระเพาะหลั่งออกมามากขึ้น

คนท้องกินยาแก้อาการกรดไหลย้อน ยากดกรดในกระเพาะได้ไหม

คุณแม่ท้องสามารถกินแก้อาการกรดไหลย้อนได้ ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ต้องอ่านสลากยาให้ชัดเจนเพื่อเลี่ยงยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจทำให้คุณแม่ท้องเสีย และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และหากกินยาอย่างต่อเนื่องแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาและรับคำแนะนำอย่างถูกวิธีจะดีกว่า

อาการแบบใดที่ควรไปพบแพทย์ 

แม้โดยปกติกรดไหลย้อนจะไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ แต่หากอาการของโรคเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ต้องตื่นขึ้นมากลางดึก มีอาการกลืนลำบาก ไอ น้ำหนักลด หรืออุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา เพราะหากปล่อยไว้อาจส่งผลให้หลอดอาหารเกิดความเสียหายรุนแรงได้

บทส่งท้าย

แม้ว่าอาการกรดไหลย้อนจะไม่รุนแรงและเป็นอันตราย แต่ถ้าหากปล่อยไว้นานก็จะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันได้ เนื่องจากอาการของกรดไหลย้อนจะทำให้อึดอัด จุกเสียด ไม่สบายตัว มันจะยิ่งทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกอึดอัดขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นหากมีอาการควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะดีกว่า

เครดิตรูปภาพ macarthurmc.com nabtahealth.com www.verywellhealth.com www.health.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)