5 เคล็ดลับ ฝึกให้ลูกนอนกลางวัน ช่วยให้เป็นเด็กอารมณ์ดี ฉลาด เรียนรู้ไว

สารพันปัญหา แม่และเด็ก

คุณแม่ห้ามพลาดกับ เคล็ดลับในการฝึกให้ลูกนอนกลางวัน อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการนอนหลับพักผ่อนในเด็กนั้นสำคัญและจำเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าลูกจะอยู่ในช่วงวัยกำลังซน โดยเฉพาะเมื่อลูกเข้าสู่วัยอนุบาล การให้ลูกได้นอนในช่วงเวลากลางวันนั้นจะเป็นเรื่องที่ยากเป็นอย่างมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่จะต้องฝึกให้ลูกได้มีเวลาพักผ่อน ในช่วงเวลากลางวันบ้าง เพราะเด็กในวัยนี้ จะต้องนอนกลางวันอย่างน้อย 30 – 60 นาที เป็นเวลาที่เพียงพอที่ร่างกายจะได้ชาร์จพลัง และช่วยให้ลูกตื่นมาด้วยอารมณ์ที่สดใส โดยจากงานวิจัยพบว่าเด็กที่ได้นอนกลางวัน จะส่งผลดีต่อพัฒนาการการเรียนรู้ ช่วยให้สมองสามารถจดจำและเก็บข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นกว่าเด็กที่ไม่ได้นอนกลางวันถึง 10 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว  ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องพยายามหาเวลา หรือโอกาสให้ลูกได้นอนในช่วงกลางวันมากยิ่งขึ้น วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับ ในการฝึกให้ลูกนอนกลางวันได้ง่ายยิ่งขึ้น จะมีวิธีใดบ้างนั้นไปติดตามต่อเลย  1. ทำจนเป็นกิจวัตรประจำวัน เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้ลูกนั้นนอนในช่วงเวลากลางวันได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งการจะฝึกให้ลูกนอนหลับในช่วงเวลากลางวันได้ง่ายยิ่งขึ้น จะต้องมีกฎเกณฑ์และทำตามซ้ำๆจนกลายเป็นกิจวัตรประจําวัน แล้วลูกจะรู้ได้โดยอัตโนมัติเลยว่าเมื่อถึงเวลาเขาจะต้องนอนหลับ ตามที่ได้ตกลงกันไว้ การฝึกให้ลูกนอนในช่วงเวลากลางวันนั้นถึงเป็นเรื่องที่หนักและท้าทายสำหรับคุณพ่อคุณแม่อีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เพราะลูกในวัยนี้จะติดเล่นและไม่ยอมง่ายๆ คุณพ่อคุณแม่จะต้องพยายามรักษากฎกติกาอย่างต่อเนื่อง เพื่อฝึกให้ลูกจะเป็นนิสัย จะรู้เข้าใจและยอมรับได้เอง 2. สร้างพื้นที่ส่วนตัวให้กับลูก เมื่อฝึก ให้ลูกทราบกฎกติการ่วมกันแล้ว พ่อคุณแม่จะต้องมีมุมโปรดของลูก หรือพื้นที่ที่อยู่แล้วรู้สึกอุ่นใจ จะช่วยให้เขานอนกลางวันได้ง่ายยิ่งขึ้นๆ โดยพื้นที่ที่คุณจะให้ลูกนอนในช่วงเวลากลางวันนั้นจะต้องเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย สะอาด ปราศจากของเล่นที่เป็นอันตรายกับลูก จะช่วยให้การนอนในช่วงเวลากลางวันและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3. ปรับโหมดให้สงบลง เมื่อใกล้ถึงเวลาเข้านอนแล้ว ให้คุณค่อยๆปรับโหมดให้ช้าและเงียบลง จะช่วยให้บรรยากาศดูน่านอนมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อถึงเวลาเข้านอนกลางวันแล้วคุณพ่อคุณแม่จะต้องปรับบรรยากาศให้บ้านดูสงบ […]

5 วิธี ฝึกลูกให้มีความมั่นใจในตัวเอง เป็นเด็กที่อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ

สารพันปัญหา แม่และเด็ก

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่าการ ฝึกลูกให้มีความมั่นใจในตัวเอง นั้น มีประโยชน์ต่อลูกในอนาคตอย่างมาก ซึ่งทักษะนี้ ไม่ได้มีกันทุกคน เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องฝึกฝนและปลูกฝังให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองตั้งแต่เด็กจะช่วยให้เขาแสดงศักยภาพและความสามารถที่มีออกมาได้อย่างเต็มที่ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้อย่างไร้ขีดจํากัด  เมื่อลูกมีความมั่นใจในตัวเองนะเขาจะรู้สึกมีความสุข ไม่มีอารมณ์น้อยใจ ไม่โหยหาความรัก เขาจะกล้าที่จะเผชิญความจริงและมองโลกในมุมที่กว้างขึ้น ซึ่งทักษะเหล่านี้ จะมีประโยชน์อย่างมากในอนาคตและทำให้เขาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นวันนี้เราจึงมีเทคนิคในการฝึกให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองตั้งแต่เด็กมาฝากกัน สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้เลย 1. คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก อันดับแรกเลยการฝึกให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองนั้นคุณพ่อคุณแม่จะเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดให้กับลูก  เริ่มจากการสอนให้ลูกรู้จักตัวเอง กล้าที่จะออกความคิดเห็นหรือกล้าที่จะแสดงความรู้สึกของตัวเองออกมา ชัดเจนกับตัวเอง ไม่หลอกตัวเองเพื่อให้คนอื่นยอมรับ ข้อนี้สำคัญมาก หากเขาสามารถปฏิบัติได้และมีทักษะนี้ได้เร็ว เขาจะสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ง่ายและมีความสุขมากยิ่งขึ้น  2. ให้ลูกมีโอกาสได้ตัดสินใจเอง คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การให้ลูกได้มีสิทธิ์เลือกในสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบนั้นจะช่วยให้เขารู้จักตัดสินใจและมีความมั่นใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกได้ตั้งแต่ยังเด็ก เช่น การให้เขาได้เลือกชุดที่เขาชอบที่จะใส่ในแต่ละวัน เลือกอาหารที่อยากทาน เลือกการ์ตูนที่อยากดู สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกกล้าคิดกล้าตัดสินใจ โดยอยู่ภายในขอบเขตที่เราแอบตั้งไว้ สิ่งที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่จะต้องเคารพในการตัดสินใจของลูก เพื่อสนับสนุนและให้เขากล้าที่จะแสดงความรู้สึกของตัวเองออกมานั่นเอง 3. ให้เวลากับลูก ไม่ว่าคุณจะติดธุระหรือไม่ว่างแค่ไหนก็ตาม แต่ลูกจะต้องเป็นที่หนึ่งเสมอ ซึ่งการฝึกฝนให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองนั้น กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่จะต้องสื่อสารและรับฟังรวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดกับลูกอยู่เสมอ จะทำให้เขากล้าที่จะตัดสินใจมากยิ่งขึ้น และมีความมั่นใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น เพราะเขาจะรู้ว่า เมื่อเขาตัดสินใจพลาด หรือในวันที่เขาเสียใจเขาจะมีคุณอยู่ข้างๆเสมอและจะไม่กลัวที่จะตัดสินใจเอง ดังนั้นเวลาที่อยู่กับลูกจึงมีค่าและมีความสำคัญอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามข้อนี้ไป 4. ปล่อยให้ลูกได้แก้ไขปัญหาเอง […]

5 วิธี เรียนรู้และรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

สารพันปัญหา แม่และเด็ก

สำหรับคุณแม่มือใหม่ การรับมือกับชีวิตหลังคลอดนั้นถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คุณแม่จะต้องพบเจอกับความเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องของด้านร่างกาย ด้านจิตใจ รวมถึงด้านอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ด้วยสาเหตุจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ทำให้คุณแม่ต้องเตรียมรับมือกับภาวะอารมณ์ที่แปรปรวณ ซึ่งจากสถิติแล้วคุณแม่หลังคลอด 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ มักมีอาการซึมเศร้า ในระดับปานกลางเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่คุณแม่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพียงแต่ต้องเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับกับสภาวะอารมณ์ในขณะนั้น และจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นให้ดี วันนี้เราจึงรวบรวมวิธีการรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาฝากกัน สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่กำลังประสบกับปัญหาเหล่านี้อยู่นั้น สามารถติดตามรายละเอียดกันได้เลย 1. หาเวลาสร้างความผูกพันธ์กับลูก เมื่อคุณแม่รู้สึกจิตใจวิตกกังวล มีความรู้สึกเศร้า หม่นหมอง ไม่แจ่มใส ให้คุณแม่ลองนั่งมองหน้าลูกรักอย่างใจเย็น ให้เวลากับตัวเองได้ทบทวนความรู้สึก และหาสาเหตุของความเศร้าที่เกิดขึ้น การให้เวลาและสร้างความผูกพันกับลูกน้อย จะเป็นประโยชน์ช่วยเยียวยาจิตใจของคุณแม่ได้เป็นอย่างดี  เรียกได้ว่าเป็นยาชั้นดีที่ไม่สามารถหาอะไรมาทดแทนได้ คุณจะรู้สึกหายเหนื่อย รู้สึกมีความสุขมากขึ้น มีพลังในการสู้กับเรื่องราวต่างๆมากมายต่อไปได้ดียิ่งขึ้น 2. ให้เวลาตัวเองได้พักผ่อน สำหรับคุณแม่มือใหม่แล้วนั้นการปรับตัวกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงนั้นค่อนข้างยาก คุณอาจจะรู้สึกสับสนวุ่นวาย จนไม่สามารถเรียบเรียงความรู้สึกได้ คุณอาจจะทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับลูกน้อย แต่อย่าลืมว่าคุณจะต้องมีเวลาส่วนตัว จะต้องมีเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อน พักสมอง พักความคิด เพื่อที่จะได้ก้าวเดินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การหาเวลาให้กับตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในคุณแม่หลังคลอด เนื่องจากคุณแม่หลังคลอดนั้นจะมีกิจกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการให้นม การปั๊มนม เลี้ยงลูกตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งถ้าหากคุณแม่ไม่ได้พักผ่อนติดต่อกัน […]

6 ความพร้อมที่ต้องเตรียม เมื่อลูกอยากเลี้ยงสัตว์

สารพันปัญหา แม่และเด็ก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเลี้ยงสัตว์ในยุคสมัยนี้นั้นมีผลต่อสภาพจิตใจของเด็กๆเป็นอย่างมาก การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงภายในบ้านมีประโยชน์จะช่วย บ่มเพาะให้ลูกน้อยมีนิสัยอ่อนโยน มีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้นและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี แต่การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้นๆให้ดีที่สุด ซึ่งก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะอนุญาตให้ลูกนั้นเลี้ยงสัตว์ได้ จะต้องประเมินความพร้อมของลูกด้วย ทั้งความพร้อมทางด้านวุฒิภาวะ และความพร้อมในด้านของสุขภาพร่างกายซึ่งมีผลสำคัญต่อพัฒนาการ และการเจริญเติบโตของลูกด้วยเช่นกัน วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับในการเตรียมความพร้อม เมื่อลูกอยากเลี้ยงสัตว์มาฝากกัน จะ มีรายละเอียดอะไรบ้างนั้นติดตามกันเลย 1. ความพร้อมในเรื่องของสุขภาพ เรื่องสุขภาพเป็นสิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องให้ความสำคัญ ก่อนที่เราจะเลี้ยงสัตว์และสุขภาพของคนในครอบครัวต้องเป็นอันดับ 1  ทางสุขภาพของลูกน้อยและสุขภาพของผู้สูงอายุภายในบ้าน หากมีสมาชิกภายในบ้านแพ้ขนสัตว์เด็กมีอาการหวาดกลัวต่อสัตว์บางชนิดแล้วนั้นมันจะส่งผลกระทบ ตามนั้นก่อนจะตัดสินใจเลี้ยงสัตว์ควรจะเช็คความพร้อมตรงส่วนนี้เป็นอันดับแรก  2. ความพร้อมในเรื่องของพื้นที่ เพราะสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดจะใช้พื้นที่ในการเลี้ยงที่แตกต่างกัน การเตรียมความพร้อมในเรื่องของพื้นที่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น สัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก อย่างกระต่าย หนูแฮมเตอร์ นก แมลง สัตว์เหล่านี้จำเป็นต้องมีพื้นที่ราบโล่งหรือโถและต้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสม เป็นต้น แต่ถ้าหากคุณต้องการ เลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ อย่างสุนัขพันธุ์ใหญ่ หรือมาที่เป็นสัตว์ 4 ขา คุณจำเป็นต้องมีพื้นที่บ้านที่เป็นสวนหรือสนามให้เขาหรือสัตว์เหล่านั้นได้วิ่งเล่นเพื่อผ่อนคลายและลดความตึงเครียดลง ยิ่งสัตว์ตัวใหญ่ยิ่งต้องปลดปล่อยพลังงานมาก ดังนั้นจำเป็นอย่างมากที่คุณจะต้องเตรียมพื้นที่ภายในบ้านหรือสวนสนามไว้ให้กับเขา 3. ความพร้อมในเรื่องของค่าใช้จ่าย การตัดสินใจดูแลสิ่งมีชีวิตเพิ่มเข้ามาในบ้านนั้นก็เหมือนเป็นอีกหนึ่งสมาชิกภายในบ้านที่จะต้องดูแลเอาใจใส่ในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงสัตว์ชนิดไหนพันธุ์อะไรล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายด้วยกันทั้งสิ้น คุณจะต้องวางแผนการเงินในระยะยาว และแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายภายในบ้านไว้สำหรับสัตว์เลี้ยงของคุณ หรือ หากเกิดในกรณีที่ไม่คาดฝันสัตว์เลี้ยงของคุณป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุคุณจะต้องมีทุนเพียงพอไว้สำหรับช่วยเหลือเขา เป็นต้น 4. ความพร้อมในเรื่องของเวลา […]

5 เหตุผล นิสัยลูกน้อยที่ชอบดื้อกับแม่มากกว่าคนอื่นๆ 

สารพันปัญหา แม่และเด็ก

การเลี้ยงลูกน้อยนั้นถือเป็นอีกหนึ่งบททดสอบความอดทนของความเป็นแม่เลยก็ว่าได้ คุณแม่นั้นจะต้องมีความมั่นคงทั้งทางอารมณ์และจิตใจ จึงจะสามารถสั่งสอนและเลี้ยงดูเขาให้เติบโตมาเป็นเด็กที่มีคุณภาพ แต่คุณไม่เคยสงสัยไหมคะว่า ลูกน้อยอยู่กับคนอื่นมากน่ารัก เรียบร้อย ไม่ดื้อ ไม่ซน แต่พอมาอยู่กับแม่นิสัยนั้นเปลี่ยนเป็นคนละคนกันเลยทีเดียว กลายเป็นเด็กที่ขี้งอแง เอาแต่ใจ ไม่ฟังเหตุผล วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันสำหรับนิสัยส่วนตัวขอเด็กๆ ที่มักดื้อกับคุณแม่แค่คนเดียว 1. ลูกมักทดสอบความแข็งแกร่งของแม่ ในบางครั้งที่ลูกนั้นดื้อมาก โดยเฉพาะกับแม่ บางทีเขาอาจจะกำลังอยากทดสอบแม่ของเขาอยู่ ว่าจะมีความอดทนและมีความแข็งแกร่งทั้งทางร่างกายและจิตใจได้มากขนาดไหน ซึ่งนิสัยส่วนตัวของเด็กๆแล้วมักอยากให้คุณแม่หรือคนที่เขารัก สนใจเขาอยู่ตลอดเวลา และแม่เป็นบุคคลที่เขาไว้ใจมากที่สุด สนิทที่สุด จึงไม่แปลกที่ลูกมักจะดื้อกับคุณแม่เป็นส่วนใหญ่ เขาจึงรักชอบเรียกร้องความสนใจจากแม่เป็นอย่างมาก  2. ลูกไว้ใจแม่มากกว่าใครบนโลกนี้ ที่ลูกนั้นดื้อโดยเฉพาะกับคุณแม่ เป็นเพราะเขารู้ว่า แม่นั้นคือคนที่เขาไว้ใจมากที่สุด และไม่มีวันหักหลังเขา ซึ่งช่วงเวลาในวัยเด็กนั้นลูกยังคงไม่มีใครที่เขาไว้ใจและเชื่อใจได้มากที่สุดเท่ากับแม่ ซึ่งเขาจะรู้สึกสบายใจมากเมื่อได้อยู่ใกล้แม่ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เขามักแสดงนิสัยทุกด้านของเขาออกมาเมื่ออยู่กับแม่ เราจะมีความมั่นใจมากและเป็นตัวของตัวเองที่สุดไม่ได้อยู่กับแม่นั่นเอง 3. ต้องการให้แม่นั้นสนใจเขามากที่สุด เขาจะรู้สึกอบอุ่นเป็นอย่างมากเมื่ออยู่กับแม่ และวิธีง่ายๆที่จะทำให้แม่นั้นให้ความสำคัญกับเขามากขึ้นก็คือการดื้อรั้นนั่นเอง หากคุณแม่กำลังประสบกับปัญหานี้อยู่สิ่งที่ห้ามและไม่ควรทำอย่างยิ่งคือการพูดเปรียบเทียบลูกของตัวเองกับลูกของคนอื่นอย่างเด็ดขาด เพราะจะสร้างบาดแผลในใจเขาในอนาคตได้ วิธีแก้ไขคือคุณแม่เพียงใส่ใจและดูแลเขาเป็นพิเศษ จะทำให้ลูกนั้นได้รับรู้ถึงความที่แม่นั้นมีต่อลูกนั่นเอง 4. เพราะแม่คือคนที่ปลอดภัยที่สุด ในความคิดของลูกเชื่อว่าแม่นั้นเป็นคนที่ปลอดภัยที่สุด อยู่ด้วยแล้วทำให้รู้สึกสบายใจ มั่นใจ และรู้สึกอบอุ่น  เขาจะเชื่อมั่นและรู้ว่าแม่นั้นไม่มีทางทำลายชีวิตเขาและพร้อมที่จะให้อภัยเขาเมื่อเขาทำผิดเสมอ จึงไม่แปลกที่ลูกนั้นมักจะทดสอบเราอยู่บ่อยๆ โดยการดื้อรั้น เอาแต่ใจ ให้เราสนใจเขาให้มากที่สุด […]

5 เหตุผล ที่ลูกไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษสักที

สารพันปัญหา แม่และเด็ก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคสมัยปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษเป็นอีกหนึ่งภาษาที่จำเป็นและสำคัญมากในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับทางสากล ซึ่งสำหรับใครที่เก่งภาษาอังกฤษหรือมีความสามารถทางด้านภาษาจะสามารถได้รับโอกาสได้มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่หลายๆบ้านจึงพยายามใช้ภาษาอังกฤษกับลูกและเลือกที่จะเลี้ยงลูกแบบ 2 ภาษา  แต่การเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กสองภาษานั้นต้องเจอกับปัญหาอย่างแน่นอนว่าทำไมลูกถึงไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษกับเราสักที วันนี้เรามาดูเหตุผลกันว่าเพราะอะไรลูกถึงไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษกับเราสักที 1. ลูกอยู่ในช่วง Silent Period  ในช่วงนี้เด็กๆจะนิ่งเงียบและใช้เวลาในช่วงนั้นเก็บข้อมูลซึ่งเด็กแต่ละคนจะมี Silent Period ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและบุคลิกภาพของเด็กแต่ละคน เช่นเด็กบางคนที่มีพื้นฐานชอบกล้าแสดงออก ชอบพูด ไม่ว่าจะพูดถูกพูดผิดก็ชอบที่จะพูด เขาจะมี silent Period ที่สั้น แต่ถ้าลูกเป็นคนขี้อาย ไม่ค่อยกล้าแสดงออกเวลาถามอะไรก็จะเงียบ ยิ่งถ้าเป็นภาษาอังกฤษแล้วเราก็จะยิ่งเงียบกว่าเดิมเพราะเขาไม่กล้าที่จะพูด หรืออาจจะเข้าใจแต่ไม่รู้จะตอบยังไง จึงแสดงออกมาในลักษณะที่เงียบนิ่งแต่ถ้าเราพูดไปเรื่อยๆแล้วลูกสามารถทำตามคำสั่งได้ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีแสดงว่าเขาเข้าใจในสิ่งที่เราพูดนั่นเอง 2. ไม่ใช้ภาษาอังกฤษกับลูกสม่ำเสมอ ก็เป็นอีกหนึ่งข้อที่ทำให้ลูกนั้นไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษสักที การที่เราอยากให้ลูกฟังพูดภาษาอังกฤษได้พ่อแม่จะต้องหมั่นพูดคุยกับลูกด้วยภาษาอังกฤษเช่นกัน ระวังอย่าพูดไทยคำภาษาอังกฤษคำ หรือนึกจะพูดก็พูด คุณพ่อคุณแม่จะต้องพูดจนเป็นนิสัย แนะนำว่าให้แบ่งกันไปเลยว่าใครจะพูดภาษาไหนกับลูกเช่น พ่อพูดภาษาอังกฤษ แม่พูดภาษาไทย แล้วก็ต้องคงใช้ภาษาแบบนี้ไว้จนกว่าลูกจะรู้เรื่องและใช้ภาษาอังกฤษได้โดยอัตโนมัติ  3. เพื่อนไม่พูดภาษาอังกฤษด้วย ก็เป็นอีกหนึ่งข้อที่ทำให้ลูกของเราไม่กล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษ สภาพแวดล้อมนั้นมีผลอย่างมากต่อการเรียนรู้ของเด็กๆหลายบ้านอาจสงสัยว่าทั้งๆที่เราก็พูดภาษาอังกฤษกับลูกอยู่เป็นประจำอยู่แล้วแต่ทำไมลูกไม่ยอมเปิดใจ และไม่กล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษออกมาสักที เพราะนั่นอาจหมายถึงว่าตอนที่เขาอยู่โรงเรียนเพื่อนๆอาจจะพูดกันเป็นภาษาไทยจึงทำให้เขารู้สึกว่าภาษาไทยก็ใช้คุยได้แล้วไม่จำเป็นต้องพูดภาษาอังกฤษนั่นเอง ดังนั้นวิธีการแก้ไขเราอาจจะต้องทำงานหนักหน่อยพยายามพูดกับลูกด้วยภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเรียนรู้ที่ดีและได้ผลที่สุดคือการใช้อย่างสม่ำเสมอและใช้จริงเป็นชีวิตประจำวันนั้นเอง 4. ลูกรู้สึกกดดันที่ต้องพูดให้ได้ เป็นอีกหนึ่งข้อที่ทำให้ลูกนั้นไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษ เป็นเพราะเขารู้สึกไม่สนุกกับการเรียนภาษานั้นๆหรือรู้สึกถูกบังคับว่าต้องพูดให้ได้ อ่านให้ เขียนให้ได้ จนเหมือนกลายเป็นว่าทุกวันคือการเรียนภาษาอังกฤษที่แสนน่าเบื่อและใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุข ซึ่งนั่นถือเป็นสัญญาณอันตรายที่อาจจะทำให้ลูกนั้นเก็บกด […]