บทความนี้ขอแนะนำ “จุกหลอก ดีต่อลูกน้อยจริงหรือเปล่า หรือมีข้อเสียต่อลูกน้อยกันแน่” เพราะเด็กน้อยบางครั้งก็ร้องไห้โยเยจะกินนม ทั้งที่เพิ่งจะกินไปเอง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้จุกหลอก มาเป็นตัวหลอกล่อเด็ก ๆ และซึ่งวิธีนี้ก็ได้ผล แต่อย่าชะล่าใจไป เพราะจุกหลอกมีข้อดีในตัวแล้ว ข้อเสียก็มีด้วยเช่น ดังนั้นก่อนตัดสินใจให้ลูกน้อยใช้จุกหลอก ลองพิจารณาดูอีกทีว่ามีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน
จุกหลอกคืออะไร
จุกหลอก หรือ จุกนมปลอม สำหรับให้เด็กอมหรือดูดไว้เพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว ไม่ร้องไห้งอแง และป้องกันไม่ให้เด็กดูดนิ้วบ่อย โดยจุกหลอกที่วางขายในปัจจุบันมีให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทั้งตามขนาดที่ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก และตามวัสดุที่ใช้ผลิตทั้งยางและซิลิโคน
ข้อดีของจุกหลอก
1.ช่วยให้เด็กอารมณ์ดีขึ้น เด็กเล็กส่วนใหญ่จะอารมณ์ดีขึ้นเมื่อได้ดูดอะไรบางอย่าง การใช้จุกหลอกจึงช่วยฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ รวมทั้งรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัยขึ้น
2.ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กชั่วคราว การใช้จุกหลอกเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของทารกได้ดี โดยเฉพาะเมื่อต้องฉีดยาหรือเจาะเลือด เพราะจะทำให้เด็กผ่อนคลายและรู้สึกปลอดภัย
3.ช่วยให้เด็กนอนหลับได้ดี สำหรับทารกที่มีปัญหาในการนอน การใช้จุกหลอกจะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายจนหลับได้ง่ายและนานขึ้น
4.ป้องกันการติดนิสัยดูดนิ้ว การดูดจุกหลอกจะช่วยให้เด็กไม่ดูดนิ้ว ซึ่งการติดนิสัยดูดนิ้วนั้นเลิกได้ยากกว่าการดูดจุกหลอก และหากไม่ได้ใช้เด็กก็จะเลิกติดจุกหลอกไปเอง
5.ช่วยปรับระดับความดันภายในหูระหว่างขึ้นเครื่องบิน หากพ่อแม่จำเป็นต้องพาเด็กเดินทางด้วยเครื่องบิน การใช้จุกหลอกจะช่วยปรับระดับความดันภายในหูของเด็ก ลดอาการหูอื้อหรืองอแงขณะเครื่องบินกำลังขึ้นได้
6.ลดความเสี่ยงต่อโรคไหลตายในทารก มีงานวิจัยพบว่าการให้ทารกดูดจุกหลอกในขณะนอนหลับอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไหลตายได้ ทว่ายังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าสามารถช่วยได้จริงหรือไม่ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
7.ป้องกันเชื้อโรคและอันตรายทางปาก เพราะเด็กเล็กมักชอบหยิบจับสิ่งของรอบข้าง ซึ่งบางสิ่งอาจจะสกปรก แล้วมักจะเผลอเอานิ้วเข้าปากโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นเมื่อเด็กดูดจุกหลอกอยู่ในปาก เขาก็จะไม่เผลอเอามือเข้าปากอีก
ข้อเสียของการใช้จุกหลอก
1.สร้างปัญหาในช่องปาก เด็กที่ใช้จุกหลอกติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งมีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป อาจเกิดปัญหาภายในช่องปากได้ เช่น ฟันขึ้นในลักษณะผิดปกติ หรือฟันเรียงตัวผิดปกติ เป็นต้น
2.เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่หู การใช้จุกหลอกอาจทำให้เด็กเสี่ยงติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลางมากขึ้น เนื่องจากจุกหลอกอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคหากไม่มีการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม
3.ส่งผลเสียต่อการให้นมแม่ เด็กที่เริ่มใช้จุกหลอกเร็วเกินไปอาจสับสนระหว่างการดูดนมแม่กับการดูดจุกนมหลอกได้ เนื่องจากมีวิธีการดูดที่แตกต่างกัน หากเด็กดูดนมแม่แบบที่ดูดจุกหลอกก็อาจส่งผลกระทบต่อการดูดน้ำนมได้
4.เด็กติดจุกหลอก หากพ่อแม่ใช้จุกหลอกเพื่อช่วยให้เด็กนอนหลับง่ายบ่อย ๆ เด็กอาจติดเป็นนิสัยจนต้องดูดจุกหลอกตลอดเวลาขณะนอนหลับ ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กร้องไห้งอแงกลางดึกเมื่อจุกหลอกหลุดออกจากปาก
5.จุกหลอกอาจสกัดกั้นการเจริญเติบโต เพราะว่าการดูดจุกนมหลอกนั้นเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของทารกที่ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งอาจนำไปสู่การที่ทารกมีการใช้พลังงานมากเกินกว่าพลังงานที่ได้รับต่อวัน ทำให้พวกเขามีการเจริญเติบโตที่ช้า หรือสามารถรับประทานได้น้อยกว่าเด็กทั่วไป
6.วิธีเลิกจุกหลอก เด็กจะพูดช้า เมื่อจุกนมอยู่ในปาก และเด็กต้องการที่จะดูดจุกนมตลอดเวลานั้นส่งผลทำให้เด็กมีพัฒนาด้านการการใช้ภาษา การสื่อสาร และการพูดที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป เพราะการที่จุกนมอยู่ที่ปากนั้นทำให้พวกเขามีความลำบากที่จะพูด และไม่อยากจะพูดในที่สุด
วิธีเลือกซื้อจุกหลอก
1.เลือกใช้จุกหลอกแบบชิ้นเดียว เพราะจุกหลอกบางยี่ห้ออาจออกแบบมาให้มีสองจุก ซึ่งเสี่ยงที่จะเกิดการสำลักได้
2.เลือกใช้จุกหลอกที่ทำมาจากซิลิโคน เพราะค่อนข้างมีความทนทาน สามารถทำความสะอาดได้ง่าย สะดวกต่อการเก็บรักษา
3.เลือกใช้จุกหลอกที่ทำมาจากยางธรรมชาติ เพราะปราศจากสารเคมี สารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของเด็ก ลดความเสี่ยงของการรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายตั้งแต่เด็ก
4.เลือกจุกหลอกที่มีการระบุคำว่า “BPA Free หรือ Bisphenol A Free” เนื่องจากสารชนิดดังกล่าวเสี่ยงที่จะสร้างความผิดปกติต่อร่างกายและพัฒนาการของเด็ก ทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย
5.เลือกจุกหลอกที่ใหญ่กว่าปากของเด็ก จุกหลอกที่มีขนาดเล็กกว่าช่องปากของเด็ก เสี่ยงที่จะผลุบเข้าปาก ซึ่งอาจติดคอ หรือทำให้เกิดการสำลัก อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้
6.เลือกจุกหลอกที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย บางชนิดมีดีไซน์ที่เยอะแต่ทำความสะอาดยาก อาจจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคก็ได้
7.ซื้อจุกหลอกแบบเดียวกันสำรองหลายอัน เผื่อบางทีทำหาย อาจจะทำให้เด็กหงุดหงิดได้ถ้าไม่มีจุกหลอก ดังนั้นควรซื้อสำรองไว้หลาย ๆ อันจะดีกว่า
เมื่อไหร่ที่ควรเลิกใช้จุกหลอก
เมื่อเด็กเริ่มหย่านม หรืออายุย่างเข้า 13-15 เดือน คุณแม่ควรมีระยะห่างในการใช้จุกหลอกกับเด็ก ซึ่งหากโชคดีก็จะพบว่าเด็กบางคนสามารถเลิกใช้จุกหลอกได้เองในช่วงที่มีอายุ 2-4 ขวบ
บทส่งท้าย
จุกหลอก มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันออกไป แต่คุณพ่อคุณแม่บ้านเห็นว่าจุกหลอกน่าจะได้ใช้แล้วเกิดประโยชน์มากกว่าข้อเสีย ก็ตัดสินใจใช้จุกหลอก เพื่อเป็นตัวช่วยในการทำให้ลูกไม่งอแงได้ หรือถ้ากังวลมากไป ก็ต้องจำกัดการใช้จุกหลอก เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้
เครดิตรูปภาพ www.compliancegate.com mumsgrapevine.com.au www.thebump.com www.theindusparent.com