บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกน้อยท้องผูก อาการที่ไม่ควรมองข้ามที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้” อาการท้องผูกมักจะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ถ้าเกิดขึ้นกับลูกน้อย วัยที่ยังไม่สามารถสื่อสารบอกเราได้นั้น ตัวของเด็กก็จะมีความทรมานมาก ซึ่งอาการท้องผูกก็อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีวิธีแก้ไขและรับมืออย่างไรบ้างนั้น ในบทความนี้มีข้อแนะนำมาฝากกัน
อาการท้องผูกคืออะไร
อาการท้องผูกคือหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับเด็กได้บ่อยมาก การถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะแข็ง แห้งหรือเหนียว และมีการถ่ายลำบากร่วมอยู่ด้วย ซึ่งหากท้องผูกเป็นเรื้อรังอยู่นานจะทำให้ลำไส้ใหญ่ยืดตัวออกขยายใหญ่มากขึ้น การบีบตัวของลำไส้จะน้อยลงพร้อมกับความรู้สึกอยากถ่ายจะน้อยลงด้วย อุจจาระก็จะแข็งขึ้นเพราะน้ำจะถูกดูดซึมกลับไปหมดทำให้ถ่ายลำบาก ขณะถ่ายความแข็งของอุจจาระจะบาดเยื่อรูทวารหนักและทำให้เป็นแผล ทำให้เด็กๆ รู้สึกเจ็บและพยายามกลั้น จึงส่งผลให้อาการเด็กท้องผูกมีความรุนแรงมากขึ้นโดยอาจมีเลือดปนได้
อาการแบบนี้อาจเรียกว่า “ท้องผูก”
– ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า หรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อสัปดาห์
– ถ่ายอุจจาระแข็งมาก อาจถ่ายเป็นเม็ดเล็กๆ เหมือนลูกกระสุน หรือเป็นแท่งแข็ง อุจจาระก้อนใหญ่ๆ
– ลูกมีอาการถ่ายลำบาก เจ็บเวลาขับถ่าย บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาขณะถ่าย เนื่องจากอุจจาระแข็งมากจนทำให้รูทวารหนังเป็นแผลฉีกขาดได้
– อาจมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด ร่วมกับถ่ายลำบากและเจ็บ
สาเหตุของอาการท้องผูก
1.กลั้นอุจจาระ
การกลั้นอุจจาระส่งผลให้เด็กมีอาการท้องผูกตามมาได้ เพราะในบางครั้งที่เด็กปวดท้องหนักไม่อยากจะเข้าห้องน้ำอาจจะมีสาเหตุมาจาก ติดเล่น หรือ เพราะไม่อยากเข้าห้องน้ำ เพราะมันสกปรกหรือไม่ชินกับห้องน้ำ อย่างเช่นห้องน้ำของโรงเรียน อายกลัวเพื่อนจะล้อ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการของลูกให้ดี พยายามฝึกให้ขับขับถ่ายเป็นเวลา
2.ถูกบังคับให้ขับถ่ายเองในขณะที่ยังไม่พร้อม
เมื่อลูกโตถึงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็พยายามฝึกให้ลูกนั้นเขาห้องน้ำด้วยตัวเอง ตามเวลาที่พ่อแม่กำหนด เพราะจะได้สอดคล้องกับช่วงเวลาที่เขาอาจจะต้องไปโรงเรียน เขาจะได้มีวินัย แต่เพราะเขานั้นยังไม่ได้ปวดท้องหนัก เขาก็เลยไม่ได้ถ่าย และนั่นก็อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ดุเขา และอาจจะทำให้เขานั้นกลายเป็นกลัวการเขาห้องน้ำไปเลย และเกิดการกลั้นอุจจาระซึ่งเป็นสาเหตุของท้องถูกได้ ซึ่งของแบบนี้เมื่อเขาสามารถช่วยเหลือเองได้แล้ว ค่อย ๆ ฝึกเขาไปเรื่อย ๆ แบบไม่เร่งรีบดีกว่า จะได้ผลดีมากกว่า
3.อาหารการกินถูกปรับเปลี่ยน
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทานอาหาร ก็อาจจะทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน อย่างเช่นคุณแม่เคยทำอาหารเหลวให้ลูกทาน แล้วเปลี่ยนมาเป็นอาหารแบบทั่วไปที่ผู้ใหญ่กิน ก็อาจจะทำให้ลำไส้ทำงานไม่ปกติจนทำให้ท้องผูกได้ หรือได้เด็กเล็กเปลี่ยนสูตรนมผงก็อาจจะทำให้เด็กท้องผูกด้วย
4.การใช้ชีวิตถูกปรับเปลี่ยน
บางครั้งการที่ชีวิตของลูกถูกปรับเปลี่ยน เช่น ต้องเข้าโรงเรียน เข้าเนอสเซอรรี่ ก็อาจจะทำให้เข้าไม่คุ้นชิ้นกับสถานที่ที่ใหม่ เกิดความเครียดกดดัน จนขับถ่ายไม่ออก จนทำให้เขากลั้นอุจจาระจนกลายเป็นท้องผูกได้
5.ไม่ยอมทานผัก ผลไม้
เพราะเด็กบางคนไม่ชอบทานผัก ผลไม้ ร่างกายจึงขาดสารอาหารจำพวกกากใย ไฟเบอร์ ที่เป็นตัวหลักในการช่วยย่อยและขับถ่าย ซึ่งก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกท้องผูกได้
6.ปัจจัยอื่นๆ
เช่น มีโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ โรคทางลำไส้ หรือทางเดินอาหาร หรือลูกนั้นกำลังทานยาบางประเภทเช่น ฤทธิ์ยับยั้งระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ ยาระงับประสาท และยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น ยาบางตัวบางชนิดก็อาจจะทำให้ท้องผูกได้
7.สวนทวารบ่อยเกินไป
อาการท้องผูกของลูกก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่เครียดเช่นกัน ซึ่งการจะช่วยให้ลูกขับถ่ายได้ปกตินั้นวิธีไหนช่วยได้ก็อยากจะทำ ซึ่งการสวนทวารก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่คุณพ่อคุณแม่เลือกใช้ ซึ่งการสวนทวารบ่อย ๆ ไม่ดีเลย เพราะจะทำให้ลูกไม่ยอมเบ่งถ่ายด้วยตัวเอง
8.คลอดก่อนกำหนด
ในเด็กทารกนั้นการคลอดก่อนกำหนดก็เป็นสาเหตุทำให้ท้องผูกได้ เนื่องจากระบบย่อยอาหารยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่งผลให้อาหารเคลื่อนผ่านทางเดินอาหารช้า และย่อยได้ไม่สมบูรณ์ อุจจาระจึงแห้งและแข็ง
วิธีแก้ปัญหาอาการท้องผูกในเด็ก
1. ในวัยทารก ไม่ควรให้เขาทานขนม หรือนม ที่มีส่วนผสมของนมวัวมากเกินไปเพราะมีโปรตีนสูงสาเหตุทำให้ท้องผูกได้ ซึ่งถ้าหากยังทานนมแม่ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปรตีนสูงด้วยเช่นกัน
2.ให้กินผักผลไม้สดที่มีใยอาหารมาก เช่น ส้ม ชมพู่ มะละกอ และดื่มน้ำเยอะ ๆ ส่วนอาหารว่างควรเป็นผลไม้ อาหาร หรือขนม ที่ย่อยง่าย
3.บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง เช่น การนวดท้อง และยกขาเด็กขึ้นลงจะทำให้การขับถ่ายดีขึ้น
4.พาลูกไปนั่งถ่ายอุจจาระหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ
5.พาไปพบแพทย์ หากอาการท้องผูกของลูกยังไม่ดีขึ้น และยังไม่ถ่ายเป็นเวลานานหลายวัน ควรพาเขาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
บทส่งท้าย
อาการท้องผูกในเด็กไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรมองข้าม คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าสังเกตอาการของลูก เพราะถ้าปล่อยไว้นานก็อาจจะทำให้ร่างกายของเขาได้รับอันตรายไปด้วย ฝึกให้เขามีวินัย ขับถ่ายให้เป็นเวลา ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ ทานน้ำเยอะ ๆ แค่นี้ก็ห่างไกลโรคแล้ว
เครดิตรูปภาพ www.healthline.com www.childrensmercy.org www.childrens.com www.ecoparent.ca