บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกกินยากรับมืออย่างไรดี ปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องพบเจอ” หลายบ้านต้องพบเจอกับปัญหานี้อย่างแน่นอน ลูกทานยาก เบื่ออาหาร ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลายคนเองก็หาวิธีสารพัดมารับมือ เพื่อต้องการฝึกให้ลูกน้อยทานอาหารได้ปกติเมื่อถึงวัย แต่บางครั้งเด็ก ๆ กลับไม่ยอมทานอาหาร ทานยาก เลือกทาน ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ปวดหัวอย่างมาก แต่เราจะรับมือกับปัญหานี้อย่างไรดีไปดูกันเลย
ทำไมลูกถึงกินยาก
สาเหตุนั้นอาจจะเริ่มมากจาก เมื่อเด็ก ๆ ค่อยโตขึ้น อาหารหลักเขาควรทานมากที่สุดก็จะเป็นพวกข้าว ซึ่งเป็นอาหารหยาบ เด็ก ๆ อาจจะยังไม่คุ้นชิน และยังไม่สามารถเคี้ยวได้แบบผู้ใหญ่ เขาจึงเลือกที่จะปฏิเสธ ฉะนั้นในช่วงวัย 1 ขวบ เป็นต้นไป คุณแม่ควรบดอาหารให้ละเอียดหรือพอให้ลูกทานได้บ้าง เขาจะได้ฝึกการเคี้ยว แล้วค่อย ๆ พัฒนาอาหารให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามวัยต่อไป
ผลกระทบต่อร่างกายเมื่อลูกทานยาก
การที่ลูกทานยากนั้น ส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายด้านด้วยเช่นกัน
1.ด้านการเรียนรู้
การเรียนรู้ของเด็กจะอยู่ในระดับที่กว่าเกณฑ์ต่ำ ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงเรียนรู้ได้ช้ากว่าเด็กทั่วไป
2.ด้านการเจริญเติบโต
เมื่อทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ การเจริญเติบโตทางด้านร่างกายก็อาจจะพัฒนาได้ช้า เพราะไม่ได้สารอาหารที่เหมาะสม และจำเป็นต่อร่างกายเท่าที่ควร
3.ด้านสุขภาพ
การเลือกทาน ทานยาก ก็จะไม่ได้รับสารอาหารมีประโยชน์ ก็อาจจะส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่ายการ อาจจะทำให้ป่วยได้ง่ายอีกด้วย
4.ด้านโภชนาการ
อาจจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ตามวัย ตามอายุ และตามสรีระของร่างกาย คุณพ่อคุณแม่ควรจัดอาหารแต่ละมื้อ ให้มีทั้งผัก ผลไม้ เนื้อเสัตว์ ที่เหมาะสมมากกว่าควบคู่ไปด้วย
วิธีรับมือเมื่อลูกทานยาก
1.จัดอาหารให้ตรงตามวัย
ศึกษาว่าเด็กตามวัยของลูกน้อย ควรทานอาหารประเภทใดบ้าง ที่จะช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายเจริญเติบโต และแข็งแรงตามวัย ค่อย ๆ ฝึกให้เขาทาน ไม่ควรยัดเหยียดมากเกินไป
2.จัดเวลาให้ลูกทานตามเวลา
หากจัดตารางเวลาให้ลูกได้ทานอาหารให้ตรงตามเวลา ไม่ทานเรื่อยเปื่อย ก็จะเป็นการฝึกวินัยไปในตัว ซึ่งหากทานอาหารตามเวลา วันละ 3 มื้อ หากเขาไม่ยอมทานในมื้อนั้น ๆ เขาก็จะเริ่มหิว และทำให้เขาเริ่มปรับตัวและเริ่มรู้ด้วยตัวเองว่าหากเขาไม่ยอมทาน ก็จะหิวซึ่งผลจะส่งผลเสียต่อตัวเขาเอง
3.ไม่ควรให้ทานนมมากเกินไป
ช่วงอายุ 1 ขวบ ขึ้นไป ควรจะฝึกให้ลูกนั้นทานอาหารจำพวกข้าว หรืออาหารหยาบมากขึ้น ซึ่งในแต่ละวันควรให้เขาทานนมไม่เกิน 16 ออนซ์ต่อวัน หรือเท่ากับนม 8 ออนซ์ 2 มื้อ เพื่อที่เขาจะได้หันมาทานข้าวได้เยอะมากขึ้น
4.หาภาชนะที่ดึงดูด
ภาชนะที่สวยงาม หรือมีรูปลักษณ์ที่แปลกตา จะเป็นการดึงดูดให้ลูกน้อยเริ่มสนใจ และหันมาทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งวิธีนี้อาจจะช่วยให้เขาเริ่มหันมาทานข้าวได้บ้างก็ยังดี
5.จัดอาหารให้ดูน่ารับประทาน
การจัดจานอาหารให้ดูน่ารับประทาน ก็เป็นอีกสิ่งที่เป็นแรงดึงดูดที่ทำลูกเริ่มทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องลูกสังเกตว่าเขาชอบทานอาหารประเภทไหน แล้วนำมาคิดเปลี่ยนแปลงเมนู ให้หน้าตาดูไม่ซ้ำกัน ก็อาจจะช่วยได้
6.ให้เขาทานอาหารด้วยตัวเอง
ฝึกให้เขาช่วยเหลือตัวเองบ้าง ด้วยการจัดวางอาหารหรือภาชนะไว้ใกล้มือพอที่เขาจะสามารถหยิบทานได้เอง แม้ว่ามันหกเลอะเถอะ ก็ควรปล่อย เพราะการที่เขาได้ลองทานอาหารด้วยตัวเอง เขานั้นอาจจะรู้สึกดีและสนุกกับทานอาหารมากขึ้นก็ได้
7.กำหนดระยะเวลาในการทานอาหาร
เมื่อเราจัดตารางให้เขาได้ทานอาหารตามช่วงเวลาแล้ว ควรกำหนดระยะเวลาในการทานแต่ละมื้อด้วยว่า ควรทานไม่เกินเวลาเท่าไหร่ อาจจะกำหนดเวลาการทานไม่เกิน 30 นาที เพื่อเป็นการฝึกวินัยให้เขา เขาจะได้ตั้งใจทานอาหารไม่ติดเล่น
8.หากลูกเล่นอาหารก็เก็บทันที
เมื่อเราเปิดโอกาสให้ลูกได้ทานอาหารเอง แล้วเขานั้นหยิบอาหารมาเล่นหรือขว้างปาอาหาร หรือเกินระยะเวลาทานอาหารที่กำหนดไว้ควรเก็บอาหารทันที เพื่อเป็นการฝึกเขาไปในตัวว่า หากลูกมัวแต่เล่นไม่ยอมทาน ก่อนจะถึงมื้อต่อไปนั้นเขาจะต้องทนหิว และงดให้เขาทานขนมไปด้วย
9.ตักอาหารให้เขาทีละน้อย ๆ
ในมื้ออาหารควรตักอาหารให้เขาไม่เยอะจนเกินไป เพราะถ้าเขากินไม่หมดแล้วคุณพ่อคุณแม่บังคับให้ทานให้หมด ก็จะกลายเป็นการทำให้เขาไม่อยากทานอาหารไปเลยก็ได้ ควรตักให้ทีละน้อย ๆ หากไม่อิ่มก็ให้ตักเพิ่ม หรือให้ทานในปริมาณที่พอเหมาะ
10. สร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลาย
ให้ช่วงเวลาการทานมื้ออาหารเป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลาย มีความสุขต่อลูก ไม่กดดันตึงเครียดกับเขามากเกินไป
11.งดทานของหวานระหว่างมื้อ
งดขนมถุง ลูกอม น้ำอัดลม น้ำหวาน ช็อกโกแลต เพราะขนมของหวานยิ่งทานมาก ก็จะทำให้ลูกไม่ยอมทานข้าว เพราะทานขนมเยอะ ก็จะอิ่มจนไม่อยากจะทานข้าว ฉะนั้นทางที่ดีพยายามหลีกเลี่ยงหรืองด ขนมถุง หรือของหวานไปได้เลยยิ่งดี
บทส่งท้าย
ปัญหาที่ลูกทานยาก เป็นปัญหาที่หลายครอบครัวพบเจอ ซึ่งวิธีการรับมือก็อาจจะแตกต่างกันไป แต่ถ้าหากลองใช้คำพูดที่มีเหตุผลมากขึ้น ก็อาจจะทำให้ลูกน้อยยอมเปิดใจทานอาหาร และมันจะส่งผลดีต่อทั้งคุณพ่อคุณแม่ และลูกอีกด้วย ซึ่งทุกอย่างนั้นต้องใช้เวลา และค่อย ๆ พัฒนาไปทีละขั้นตอน
เครดิตรูปภาพ