ทารกกี่เดือน  ถึงพาออกไปเที่ยวนอกบ้านได้ และต้องเตรียมตัวอย่างไร

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ทารกกี่เดือน  ถึงพาออกไปเที่ยวนอกบ้านได้ และต้อง เตรียมตัวอย่างไร หลังคลอดลูกน้อย อาจเป็นช่วงที่ร่างกายของลูกยังไม่แข็งแรง และคุณแม่ก็ยังไม่สามารถพาลูกออกไปทำกิจกรรมได้ คุณแม่ส่วนใหญ่อาจสงสัยว่าหลังคลอด ทารกออกนอกบ้าน 

กี่เดือน จะพาลูกออกไปต่างจังหวัดหรือเดินห้างได้ตอนไหน และมีเรื่องอะไรที่ควรระวังบ้าง บทความนี้จะพาไปดูกัน 

พาลูกออกนอกบ้านได้ตอนกี่เดือน 

ไม่ได้มีตัวเลขที่ระบุอย่างชัดเจนว่าทารกอายุกว่าน้อยกว่าเท่าใดจึงจะห้ามออกจากบ้านหรือเดินทาง เพราะทารกที่ยังอายุน้อย เช่น แรกเกิดถึง 3 เดือน ก็ยิ่งมีภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ในขณะเดียวกัน แม้ว่าทารกจะอายุมากขึ้น เช่น หลังจากอายุ 6 เดือน ก็อาจจะมีการติดเชื้อได้ง่ายโดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เพราะภูมิต้านทานที่ได้จากคุณแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จะหมดไปหลังอายุ 6 เดือน ทารกจึงต้องพึ่งพาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นในร่างกายด้วยตนเอง วัคซีนที่ได้รับ ร่วมกับภูมิคุ้มกันที่ได้จากการทานนมแม่

ความเสี่ยงในการเดินทางพร้อมลูกน้อยก่อนที่ระบบภูมิคุ้มกันจะพร้อม

 1.การสัมผัสกับเชื้อโรคมากขึ้น  เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงง่ายต่อการติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ

2.ยังไม่ได้รับวัคซีนจำเป็นบางตัว  การเดินทางโดยที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนบางชนิดที่ต้องได้รับตามวัย อาจทำให้ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ เช่น โรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน

3.การเดินทางทางอากาศและความดันในห้องโดยสาร  ทารกอาจรู้สึกไม่สบาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความดันในห้องโดยสาร ระหว่างการเดินทางทางอากาศ ทำให้เกิดอาการปวดหู เนื่องจากความดันในหูไม่เท่ากัน

4.การเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง  การเดินทางไปในต่างถิ่น อาจมีความเสี่ยงด้านสุขภาพจากโรคเฉพาะถิ่น เช่น โรคที่มียุงเป็นพาหะหรือโรคที่เกิดจากอาหาร ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาภูมิคุ้มกันของทารก

5.การดูแลสุขอนามัยอย่างเหมาะสม  ระหว่างเดินทาง อาจขาดการรักษาสุขอนามัยอย่างเหมาะสม เช่น ขาดการล้างมือบ่อยๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการสัมผัสกับเชื้อโรคที่เป็นอันตรายมากขึ้น

6.การเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จำกัด  เมื่อเดินทางไปยังสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย อาจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล หรืออาจเกิดการล่าช้าในการขอความช่วยเหลือ เมื่อเกิดความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อย

สิ่งของที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนพาลูกออกจากบ้าน

แต่ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบัน และการดำเนินชีวิตของหลายครอบครัวที่การเลี้ยงลูกอาจไม่มีตัวช่วยมากนัก ไม่สามารถฝากใครดูแลลูกได้ การออกไปจับจ่ายซื้อของ หรือการเดินทางจึงจำเป็นต้องพาทารกออกจากบ้านไปพร้อมกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมของใช้และต้องเตรียมตัวดังนี้

1.อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย

อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับทารก และแม่ให้นมนั้นสำคัญมาก เพื่อไม่ให้การอยู่นอกบ้านเป็นปัญหาในภายหลัง ตัวอย่างเช่น ของใช้จำเป็นสำหรับลูก รถเข็น ของเล่นเด็ก ยาของลูก ผ้าคลุมให้นม ทิชชูเปียก และเสื้อผ้าสำรอง เป็นต้น จัดเตรียมให้พร้อม และตรวจสอบทุกครั้ง

2.เลือกเวลาเดินทาง

ควรพิจารณาการเดินทางในเวลาที่เหมาะสม เช่น อาจเลือกเวลาใกล้ ๆ กับเวลานอนของลูกในระหว่างเดินทาง เพื่อให้ลูกได้มีเวลาพักผ่อนได้มากที่สุด เพราะทารกวัยแรกเกิด ยังไม่สามารถรับรู้อะไรได้มากนักเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก นอกจากการนอนเป็นสำคัญ หากทารกนอนได้อย่างเพียงพอ ไม่ถูกรบกวน ก็ส่งผลดีต่อพัฒนาการของทารกเองด้วย

3.การเลือกสถานที่เดินทางต้องคำนึงถึงลูก

หากจำเป็นต้องพาลูกเล็กเดินทางไกล หรือไปพักผ่อน การเลือกที่พักโดยมีลูกน้อยไปด้วยควรเป็นโรงแรม หรือห้องพักที่ปลอดภัยพอสำหรับเด็กเล็ก เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ช่วงอายุน้อยที่สุดที่พาลูกออกนอกบ้านได้ คือประมาณ 4 – 6 เดือนขึ้นไป เพราะลูกเริ่มมีความพร้อมทางร่างกาย และอารมณ์ ที่พอจะรู้เรื่อง และผ่านการได้รับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันมาบ้างแล้ว เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องพาทารกออกนอกบ้าน ควรหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือมีคนมาก  และควรให้ลูกอ่อนใช้เวลานอกบ้านให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ดีกว่านะ

4.คอยสังเกตความผิดปกติของทารก

เพราะร่างกายของเด็กเล็กยังไม่สามารถปรับตัวได้ดี ลูกอาจจะมีอาการงอแง หรือหงุดหงิดแสดงออกมาได้ อันเกิดจากความไม่สบายตัว จากการนอนบนรถที่มีการสั่น หรือส่ายไปมา หรือเพราะลูกน้อยอาจหิว เป็นต้น คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการของลูกน้อย หรือคอยดูชั่วโมงการให้นมให้ดีด้วย และท่าทางการนอนของลูกให้เป็นอย่างดี

5.คาร์ซีท ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด จนถึงอย่างน้อยอายุ 2 – 4 ปี ควรใช้ car seat สำหรับเด็กเล็กเป็นที่นั่งแบบปรับให้หันหน้าไปด้านหลังรถ (Rear-facing car seat) เดิม car seat แบบนี้ แนะนำให้ใช้จนถึงอายุ

 2 ปี แต่ในปัจจุบันแนะนำให้เด็กนั่ง car seat แบบหันหน้าไปด้านหลังรถให้นานที่สุดจนกว่าอายุ 4 ปี หรือตัวโตจนความสูงเกินขนาดของ car seat ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสเกิดการหักของกระดูกต้นคอหากเกิดอุบัติรุนแรง

บทส่งท้าย

ก่อนออกจากบ้าน การเตรียมความพร้อมให้กับทารก โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และความจำเป็น คุณแม่อาจทำเป็นลิสต์ออกมา เพื่อตรวจสอบได้ง่ายทุกครั้งก่อนพาทารกออกไปด้วย ก็เป็นวิธีที่น่าสนใจเช่นกัน

เครดิตรูปภาพ parenting.firstcry.com ledbestov.live mom.com dietlovemk.best

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (182) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)