อาการแพ้อาหารของลูกนั้นถือเป็นเรื่องที่รับมือได้ยากมากเลยทีเดียว เชื่อว่าแม่หลายคนกำลังประสบกับปัญหาเหล่านี้ ลูกมีอาการแพ้โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับคนเป็นแม่ ซึ่งอาการแพ้อาหารเหล่านั้น อาจเกิดจากการแพ้อาหารบางอย่างที่เราไม่ทันได้รับเช่น อาการแพ้นม แพ้ถั่ว แพ้ไข่ และยิ่งถ้าหนักไปกว่านั้นคือกันแพ้แป้งสาลีที่สามารถพบได้ทั่วไปในอาหารแทบจะทุกชนิด โดยแป้งสาลีนั้นเป็นอีกหนึ่งสารอาหารหลักที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตและพัฒนาระบบสมองของลูกน้อย หากคุณแม่สงสัยหรือพบว่าลูกมีอาการแพ้แป้งสาลี ให้รีบงดอาหารประเภทเหล่านี้โดยเด็ดขาดและพบแพทย์ผู้เชี่ยววชาญโดยด่วน แต่เราจะทราบได้เรานั้นมีอาการแพ้แป้งสาลี วันนี้เรามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวข้องกับการแพ้แป้งสาลี มาฝากกัน ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้แป้งสาลี สาเหตุของการแพ้แป้งสาลี หรือรวมไปถึงวิธีการดูแลรักษาและป้องกันอย่างถูกวิธี จะมีรายละเอียดอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย
1. อาการ ของการแพ้แป้งสาลี
คุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกน้อยนั้นมีอาการแพ้แป้งสาลีหรือไม่ให้สังเกตลักษณะพื้นที่ผิวหนัง จะเป็นผื่นแดงคันคล้ายๆกับลมพิษ มีอาการหน้าบวมตาบวม ริมฝีปากบวม รวมไปถึงมีปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ มีน้ำมูกไหล ไอ จาม หรือเด็กบางรายที่มีอาการแพ้รุนแรงอาจอักเสบไปถึงปอดนำไปสู่อาการหลอดลมตีบแบบเฉียบพลันได้ นอกจากนี้การแพ้แป้งสาลียังมีผลกระทบต่อทางเดินอาหาร เช่นมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย และส่งผลต่อระบบประสาทกับระบบหัวใจ มีอาการเวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ มึนงง อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
2. สาเหตุของอาการแพ้แป้งสาลี
มีผลมาจากพันธุกรรมของคุณพ่อคุณแม่ที่มีอาการแพ้อาหาร ผสมผสานกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของลูกที่ยังไม่แข็งแรงพอที่จะทานอาหารเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ ช่วงอายุก็มีผล เด็กอาจจะยังเล็กเกินกว่าที่กระเพาะจะสามารถรับอาหารจำพวกแป้งได้ รวมไปถึงการใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่รอบๆตัวและมีการเปลี่ยนแปลงไปซึ่งก็อาจจะมีผลต่ออาการแพ้นั้นได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงหมั่นสังเกต ว่าลูกนั้นมีอาการผิดปกติในช่วงเวลาใด เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
3. วิธีการป้องกันการแพ้แป้งสาลี
ข้อควรปฏิบัติของคุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อที่ลูกจะได้รับสารอาหารที่หลากหลายและลดอาการแพ้ลงได้ ซึ่งนมแม่นั้นมีความสำคัญอย่างมากควรให้ลูกดื่มจนถึงอายุ 6 เดือนเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ได้มากที่สุด ช่วงวัยทารกนั้นถือเป็นช่วงพี่จะสามารถเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เมื่อลูกโตขึ้นมาแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรค่อยๆให้ลูกลองชิมอาหารที่ มีโอกาสเสี่ยงแพ้สูงเพื่อสังเกตอาการแพ้และจะได้ป้องกันได้อย่างทันท่วงที หากทราบแล้วว่าลูกมีอาการแพ้แป้งสาลีควรหลีกเลี่ยงอาหารทุกชนิดที่มีส่วนผสมของแป้ง เช่น เส้นสปาเก็ตตี้ เค้ก ขนมอบกรอบต่างๆ รวมไปถึงขนมปังด้วยเช่นกัน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ที่มีคำว่า wheat free, gluten free ได้ เพราะจะไม่มีส่วนผสมของแป้งสาลี
4. ข้อแนะนำสำหรับเด็กที่แพ้แป้งสาลี
นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องสังเกตผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคำ wheat free, gluten free ได้ ผู้ป่วยที่แพ้แป้งสาลีควรงดออกกำลังกาย 2-4 ชั่วโมงหลังมื้ออาหาร ชั่วโมงหลังมื้ออาหารเพื่อ ชั่วโมงหลังมื้ออาหารเพื่อป้องกันการ ชั่วโมงหลังมื้ออาหารเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแพ้ที่อาจรุนแรงมากยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่าอาการแพ้แป้งสาลีในเด็กบางคนนั้นรุนแรงและอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรที่จะละเลยและต้องหมั่นสังเกตอาการของลูกหลังมื้ออาหารทุกครั้ง และหากพบว่ามีอาการรีบพบแพทย์โดยทันที แต่อย่างไรก็ตามอาการแพ้แป้งสาลีนั้นสามารถหายได้เอง โดยจากการวิจัยแล้วผมว่าผู้ป่วยที่แพ้แป้งสาลีสามารถหายได้เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วเด็กที่หายจากอาการแพ้แป้งสาลีตอนอายุ 16 ปีคิดเป็น 96 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว หากคุณพ่อคุณแม่บ้านไหนกำลังประสบกับปัญหาลูกมีอาการแพ้แป้งสาลีก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพียงแต่ต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบมีอาการรุนแรงให้รีบพบแพทย์ในทันที สล็อตแตกง่าย