เมื่อคนท้องติดโควิด 19  ต้องทำอย่างไร กินยาอะไรได้บ้าง ?

บทความนี้ขอแนะนำ “เมื่อคนท้องติดโควิด 19  ต้องทำอย่างไร กินยาอะไรได้บ้าง?”  ในปัจจุบันที่โรค โควิด 19 ยังระบาดอยู่นั้น ตัวเราก็ยังมีความเสียงอยู่ไม่รู้ว่าวันไหนจะติดเชื้อ ซึ่งกลุ่มคนท้องเป็นอีกกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังมาก ๆ เพราะหากติดโควิดจะทำให้มีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมาย และเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ส่งผลทำให้ไม่แข็งแรงอีกด้วย วันนี้เราเลยมีคำแนะนำเกี่ยวกับ คนท้องติดโควิด มาฝากว่าเมื่อติดโควิดจะต้องทำอย่างไร มียารักษาตัวไหนที่กินได้และกินไม่ได้บ้าง บทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน

ทำอย่างไรเมื่อ คนท้องติดโควิด

คนท้องติดโควิด ต้องทำอย่างไร ก่อนอื่นเมื่อเราประเมินตนเองแล้วว่ามีความเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19 มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้ 

1.ให้รีบทำการตรวจโรคโควิด-19 ก่อนเลยเป็นอันดับแรก ซึ่งต้องบอกก่อนเลยว่าในช่วงแรกที่มีความเสี่ยงนี้อาจจะไม่มีอาการแสดงจึงทำให้ไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้ทันที เพราะฉะนั้นจึงควรทำการตรวจหาเชื้ออย่างต่อเนื่อง 

2.ต่อมาเมื่อพบว่า คนท้องติดโควิด ให้ทำการกักตัวและรีบรักษาทันที เพราะหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้

3.สำหรับการรักษาโควิด-19 ในผู้ป่วยตั้งครรภ์นั้นจะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด และควรได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งมีอาการดีขึ้นและตรวจโควิดไม่พบเชื้อ 

คุณแม่ตั้งครรภ์ป่วยโควิด จะส่งผลอย่างไรบ้าง

– คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด 19 มากกว่า 2 ใน 3 มักไม่แสดงอาการ

– คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด 19 แล้วมีอาการรุนแรงมักมีภาวะอ้วน อายุมาก มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ฯลฯ

– คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด 19 มีโอกาสส่งต่อเชื้อไปยังลูก 

– คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด 19 มีโอกาสทารกคลอดก่อนกำหนด
Coronavirus during pregnancy: Here's what you need to know

อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ป่วยโควิด

– ไข้

– ไอแห้ง ๆ 

– อ่อนเพลีย

– หายใจติดขัด

– เจ็บคอ

– ท้องเสีย

– ปวดกล้ามเนื้อ

– มีเสมหะ

ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในช่วงโควิด

เพื่อให้สามารถผ่านช่วงสถานการณ์โรคระบาดไปได้อย่างปลอดภัย มีข้อแนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ควรเข้มงวดในการดูแลตัวเอง ทั้งการรักษาระยะห่างตามมาตรการ หมั่นล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย ห้ามให้มือสัมผัสตา จมูก ปาก และหลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนเพียงพอ และรับประทานวิตามินได้ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อรักษาร่างกายของตนและทารกให้แข็งแรงอยู่เสมอ รวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 เพื่อลดความรุนแรงของโรคหากมีการติดเชื้อ
No evidence pregnancy increases the risk of COVID-19 morbidity or severity

รักษาคุณแม่ตั้งครรภ์ป่วย โควิด 19

1.การให้สารน้ำ แก้ไขภาวะขาดสมดุลของเกลือแร่ ให้ออกซิเจน

2.การให้ยาต้านไวรัสในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง

3.การให้ยาปฏิชีวนะหากติดเชื้อแบคทีเรีย

4.การใช้เครื่องช่วยหายใจกรณีที่อาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับการประเมินโดยแพทย์

Tailored drug dosage for pregnant women - Radboudumc

คนท้องติดโควิด กินยาอะไรได้บ้าง

1.พาราเซตตามอล ใช้แก้ปวด ลดไข้

2.คลอเฟนนิรามีน แก้คัดจมูก ลดน้ำมูก

3.เด๊กซโตรเมโทรฟาน ยาแก้ไอ เวลาไอแห้ง

4.Acetylcysteine , Bromhexine ยาละลายเสมหะ

5.เพนนิซิลลิน เป็นยาปฏิชีวนะสำหรับทั้งการอักเสบติดเชื้อทางเดินหายใจ ช่องปาก ทางช่องหู ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ทางช่องคลอด และทางผิวหนัง สามารถใช้ได้ ค่อนข้างปลอดภัย

6.Remdesivir ยารักษาโควิดในคนท้องช่วงไตรมาสแรก มีความปลอดภัย และไม่มีรายงานผลกระทบต่อทารกในครรภ์

ยาที่คนท้องห้ามใช้

ฟ้าทะลายโจร คนท้องติดโควิดห้ามใช้เด็ดขาด เพราะอาจทำให้แท้งลูกได้

ยาที่คนท้องต้องระวัง

Favipiravir ยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาโควิด แพทย์จะพิจารณาให้ใช้รักษาตามอาการ ในรายที่ไม่รุนแรง เนื่องจากตัวยาอาจมีผลทำให้ทารกในครรภ์พิการได้
Daily Dose - Pregnant or Trying to Get Pregnant? Here's What You Should  Know About the COVID-19 Vaccine

การฉีดวัคซีนโควิด19 ในหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 เป็นกลุ่มที่ 8 ต่อจากผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว โดยในวันที่เข้ารับการฉีดวัคซีน ต้องมีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป และไม่ควรฉีดพร้อมกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ หลังจากแม่ได้รับวัคซีนแล้ว ยังพบภูมิต้านทานโควิดในเด็กบางรางที่คลอดออกมาด้วย

*ควรปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ก่อนเข้ารับวัคซีน

เมื่อคนท้องหายป่วยโควิด 19 ต้องดูแลตัวเองอย่างไร

1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก มีประโยชน์ เพื่อป้องกันไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำนั่นเอง และเพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนอีกด้วย 

2.พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง เพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาแข็งแรงได้เร็วขึ้น 

3.พยายามขยับร่างกาย ไม่นั่ง หรือนอนเป็นเวลานาน ๆ ควรลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายบ้าง ออกกำกายเบา ๆ งดการออกกำลังกายแบบหนักหน่วง

4.ไม่เครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการป่วยแทรกซ้อนได้ง่าย ซึ่งอาจจะผ่อนคลายด้วยการฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือหากิจกรรมที่ชอบทำ เป็นต้น 

4.หมั่นสังเกตอาการป่วยของตนเองบ่อย ๆ หากเมื่อไหร่พบความผิดปกติของร่างกาย หรือทารกในครรภ์ควรพบแพทย์ทันที 

บทส่งท้าย

โควิด 19 ยังเป็นโรคที่เราต้องเผชิญกับมันอยู่ ดังนั้นต้องระมัดระวังตัวเอง สวมใส่หน้ากากเมื่อออกไปที่สาธารณะ ไม่ไปสถานที่ที่ผู้คนแออัด หมั่นล้างมือให้สะอาด หรือฉีดพ่นสเปรย์แอลกอฮอล์บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโควิด 19 อย่างมาก

เครดิตรูปภาพ www.todaysparent.com www.healthline.com www.news-medical.net www.radboudumc.nl atriumhealth.org

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> ไฮโลไทย

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (182) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)