บทความนี้ขอแนะนำ “อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหับคุณแม่หลังคลอดและคุณแม่ที่ให้นมลูกอยู่ไม่ควรทาน” คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจสงสัยว่า คุณแม่หลังคลอดห้ามกินอะไรบ้าง เพราะการรับประทานอาหารบางชนิด อาจจะส่งผลต่อการฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด และการให้นมบุตร คุณแม่จึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างร่วมกับการดูแลสุขภาพตัวเอง ซึ่งอาหารที่ควรหลีกเลียงมีอะไรบ้างนั้น บทความนี้มีมาแนะนำกัน
อาหารที่คุณแม่หลังคลอด และคุณให้นมลูกควรหลีกเลี่ยง
ระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องต้องควบคุมอาหารและเลือกทานสิ่งที่มีประโยชน์ พอคลอดลูกแล้วมักจะหิวโหย อยากกินของโปรด อยากกินโน่นกินนี่ตลอดเวลา เพราะในช่วงตั้งท้อง 9 เดือน ต้องระมัดระวังอาหารที่ก่อให้เกิดภาวะภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ แรก ๆ ก็ตามใจปากอยู่หรอก จนกระทั่งโดนคุณหมอดุ แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่า หลังคลอดยิ่งต้องระวังมากเป็นพิเศษ นอกจากต้องเลือกอาหารที่มีประโยชน์เพื่อฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดแล้ว อาหารบางชนิดยังมีผลต่อน้ำนม แม่ลูกอ่อนจึงต้องหักห้ามใจตัวเองไว้ก่อน มาดูกันดีกว่าว่า อาหารต้องห้ามของแม่ลูกอ่อนที่ห้ามกินมีอะไรบ้าง
1. อาหารดิบ และอาหารค้างคืน
เพื่อสุขภาพ และความปลอดภัยของคุณแม่ช่วงให้นมบุตร คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ และอาหารที่ทิ้งไว้ข้ามคืน เช่น แหนม ก้อย ลาบเลือด กุ้งแช่น้ำปลา และปลาร้า เป็นต้น เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้คุณแม่ท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษได้ เพราะฉะนั้นคุณแม่จึงควรรับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ สะอาด และผ่านความร้อน เพื่อป้องกันอาการอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
2.ของหมักดอง
อาหารหมักดอง และผลไม้ดอง มักเต็มไปด้วยโซเดียม และเกลือในปริมาณที่สูง หากคุณแม่รับประทานเข้าไปก็อาจส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยได้ อีกทั้งสารปนเปื้อนในอาหารหมักดองนั้น ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพคุณแม่ได้เช่นกัน หากคุณแม่จำเป็นต้องรับประทานจริง ๆ ให้กินหลังจากให้นมลูกไปแล้ว และหยุดนมแม่ 1 มื้อเพื่อปั๊มทิ้งก่อนให้นมลูกครั้งต่อไป
3.คาเฟอีน
คาเฟอีนพบได้ในเครื่องดื่มทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นกาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ไอศกรีม และช็อกโกแลต เมื่อคุณแม่ดื่มคาเฟอีนเข้าไป ก็อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้ ซึ่งหากทารกกินนมแม่ที่มีคาเฟอีนปนเปื้อนเข้าไป ก็จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกกระวนกระวาย น้ำมูกไหล หงุดหงิด และหลับยาก ดังนั้นคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องที่มีคาเฟอีนไปก่อน
4.อาหารทะเล
อาหารทะเลมักมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง หอย ปู ปลา หมึก ล้วนเต็มไปด้วยสารเคมีเพื่อรักษาความสดใหม่ ดังนั้นคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทะเลให้มากที่สุด เพราะสารเคมีเหล่านั้นอาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำนม จนส่งผลร้ายต่อพัฒนาการทางร่างกาย และสมองของลูกน้อยได้ ทำให้ลูกอาจมีพัฒนาการที่ช้า และมีความผิดปกติอื่น ๆ หากคุณแม่อยากรับประทานอาหารทะเลจริง ๆ แนะนำให้กินปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน และปลาแซลมอน เพราะอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 และสารอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย
5.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แม่ลูกอ่อนไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองของลูกน้อย คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ได้มากที่สุด หากจำเป็นต้องดื่มจริง ๆ ควรจำกัดปริมาณที่เหมาะสม ไม่เกินครั้งละ 1-2 แก้ว และไม่ควรดื่มเกินหนึ่งครั้งต่อวัน หรือสองครั้งต่อสัปดาห์ ควรรอให้ร่างกายขับแอลกอฮอล์ออกก่อน จึงค่อยให้นมลูกน้อย
6.นมวัว
การดื่มนมวัว และรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของนมวัว เช่น โยเกิร์ต และชีส อาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้โปรตีนในนมได้ ซึ่งเมื่อลูกได้รับโปรตีนในนมวัวเข้าไป ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย กรดไหลย้อน เกิดผื่นแพ้ และมีปัญหาในเรื่องน้ำหนักตัวได้ ดังนั้นหากคุณแม่อยากดื่มนมจริง ๆ อาจลองเปลี่ยนไปดื่มนมจากพืชแทน
7.อาหารรสจัด
โดยปกติแล้ว รสชาติของน้ำนมจะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับอาหารที่คุณแม่รับประทาน หากคุณแม่ชอบกินอาหารรสจัดก็อาจส่งผลให้ลูกหงุดหงิด นอนน้อย ไม่ยอมกินนม และไม่ยอมเข้าเต้าได้ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัดไปก่อน แม้กระทั่งพริก กระเทียม และเครื่องแกง เพราะอาจทำให้น้ำนมมีกลิ่นฉุน หรือมีรสชาติที่ผิดแปลกไป
8.ธัญพืชบางชนิด
คุณแม่ที่ชื่นชอบการรับประทานธัญพืช อาจจำเป็นต้องงดรับประทานไปก่อน โดยเฉพาะธัญพืชจำพวกถั่วเหลือง ข้าวโพด และถั่วลิสง เพราะมีสารโปรตีนที่อาจกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ในทารกได้ เช่น ลมพิษ ผื่นแดง อีกทั้งกลูเตนที่พบได้ในธัญพืชยังอาจทำให้ลูกท้องอืด ท้องเสีย และไม่สบายท้องได้ ดังนั้นในช่วงให้นมบุตร
9.ผลไม้รสเปรี้ยวบางชนิด
ผลไม้รสเปรี้ยวบางชนิด เช่น ส้ม มะนาว สับปะรด กีวี และสตรอว์เบอร์รี จะมีกรดที่ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการคัน แพ้ และระคายเคืองได้ รวมถึงยังอาจทำให้ลูกเกิดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ไม่สบายตัว จนถึงขั้นอาเจียนได้ ดังนั้น คุณแม่มือใหม่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ชนิดนี้ในช่วงให้นมลูกไปก่อน หากคุณแม่อยากรับประทานจริง ๆ ให้ลองกินมะม่วงดู บอกเลยว่าช่วยแทนรสเปรี้ยวให้ได้ไม่น้อย
10.ผักบางชนิด
ผักบางชนิดสามารถทำเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ โดยเฉพาะผักในตระกูลกะหล่ำ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง และบรอกโคลี รวมทั้งผลไม้บางชนิดอย่างเชอร์รี กล้วยหอม และลูกพรุน คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผัก และผลไม้เหล่านี้ไปก่อน เพราะอาจทำให้ลูกน้อยท้องอืด แน่นท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร และรู้สึกไม่สบายตัวได้ หากคุณแม่อยากรับประทานผัก ควรเลือกเป็นผักใบเขียว ฟักทอง หัวปลี และขิงจะดีกว่า
บทส่งท้าย
อาหารห้ามกินหลังคลอด เหล่านี้ ไม่ใช่ว่าคุณแม่ไม่สามารถกินได้เลย คุณแม่ก็สามารถรับประทานได้บ้าง แต่ควรทานในปริมาณที่น้อย เพราะในช่วงหลังคลอดถือเป็นช่วงที่วัยทารกจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหาร จากน้ำนมแม่มากที่สุด เพราะนมแม่จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของลูก นอกจากนี้ คุณแม่อย่าลืมนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลลูกน้อย
เครดิตรูปภาพ restaurantclicks.com www.centerforvein.com