อาการใกล้คลอดเป็นแบบไหน สัญญาณเตือนใกล้คลอดที่คุณแม่ต้องรู้

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง อาการใกล้คลอดเป็นแบบไหน สัญญาณเตือนใกล้คลอดที่คุณแม่ต้องรู้ เมื่ออายุครรภ์ของคุณแม่มากขึ้น  เชื่อว่าคุณแม่หลายคนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่มักจะมีความกังวลในเรื่องของการคลอดอย่างอาการใกล้คลอดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และการดูแลคนท้องก็ไม่ใช่เรื่องง่ายซึ่งคุณแม่มักจะต้องคอยสังเกตสัญญาณเตือนใกล้คลอดอยู่เสมอ เนื่องจากอาการของคนใกล้คลอดแต่ละคนไม่เหมือนกันซึ่งมีทั้งอาการที่พบได้เป็นปกติและอาการผิดปกติที่ต้องไปพบแพทย์

อายุครรภ์เท่าไหร่ที่ปกติคุณแม่จะเริ่มมีอาการใกล้คลอด

โดยปกติแล้วคุณแม่มักจะตั้งครรภ์หรืออุ้มท้องลูกน้อยประมาณ 38- 42 สัปดาห์ อาการใกล้คลอดของคุณแม่มักจะเกิดในช่วงสัปดาห์ที่ 38- 42 เนื่องจากมดลูกเริ่มมีการบีบตัว หรือหดเกร็งมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูกน้อย ส่วนใหญ่อาการใกล้คลอดมักจะเป็นอาการเจ็บท้อง 

ซึ่งมีทั้งเจ็บท้องเตือนและเจ็บท้องจริง โดยคุณแม่จะต้องหมั่นคอยสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองอยู่เสมอ ถ้าหากพบว่ามีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันที

อาการใกล้คลอด มีอะไรบ้าง 

 1.ปวดท้องคล้ายมีประจำเดือน

อาการปวดท้องคล้ายมีประจำเดือนเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในช่วงใกล้คลอด อาการนี้เกิดจากการหดตัวของมดลูก ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด อาการปวดนี้อาจเริ่มจากเบา ๆ แล้วค่อย ๆ รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นความเจ็บปวดที่ค่อนข้างหนัก ซึ่งบางครั้งอาจมีลักษณะเป็นช่วง ๆ หรือมีการหดตัวเป็นจังหวะ การสังเกตและจดบันทึกการหดตัวของมดลูกจะช่วยให้คุณแม่ทราบว่าความถี่และความรุนแรงของการหดตัวเป็นอย่างไร

2.ปวดหลัง 

อาการปวดหลังเป็นอาการทั่วไปที่มักเกิดกับแม่ท้อง แต่หากเริ่มมีอาการปวดหลังรุนแรงมากขึ้น ซึ่งในบางครั้ง อาจมาจากการที่ศีรษะของเด็กในครรภ์ ไปสัมผัสกับกระดูกสันหลังของแม่ท้องจึงทำให้มีอาการปวดหลังรุนแรง ซึ่งอาจเป็นอีกสัญญาณของการใกล้คลอดได้เช่นกัน 

3.มีน้ำใส ๆ หรือมูกเลือดออกจากช่องคลอด

การที่มีน้ำใส ๆ หรือมูกเลือดออกจากช่องคลอดเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าปากมดลูกเริ่มเปิดและบางลง มูกเลือดที่ออกมานั้นเป็นผลจากการที่ปากมดลูกขยายและเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนการคลอดหลายชั่วโมงหรือหลายวัน หากพบว่ามีน้ำคร่ำไหลออกมาอย่างต่อเนื่องหรือเป็นน้ำใส ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก ควรรีบไปพบแพทย์หรือโรงพยาบาลทันที

4.ท้องลดต่ำลง

ท้องของคุณแม่อาจลดต่ำลงเมื่อหัวของทารกเริ่มเข้าสู่กระดูกเชิงกราน การที่ท้องลดต่ำลงนี้สามารถช่วยให้คุณแม่หายใจสะดวกขึ้นเนื่องจากการกดดันที่หน้าอกจะลดลง แต่ในขณะเดียวกันอาจทำให้รู้สึกเจ็บหรือไม่สบายบริเวณกระดูกเชิงกรานและขาหนีบมากขึ้น คุณแม่อาจรู้สึกว่าเดินได้ลำบากกว่าเดิมหรือมีอาการปวดเมื่อยบริเวณเชิงกราน

5.ปัสสาวะบ่อยขึ้น

ในช่วงใกล้คลอด คุณแม่อาจต้องปัสสาวะบ่อยขึ้นเนื่องจากทารกที่เคลื่อนลงไปในกระดูกเชิงกรานจะกดดันกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น นอกจากนี้การที่มดลูกขยายตัวอย่างต่อเนื่องยังทำให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง ทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกติ

6.ท้องเสีย 

อาการท้องเสีย ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของการใกล้คลอด และเมื่อใกล้คลอด ร่างกายจะปล่อยสารโพรสตาแกลนดิน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มดลูกหดตัว และหากมีอาการท้องเสีย จะทำให้ร่างกายของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เกิดภาวะขาดน้ำ หากมีการท้องเสียมาก ร่างกายจะขาดน้ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูกอันนำไปสู่การคลอดได้

7.มดลูกบีบตัว 

มดลูกบีบตัวตัวเป็นจังหวะที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอหรือไม่เจ็บปวดมาก เรียกว่า อาการมดลูกบีบตัว หรือ Braxton Hicks Contractions เป็นอาการที่เกิดจากมดลูกหดตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด แต่ถ้าอาการหดตัวนี้เริ่มเป็นจังหวะสม่ำเสมอและเจ็บปวดมากขึ้น อาจเป็นสัญญาณว่าเริ่มเข้าสู่การคลอด คุณแม่ควรจดบันทึกความถี่และระยะเวลาของการหดตัวเพื่อให้แพทย์สามารถประเมินสถานการณ์ได้

8.การเคลื่อนไหวของทารกลดลง

เมื่อทารกเติบโตมากขึ้นและพื้นที่ในมดลูกแคบลง การเคลื่อนไหวของทารกอาจลดลงบ้าง แต่คุณแม่ควรยังคงรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกอย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง ถ้าการเคลื่อนไหวลดลงอย่างมากหรือหยุดเคลื่อนไหว ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าทารกมีปัญหาหรือขาดออกซิเจน

9. การเปิดของปากมดลูก

แพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์จะตรวจสอบการเปิดของปากมดลูกเพื่อดูว่าพร้อมสำหรับการคลอดหรือไม่ การเปิดของปากมดลูกเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าเวลาคลอดใกล้เข้ามาแล้ว ปากมดลูกจะเปิดและบางลงเพื่อให้ทารกผ่านออกมาได้ การตรวจสอบนี้มักจะทำในระหว่างการตรวจครรภ์หรือเมื่อคุณแม่มีอาการมดลูกบีบตัวเป็นระยะเวลานาน

10.ถุงน้ำคร่ำแตก 

อาการถุงน้ำคร่ำแตก หรือที่เรียกกันว่า น้ำเดิน แสดงถึงการที่มดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลงเพื่อบีบให้ศีรษะของเด็กเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน น้ำที่ออกมาจะเป็นลักษณะใสๆ คล้ายน้ำปัสสาวะ อาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80 % ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง หากคุณแม่ท้องมีอาการเช่นนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

11.เจ็บท้องคลอด 

จะเป็นอาการเจ็บท้องรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในลักษณะที่เจ็บสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง นานขึ้นและถี่ขึ้นจนกว่ากระบวนการคลอดจะสิ้นสุดลง โดยอาการเจ็บท้องคลอดนี้จะรู้สึกว่าเริ่มเจ็บที่ส่วนบนของมดลูกก่อน แล้วเจ็บร้าวลงไปข้างล่าง ท้องแข็งตึง ถ้าเดินหรือเคลื่อนไหวก็จะเจ็บมากขึ้น ส่วนใหญ่มักจะมีมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอดมากขึ้น

ทั้งนี้หากมีสัญญาณเพิ่มเติมในช่วงไตรมาสสุดท้ายคุณแม่ควรรีบเก็บกระเป๋าไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งอาการเหล่านี้ ได้แก่

– มีเลือดออกทางช่องคลอด

– เมื่อลูกไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อยลงกว่าปกติ

– น้ำคร่ำเป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่น ๆ นอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู

– อาเจียนไม่หยุด

บทส่งท้าย

นอกจากอาการเจ็บท้องเตือน หรือเจ็บท้องคลอดแล้ว หากมีอาการและสัญญาณเตือนอื่นๆ เพิ่มเติมในช่วงไตรมาสสุดท้าย ได้แก่ มีเลือดออกทางช่องคลอด ลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อย มีไข้หรือหนาวสั่น น้ำคร่ำเป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่น ๆ นอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู รวมทั้งอาเจียนไม่หยุด ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที

เครดิตรูปภาพ

www.verywellfamily.com www.cosmopolitan.com plazaobg.com www.rainbowhospitals.in

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (173) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (171) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)