อัลตราซาวด์ขณะตั้งครรภ์คืออะไร สำคัญขนาดไหนจำเป็นต้องทำหรือเปล่า

บทความนี้ขอแนะนำ “อัลตราซาวด์ขณะตั้งครรภ์คืออะไร สำคัญขนาดไหนจำเป็นต้องทำหรือเปล่า” อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับแม่ท้องก็คือ การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ เพื่อยืนยันว่าทารกในครรภ์นั้นปลอดภัย ไม่ได้มีภาวะคับขันอะไร เพราะบางครั้งอาจจะมีปัญหาหรือความผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ แต่การอัลตร้าซาวนด์จะจำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ขนาดไหน บทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน

Wellington Ultrasound - General Ultrasound

การตรวจอัลตร้าซาวด์คืออะไร

การตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) หรือ “การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง’ เป็นการตรวจที่ใช้ “คลื่นเสียง” ในการสร้างภาพลูกในท้องคุณแม่ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านร่างกายคุณแม่ คลื่นเสียงนี้จะสะท้อนกับกล้ามเนื้อ, ไขมัน, อวัยวะในช่องท้อง และร่างกายของทารก, รก, น้ำคร่ำที่อยู่ในมดลูกของคุณแม่ แล้วสะท้อนกลับมายังอุปกรณ์ตรวจรับเพื่อแปลงเป็นภาพทางหน้าจออีกครั้ง

ประโยชน์ของการตรวจอัลตร้าซาวนด์ระหว่างการตั้งครรภ์

การตรวจอัลตร้าซาวนด์ระหว่างตั้งครรภ์ มีประโยชน์ในการตรวจความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายทารกในครรภ์และโครงสร้างหลัก ได้แก่ ดูรก สายสะดือ น้ำคร่ำ กะโหลกศีรษะ เนื้อสมอง แขน ขา  ช่องอก เนื้อปอด หัวใจ ผนังหน้าท้อง และอวัยวะหลักภายในช่องท้อง การวัดขนาดของทารกจากการตรวจอัลตร้าซาวนด์ ยังช่วยในการยืนยันอายุครรภ์ และกำหนดวันคลอดในรายที่มารดาจำประจำเดือนไม่ได้ หรือประจำเดือนไม่แน่นอน ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการดูแลรักษาในช่วงใกล้คลอด ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์เกินกำหนด ซึ่งอาจมีผลเสียต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้

Ultrasound Usage and Benefits Beyound Pregnancy | 7DMC

ประเภทของอัลตร้าซาวนด์

1.อัลตร้าซาวนด์ 2 มิติ (2D ultrasound)

เป็นภาพระนาบเดียวไม่มีความลึก เพื่อตรวจดูขนาด และความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ และการไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์ พร้อมตรวจอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานของคุณแม่

2.อัลตร้าซาวนด์ 3 มิติ (3D ultrasound)

เป็นภาพนิ่งที่เหมือนจริง โดยภาพมีความลึกขึ้นมา ใช้วินิจฉัยร่วมกับอัลตร้าซาวนด์แบบ 2 มิติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัย กรณีที่ตรวจพบความผิดปกติของทารกในครรภ์

3.อัลตร้าซาวนด์ 4 มิติ (4D ultrasound)

เป็นเทคโนโลยีล่าสุด เป็นภาพ 3 มิติที่เคลื่อนไหว สามารถตรวจเห็นภาพในเชิงลึก เห็นภาพการเคลื่อนไหวและอิริยาบถต่างๆ ของทารกในครรภ์ จุดประสงค์การใช้เช่นเดียวกับอัลตร้าซาวนด์ 3 มิติ

Antenatal Scans | Essential Parent

ช่วงอายุครรภ์ที่แนะนำและข้อบ่งชี้

การตรวจอัลตร้าซาวนด์สามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุ และตลอดการตั้งครรภ์ตามความพิจารณาของแพทย์ ทั้งนี้ช่วงอายุครรภ์ที่ควรได้รับการตรวจอัลตร้าซาวนด์มีช่วงระยะเวลา ดังนี้

อายุครรภ์ 5-11 สัปดาห์

– เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูก พร้อมวินิจฉัยแยกภาวะลูกแฝด

– เพื่อประเมินและกำหนดอายุครรภ์จากการวัดขนาดของทารกในครรภ์

– ตรวจวินิจฉัยภาวะเลือดออกผิดปกติจากชั้นใต้เยื่อหุ้มรก

ตรวจวินิจฉัยการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก ตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวอ่อน ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

– วินิจฉัยภาวะเนื้องอกมดลูก และถุงน้ำหรือเนื้องอกรังไข่

อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ 6 วัน

-ตรวจวัดขนาดของทารกเพื่อกำหนดอายุครรภ์

-ตรวจวัดความหนาของชั้นน้ำ (Nuchal translucency) ที่สะสมใต้ผิวหนังบริเวณต้นคอของทารก สำหรับใช้พิจารณาร่วมกับผลการเจาะเลือดของคุณแม่ เพื่อใช้ในการคัดกรองทารกดาวน์ซินโดรม*

-ตรวจวินิจฉัยความพิการที่รุนแรงของทารกเบื้องต้นได้หลายชนิด

-ตรวจประเมินอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของมารดา เช่น มดลูก และรังไข่
How Early Can You See a Baby on a Scan?

อายุครรภ์ 18-23 สัปดาห์

เป็นช่วงที่สำคัญและใช้เวลาในการตรวจนานที่สุดประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง

–  ตรวจคัดกรอง และวินิจฉัยความผิดปกติทางโครงสร้างของอวัยวะต่างๆของทารก เช่น กะโหลกศีรษะ เนื้อสมอง ไขสันหลัง แขน ขา และหัวใจ เป็นต้น

– ตรวจดูการเจริญเติบโตของทารก ตรวจตำแหน่งของรก ประเมินปริมาณน้ำคร่ำ

– ตรวจความยาวของปากมดลูก เพื่อทำนายความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

อายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ถึงช่วงใกล้คลอด

– ตรวจการเจริญเติบโตของทารก ประเมินน้ำหนักทารก

– วินิจฉัยภาวะทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (Fetal growth restriction)

– ตรวจตำแหน่งรก วินิจฉัยภาวะรกเกาะต่ำ ตรวจท่าของทารก และปริมาณน้ำคร่ำ

– ตรวจประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยตรวจดูการหายใจของทารก การเคลื่อนไหว และประเมินภาวะน้ำคร่ำ

– ในรายที่คุณแม่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แนะนำให้ตรวจที่อายุครรภ์ 30-32 สัปดาห์

– ในรายที่คุณแม่มีครรภ์เสี่ยงสูง ตั้งครรภ์แฝด หรือมีภาวะแทรกซ้อน ควรได้รับการประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ที่บ่อยขึ้นตามความพิจารณาของสูติแพทย์

4 Ways to Prepare for Ultrasound Appointments During Pregnancy After Loss -  Pregnancy After Loss Support

อัลตร้าซาวด์บ่อย ๆ อันตรายหรือไม่

จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่พบว่าการตรวจอัลตร้าซาวด์มีอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ทั้งในเรื่องของความพิการแต่กำเนิด, พัฒนาการและการเจริญเติบโต, โรคมะเร็ง, โรคจิตเภท หรือความผิดปกติอื่นภายหลังการคลอด คุณแม่จึงสามารถมั่นใจในการตรวจอัลตร้าซาวด์ได้

ผลอัลตร้าซาวด์ เชื่อถือได้แค่ไหน การตรวจอัลตร้าซาวด์มีความผิดพลาดหรือไม่

มีโอกาสผิดพลาดได้จาก สาเหตุหลักๆ คือ

1.อวัยวะของทารกไม่ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่ในครรภ์ ความผิดปกติจึงอาจเกิดตอนหลังคลอดได้

2.อวัยวะบางอย่างมันเล็กมาก บางอย่างเรามองไม่เห็น อย่างนิ้วถ้าเด็กไม่กางมา เราก็มองไม่เห็น หรือหัวใจถ้าเล็กกว่าครึ่งเซ็นต์ ก็มองไม่เห็น

3.อวัยวะของเด็กในท้องกับนอกท้องไม่เหมือนกัน

4.ท่าทางของเด็ก อาจบดบังการมองเห็นภาพอวัยวะต่างๆ ได้

บทส่งท้าย

การอัลตร้าซาวด์ช่วงตั้งครรภ์ นอกจากจะเป็นการดูเพศ และดูการเจริญเติบโตของทารกแล้ว ยังสามารถตรวจความผิดปกติของทารก เช่น ตรวจภาวะดาวน์ซินโดรมได้ตั้งแต่ 3 เดือนแรก หรืออัลตร้าซาวด์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดได้อีกด้วย

เครดิตรูปภาพ www.pinterest.com www.wus.co.nz hospital.essentialparent.com pregnancyafterlosssupport.org www.thebirthcompany.co.uk

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (173) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (171) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)