คุณแม่ตั้งครรภ์เจอสิวบุก สาเหตุเกิดจากอะไร แล้วจะมีวิธีรักษาอย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำ ” คุณแม่ตั้งครรภ์เจอสิวบุก สาเหตุเกิดจากอะไร แล้วจะมีวิธีรักษาอย่างไรดี” ท้องแล้วสิวขึ้นเกิดจากอะไร ทั้งที่ก่อนท้องไม่เคยมีสิว สิวคนท้องเกิดจากอะไรกันแน่ ว่าที่คุณแม่คงกำลังกลุ้มใจว่าพอท้องแล้วสิวขึ้นเยอะ และคงอยากหาสาเหตุและวิธีแก้ไข ไปดูกันว่าท้องแล้วสิวขึ้นทำไงดี

Acne During Pregnancy: Causes, Home Remedies & Treatment

ท้องแล้วสิวขึ้น เกิดจากอะไร

          แม้ว่า ว่าที่คุณแม่จะหน้าใสปิ๊งมาตลอด หรือดูแลผิวดีแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะไม่เป็นสิวตอนท้อง เพราะสิวในคนท้องสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเคส โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนของคุณแม่จะพุ่งสูง ส่งผลให้ต่อมน้ำมันผลิตน้ำมันมากขึ้น น้ำมันเหล่านั้นจะไปอุดตันในรูขุมขน เป็นอาหารของแบคทีเรีย และนำไปสู่การเกิดสิวได้ทั่วร่างกาย นอกจากนี้ถ้าว่าที่คุณแม่เคยรักษาสิวด้วยการกินยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน-โปรเจสติน แล้วหยุดยาในขณะตั้งครรภ์หรือตอนเตรียมตัวตั้งครรภ์ สิวก็อาจจะกลับมาได้เช่นกัน

พอตั้งครรภ์แล้ว ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปมากโดยเฉพาะในเรื่องของฮอร์โมน หลายคนมักจะเริ่มเป็นกังวลกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้น จนทำให้เกิดสิวขึ้นบนใบหน้าตามจุดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคาง หน้าผาก หลัง หรือใบหู ซึ่งหากเป็นช่วงปกติ ก็อาจจะใช้ครีม หรือยาแต้มสิวแต้ม เพื่อลดอาการอักเสบ หรือเพื่อทำให้สิวแห้ง และหายได้ไวขึ้นกว่าเดิม แต่กลับต้องคิดหนักหากเราอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ เพราะยาแต้มสิวหลายชนิด มีสารต้องห้ามสำหรับคนท้อง ทำให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ 

คนท้องสิวขึ้นตอนไหน

          สิวเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อขณะที่ตั้งครรภ์ เพราะระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่เตรียมรับมือในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดเป็นพิเศษ เพราะฮอร์โมนจะพุ่งสูงมาก อีกทั้งเนื่องจากฮอร์โมนตัวนี้มีส่วนช่วยในการเตรียมปากมดลูกสำหรับการคลอด จึงทำให้สิวขึ้นโหดมากในช่วงใกล้คลอดนั่นเอง

5 Skin Problems During and After Pregnancy

วิธีรักษาสิวตอนท้อง

1. เลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ออกฤทธิ์รุนแรง ผลิตภัณฑ์รักษาสิวส่วนใหญ่จะทำให้สิวแห้งด้วยการดึงมอยส์เจอไรเซอร์และความมันออกจากผิว ซึ่งสำหรับคนท้องแล้วจะทำให้สิวอักเสบมากขึ้นและเกราะป้องกันผิวที่อ่อนแอซึ่งเสี่ยงต่อการระคายเคือง

2.ปรับอาหาร ลองเลือกอาหารประเภทธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ ผัก ถั่วและปลา หลีกเลี่ยงน้ำตาลและแป้งขัดขาว จะช่วยให้สิวลดลงได้

3.พยายามอย่าใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวทั่วไป ผลิตภัณฑ์รักษาสิวจะมีกรดซาลิไซลิก เรตินอยด์ และมีสารที่อยู่ในกลุ่มยาปฏิชีวนะ ซึ่งอาจส่งผลต่อเด็กในครรภ์ได้ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรักษาสิว

4.สครับผิวเบา ๆ สิวขณะตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เกิดจากการอุดตันของน้ำมัน ดังนั้นจึงควรขัดเอาน้ำมันส่วนเกินบนผิวออกไปด้วยเม็ดบีดส์อ่อน ๆ จะลดโอกาสเกิดการอุดตันได้ แต่อย่าสครับผิวบริเวณที่เป็นสิวนะ เพราะจะทำให้สิวยิ่งอักเสบ

5.อย่าบีบสิว ไม่ว่าสิวจะเกิดที่ไหนก็ตาม จำไว้เลยว่าอย่าบีบสิว เพราะจะทำให้อักเสบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเกิดแผลเป็น และใช้เวลานานกว่าจะรักษาหาย

6.อย่าล้างหน้าบ่อยเกินไป การล้างหน้าบ่อยเกินไปจะทำให้ต่อมน้ำมันยิ่งทำงานหนักเพื่อเติมเต็มความชุ่มชื้น เนื่องจากผิวถูกชะล้างความชุ่มชื้นตามธรรมชาติออกไป เมื่อผิวยิ่งผลิตน้ำมันมากขึ้น โอกาสเกิดสิวก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น

7. ปรึกษาแพทย์ เมื่อลองมาหลากหลายวิธีแล้ว แต่สิวยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้คุณแม่ไปพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางรักษาสิวเพิ่มเติม

8.เติมวิตามินให้ผิว เพิ่มวิตามินเอ ซี และอี ให้กับผิว เพราะวิตามินต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยในเรื่องของการบำรุงผิว การปรับสภาพผิว และการหมุนเวียนระบบเลือด ภายในเซลล์ผิวได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การทานวิตามินเพิ่มเติมนั้น จะต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 

แม่ท้องใช้ยารักษาสิวได้หรือไม่

แม่ตั้งครรภ์ต้องระวังเรื่องการใช้ยามากกว่าปกติมาก รวมไปถึงยาสำหรับรักษาสิว เพราะยารักษาสิวบางกลุ่มส่งผลข้างเคียงต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นควรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง  ซึ่งกลุ่มยารักษาสิวที่ไม่ควรใช้ระหว่างตั้งครรภ์มีดังนี้

1.เรตินอย (วิตามินเอ) คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของวิตามินเอขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากจะทำให้ร่างกายของคุณมีการสะสมวิตามินเอมากขึ้น

2.ยารักษาสิวหรือยาปฏิชีวนะ Accutane เป็นยารักษาสิวที่อันตรายที่สุด เคยมีการพิสูจน์แล้วว่าก่อให้เกิดการตายคลอด ส่วนยาปฏิชีวนะคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้  หากใช้แต้มสิวอาจจะมีอันตรายน้อยกว่าวิธีรับประทาน

3.ยารักษาสิว Benzoyl peroxide หมอบางคนเชื่อว่าการใช้ยาชนิดนี้ในปริมาณน้อยไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไร แต่หมอบางคนก็แนะนำว่าห้ามใช้จะดีที่สุด ทางที่ดีคุณควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับคำแนะนำเป็นกรณีของคุณ

4.กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) คำแนะนำของการใช้ผลิตที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิกเป็นแบบเดียวกับตัวยา Benzoyl Peroxide หากคุณต้องทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ ครีมทาผิวหรือแม้กระทั่งแชมพูที่มีส่วนผสมของยารักษาสิว คุณควรทำด้วยความระมัดระวัง

บทส่งท้าย

สิวในช่วงตั้งครรภ์ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ดังนั้นขอให้คุณแม่ทำใจให้สบาย ค่อย ๆ รักษาตามอาการ และผิวสวย ๆ จะกลับมาอีกครั้งแน่นอน ทางที่ดีคุณแม่ควรรักษาความสะอาด ดื่มน้ำบ่อย ๆ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักวิธีดูแลผิว เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดการกระตุ้นการเกิดสิวได้แล้ว

เครดิตรูปภาพ www.novela.com.sg www.parents.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (173) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (171) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)