คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้ ดูแลบำรุงอย่างไรไม่ให้ผิวหน้าท้องแตกลาย

บทความนี้ขอแนะนำ “คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้ ดูแลบำรุงอย่างไรไม่ให้ผิวหน้าท้องแตกลาย” ปัญหากังวลใจยามตั้งครรภ์ของคุณแม่คงหนีไม่พ้นรอยแตกลาย เนื่องด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิวหนังถูกยืดออกและขยายตัวทำให้เกิดรอยแตกลายนั่นเอง แต่ถึงอย่างไรก็สามารถดูแลและป้องกันได้ ซึ่งจะมีวิธีไหนบ้างนั้นบทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน

Pregnancy Rash: What is PUPPPs?

คนท้องทำไมท้องถึงแตกลาย

เกิดขึ้นเนื่องจากการขยายของผิวหนังขณะตั้งครรภ์ มักพบได้เมื่อเริ่มเข้าสู่ปลายไตรมาสที่ 2 หรือประมาณเดือนที่ 5-7 ของการตั้งครรภ์ บริเวณที่พบรอยแตกลายได้บ่อย เช่น หน้าท้อง หน้าอก สะโพก ก้น หรือ ต้นขา เนื่องจากเกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของผิวหนังและเนื้อเยื่ออย่างรวดเร็ว ลูกในท้องโตขึ้นทุกวันและทุก ๆ เดือน เส้นใยโปรตีนอีลาสตินและคอลลาเจนบริเวณผิวหนังชั้นในถูกยืดออก ส่งผลให้คอลลาเจนถูกทำลาย ยิ่งช่วงใกล้คลอดน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ผิวหนังขยายตัวตามไม่ทัน ทำให้หน้าท้อง สะโพก ต้นขา เกิดรอยแตกลายตามไปด้วย

สาเหตุที่ท้องแตกลาย

– การตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุน้อย

– เปลี่ยนแปลงฮอร์โมน

– กรรมพันธุ์

– น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น

รอยแตกส่วนใหญ่มีขนาดกว้างประมาณ 1 – 10 เซนติเมตร และยาวได้หลายเซนติเมตร กว่า 90 % ในหญิงตั้งครรภ์จะมีภาวะหน้าท้องลาย ในช่วงไตรมาสสุดท้าย

รอยแตกลายจากการตั้งครรภ์ ท้องแตกลาย ท้องลาย

ในขั้นแรกมักจะปรากฏเป็นริ้วรอยจาง ๆ  สีออกม่วงหรือแดง และจะลึกขึ้นจนมีลักษณะเป็นสีขาว  เมื่อใช้มือสัมผัสลูบจะรู้สึกถึงผิวที่เป็นคลื่นขรุขระ รอยแตกเหล่านั้นมีหลายสี ในช่วงแรกจะเป็นสีชมพู แดง และม่วงตามลำดับ  เรียกว่า รอยแตกลายใหม่  ในลักษณะนี้จะรักษาหายได้เร็วที่สุด แต่หากปล่อยไว้นานวันเข้า รอยแตกเหล่านั้นจะค่อย ๆ กลายเป็นสีขาวซีด  เห็นเป็นร่องเป็นรอยแตกระแหง เรียกว่า รอยแตกลายเก่า แบบนี้จะดูแลรักษาได้ยากกว่า
How Do I Know If I'm Considered a High-Risk Pregnancy? : Rodeo Drive  Women's Health Center: OB/GYNs

วิธีป้องกันท้องลายระหว่างตั้งครรภ์

1.รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการดูแลผิว เช่น มะเขือเทศ  ส้ม  แครอท  โยเกิร์ต ถั่ว  

2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมความพร้อม เพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่นของผิวหนัง

3.พยายามอย่าให้น้ำหนักตัวเพิ่มเร็วจนเกินไป ควรเพิ่มประมาณเดือนละ 2 กิโลกรัมเพื่อเป็นการปรับสภาพหน้าท้องให้ค่อย ๆ ยืดขยายออก

4.หากท้องโตมากควรนอนตะแคง  โดยใช้หมอนรองรับหน้าท้องไว้ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาท้องลายให้ลดลง

5.ห้ามเกาเด็ดขาด เพราะการเกาจะไปกระตุ้นให้คอลลาเจนใต้ผิวหนังเกิดรอยแตกมากขึ้น

6.ไม่ควรอาบน้ำอุ่นที่อุ่นจัดจนเกินไป จะทำให้ผิวหนังแห้ง และขาดความชุ่มชื้นโดยเฉพาะคุณแม่ที่มีผิวแห้งเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

7.ดื่มน้ำให้มาก ๆ การดื่มน้ำให้เพียงพออาจเป็นเรื่องยากสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ แต่รู้ไหมว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากเลยในการป้องกันรอยแตกลาย เพราะจะทำให้ผิวชุ่มชื้นและแข็งแรง เกิดรอยแตกยากขึ้น โดยปกติแล้วคุณแม่ควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว แต่อาจดื่มได้มากขึ้นอีกในรายที่มีเหงื่อออกมาก

8.กินอาหารปรุงสด การเลือกกินอาหารสด ที่ไม่ใช่อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูป ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอาหารมากในการบำรุงร่างกายและผิวหนังให้สุขภาพดีอยู่เสมอ เช่น เนื้อเลี้ยงสัตว์ สัตว์ปีก เนื้ออวัยวะ และไข่ และยึดติดกับผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกในท้องถิ่นเมื่อเป็นไปได้ นอกจากนี้ อย่าลืมกินไขมันที่มีคุณภาพเพียงพอจากแหล่งที่ดีต่อสุขภาพ เช่น เนยจากทุ่งหญ้า น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์

9.เพิ่มเจลาตินในมื้ออาหาร ร่างกายของเราต้องการอาหารบางชนิดเพื่อผลิตคอลลาเจน ที่ทำให้ผิวของเรายืดหยุ่นได้ ไม่เช่นนั้นแล้วผิวหนังจะเหี่ยวย่นและไม่แข็งแรง เจลาตินมีส่วนช่วยให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี เจลาติน โดยเฉพาะเจลาตินจากสัตว์ที่เลี้ยงด้วยหญ้า

10.การทาครีมบำรุงเป็นประจำจะช่วยให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น และยืดหยุ่น เป็นการเตรียมความพร้อมผิวหนังคุณแม่ ให้สามารถรับมือกับการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ได้ดีขึ้น ควรเริ่มให้เร็วที่สุด คือตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์

11.ทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินที่จำเป็น วิตามินซี, วิตามินดี, วิตามินอี, สังกะสี หรือ Zinc, โอเมก้า 3

Itching During Pregnancy: Causes and Treatments | Pampers

ใช้ครีมบำรุงผิวตอนท้อง ป้องกันท้องลาย

1. ทาครีมบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ เพราะการทาครีมบำรุงผิวเป็นประจำจะช่วยให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นและยืดหยุ่น   เป็นการเตรียมความพร้อมผิวหนังของคุณแม่ให้สามารถรับมือกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของลูกน้อยในครรภ์ได้ดีขึ้น โดยควรเริ่มให้เร็วที่สุด คือ ตั้งแต่เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์  ที่สำคัญครีมบำรุงผิวไม่ควรมีส่วนผสมของไวท์เทนนิ่งเพราะอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้

2. คุณแม่ควรเลือกครีมหรือโลชั่นชนิดที่มีเนื้อข้น เพราะสามารถเก็บความชุ่มชื้นได้ดีกว่าและนานกว่าแบบทั่วไป หรือในคนที่ผิวแห้งมากอาจใช้เบบี้ออยล์หรือน้ำมันมะกอกทาผิวได้

3. ช่วงเวลาที่ทาครีมก็สำคัญ เวลาที่ควรทามากที่สุด คือ หลังอาบน้ำ เพราะผิวยังชุ่มชื้นอยู่ การทาครีมในช่วงนี้จะช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นไม่ให้ระเหยออกไปกับสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยแนะนำให้ทาครีมบำรุงผิวทันทีหลังเช็ดตัวหมาด ๆ

4. ควรหมั่นทาต่อเนื่องระหว่างวัน  เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวตลอดเวลา โดยควรเพิ่มปริมาณเนื้อครีมให้มากขึ้นตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นด้วย และแนะนำทาครีมต่อเนื่องจนกระทั่งหลังคลอด  เพราะผิวต้องรับภาระหดตัวเพื่อให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ

บทส่งท้าย

หากคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วท้องใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ลองทำตามบทความนี้ดูก็ได้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผิวหนังแห้งแตก เริ่มทาครีมตั้งแต่ ๆ อายุครรภ์น้อย ๆ เลยก็ได้ ครีมจะได้ช่วยบำรุงและป้องกันได้อย่างดีเยี่ยม

เครดิตรูปภาพ www.parents.com www.rdwhc.com www.pampers.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (173) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (171) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)