ฝึกลูกหยิบอาหารกินเอง กินแบบ BLW คืออะไร ควรฝึกเมื่อไหร่และควรเริ่มยังไงดี

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ฝึกลูกหยิบอาหารกินเอง กินแบบ BLW คืออะไร ควรฝึกเมื่อไหร่และควรเริ่มยังไงดี เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับผู้ปกครองและเด็ก ๆ เมื่อเด็กลูกน้อยถึงวัยที่ต้องเริ่มหัดกินอาหารด้วยตัวเอง ในฐานะพ่อแม่คงต้องการให้ลูก ๆ เรียนรู้วิธีทานอาหารด้วยตัวเองให้ได้โดยเร็วที่สุด แต่ไม่แน่ใจว่าจะเริ่มสอนลูกได้เมื่อไหร่และต้องสอนอย่างไร มาหาคำตอบไปด้วยกัน

BLW คืออะไร

BLW คืออะไร

BLW ย่อมาจาก Baby-Led Weaning หรือก็คือ การฝึกให้ลูกได้หยิบจับอาหารกินด้วยตัวเอง โดยที่คุณแม่ไม่ต้องคอยตามประกบใกล้ชิดเพื่อป้อนอาหารให้ โดยอาหารที่ใช้ฝึกลูกกินข้าวเองตามแบบ BLW ก็คืออาหารที่ดีต่อสุขภาพของทารกและเหมาะสมกับวัยของทารก เช่น ผักต้ม ผลไม้สุก เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไปจนถึงไข่ต้ม ค่อย ๆ เริ่มจากอาหารที่มีเนื้อนิ่มละเอียดก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มอาหารที่มีเนื้อสัมผัสแข็งขึ้น

BLW เริ่มกี่เดือน

การฝึกลูกให้กินอาหารเองด้วยวิธี BLW จะเริ่มฝึกเมื่อเด็กมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เพราะเริ่มที่จะมีฟันน้ำนมขึ้น เริ่มที่จะรู้จักการเคี้ยว การอม การกลืน และสามารถที่จะหยิบจับสิ่งต่าง ๆ เข้าปากได้ สามารถที่จะนั่งตัวตรงอย่างมั่นคงโดยไม่ต้องคอยประคองได้

ฝึกลูกกินข้าวเองด้วยวิธี BLW ยังไงดี

ฝึกลูกกินข้าวเองด้วยวิธี BLW ยังไงดี

1.ฝึกจากการกินนมจากขวด แรกสุดของการฝึก BLW ก็คือการฝึกให้เด็กสามารถใช้มือหยิบ หรือจับสิ่งต่าง ๆ ไว้ได้อย่างมั่นคง ขวดนมถือเป็นด่านแรกที่คุณแม่สามารถจะเริ่มฝึกฝนทารกได้

2.ฝึกให้รู้จักช้อนส้อม เมื่อทารกเริ่มหยิบจับอะไรได้บ้างแล้ว และทารกมีอายุย่างเข้า 10-12 เดือน คุณแม่สามารถเริ่มแนะนำให้เด็กได้รู้จักกับช้อนและส้อม ให้เด็กได้ลองจับ ทำท่าประกอบให้ดูว่าใช้ยังไง แต่ช้อนส้อมนั้น ควรเป็นช้อนส้อมสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเบา รูปทรงเหมาะกับขนาดมือของเด็ก

3.ฝึกตามมื้ออาหาร ปกติแล้วคุณแม่จะต้องให้นมเป็นเวลา แต่ถ้าต้องการจะฝึกให้ลูกกินอาหารเอง คุณแม่สามารถเริ่มฝึกจากมื้ออาหารในแต่ละวันได้เลย โดยเตรียมอาหารสำหรับเด็กเอาไว้ แต่ยังไม่ต้องบังคับให้ลูกหยิบกินเอง 

4.เริ่มจากอาหารที่นุ่มอ่อน ควรเริ่มจากอาหารที่มีสัมผัสนิ่ม อ่อน หรือเนื้อละเอียดเสียก่อน เช่น ผักบด เนื้อสัตว์บด ผลไม้สุก เพื่อฝึกให้เด็กชินกับการเคี้ยว การกลืน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเนื้อสัมผัสแข็ง เช่น แอปเปิ้ล แครอทดิบ แตงกวา

ฝึกลูกกินข้าวเองด้วยวิธี BLW ยังไงดี 2

5.สลับหรือเพิ่มอาหารเนื้อสัมผัสแข็ง เมื่อลูกอายุย่างเข้า 8-9 เดือน เด็กทารกสามารถที่จะกินอาหารที่แข็งขึ้นมาได้บ้างแล้ว คุณแม่สามารถที่จะกินผักต้ม ผลไม้สุก หรือเนื้อสัตว์ที่เป็นชิ้น ๆ ได้บ้างแล้ว คุณแม่ก็สามารถที่จะสลับอาหารที่มีความแข็งขึ้นมาอีกนิดหน่อยเพื่อให้ลูกได้กินอาหารที่หลากหลาย และคุ้นชินกับเนื้อสัมผัสใหม่ ๆ

6.เปลี่ยนเมนูอาหารอยู่เสมอ เมื่อเด็กเริ่มกินอาหารเองได้มากขึ้นแล้ว คุณแม่ควรให้ลูกได้กินอาหารที่หลากหลาย ไม่จำเจ เด็กจะได้รู้จักกับรสสัมผัสของอาหารที่มากขึ้น และได้รับสารอาหารที่หลากหลายและเหมาะสมตามวัย

7.กินอาหารร่วมกัน เมื่อลูกเริ่มชินกับการหยิบจับอาหารเข้าปากเองแล้ว คุณแม่ก็ไม่จำเป็นจะต้องแยกให้ทารกกินข้าวคนเดียวอีกแล้ว สามารถให้เจ้าตัวเล็กร่วมมื้ออาหารพร้อมหน้าพร้อมตากับทุกคนได้ 

BLW มื้อแรก เริ่มด้วยอะไรดี

BLW มื้อแรก เริ่มด้วยอะไรดี

– ผลไม้ที่สุกจนนิ่ม เช่น กล้วยสุก หรือกล้วยบด กีวี่ อะโวคาโด ลูกแพร์ หรือมะม่วงสุก จะนำมาบดหรือจะหั่นให้บาง ๆ ก็ได้เช่นกัน

– ผักต้มหรือนึ่งจนนิ่ม เช่น มันต้ม แครอทต้ม บร็อคโคลี่ต้ม

– เนื้อสัตว์บดชนิดต่าง ๆ เช่น หมู ไก่ ปลา ตับ หรือไข่ต้มหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

– ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ตไขมันเต็มและผ่านการพาสเจอไรซ์ ชีสต่าง ๆ หั่นบาง หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

สิ่งที่แม่ต้องรู้ เมื่อลูก กินแบบ BLW

1.ต้องมีผู้ใหญ่อยู่กับลูกขณะกินอาหารด้วยตลอดเวลา เพื่อดูแลและสังเกตอาการผิดปกติ

2.เรียนรู้วิธีสอนลูกให้ถูกต้อง  การให้ลูกกินอาหารในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น นั่งทานอาหารกับพ่อแม่ภายในเวลาไม่เกิน 45 นาที หากลูกไม่กินหรือกินเหลือ จะต้องเก็บตามชาม ให้เขาได้เรียนรู้ว่าหมดเวลากินแล้ว

3.ทำความเข้าใจเรื่องการให้อาหารแบบนี้กับผู้ใหญ่ในบ้าน ต้องบอกทุกคนว่าต้องให้ลูกหยิบอาหารเข้าปากเอง ต้องไม่ใช้ช้อนป้อนหรือเดินป้อนอาหารลูก ไม่ต้องใช้มือดัน หรือเชียร์กดดันให้ลูกกิน เพราะกินแบบนี้จะให้ลูกกำหนดและตัดสินใจกินเอง

4.ลูกอาจมีอาการขย้อนอาหารออกมาข้างหน้าได้บ้าง ซึ่งเป็นปกติไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นกลไกของร่างกายเพื่อไม่ให้อะไรหลุดลงไปติดคออุดทางเดินหายใจ  ซึ่งลูกเรียนรู้หลังการขย้อนว่าจะต้องเคี้ยวให้ละเอียดอีกครั้งแล้วค่อยกลืนใหม่ บางคนอาจจะอาเจียนออกมาได้  แต่เมื่อเวลาผ่านไปลูกจะเริ่มเรียนรู้ที่การกินได้ดีขึ้น

 เช่น ไม่กินคำใหญ่ต้องเคี้ยวอาหารเสมอ

5.กรณีเกิดเหตุการณ์อาหารติดคอ หรือมีอะไรไปขวางทางเดินหายใจ  ลูกจะมีอาการไอไม่ออก หน้าซีดหน้าเขียว ดูทุรนทุราย และมีสีหน้าเปลี่ยน เมื่อเห็นเช่นนี้ต้องรีบช่วยเหลือลูกทันทีด้วยวิธีการกดนิ้วที่หน้าอก หรือจับลูกพาดขาแล้วตบหลังเบาๆ โดยทุกบ้านต้องศึกษาวิธีการช่วยเหลือนี้อย่างถูกต้องไว้ เพื่อนำมาใช้ช่วยชีวิตทุกคนได้ในอนาคต

บทส่งท้าย

ให้ลูกสามารถกินอาหารเองได้ แยกอาหารได้ด้วยตัวเองจากความคุ้นชิน นอกจากนี้ตัวผู้ปกครองเองก็สามารถควบคุมปริมาณและสารอาหารที่เหมาะสมกับตัวเด็กได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกแบบ BLW ก็มีข้อจำกัดและข้อควรระวังตามที่ได้กล่าวไปในบทความนี้ ผู้ปกครองที่อยากเลี้ยงลูกแบบ BLW จึงควรใส่ใจในจดนี้ให้ดี เพื่อพัฒนาการที่ดี และปลอดภัยในตัวเด็ก

เครดิตรูปภาพ www.pampers.com mumsgrapevine.com.au acemind.net www.strong4life.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (190) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (183) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)