ไขข้อสงสัย คุณแม่ให้นมลูกบริจาคเลือดได้ไหม

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ไขข้อสงสัย คุณแม่ให้นมลูกบริจาคเลือดได้ไหม ช่วงหลังคลอดที่กำลังให้นมลูกน้อย คุณแม่ก็อาจเกิดความสงสัยว่า ให้นมลูก บริจาคเลือดได้ไหม จะมีผลกระทบต่อลูกน้อยหรือเปล่า มาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กัน 

การบริจาคโลหิต

“การบริจาคโลหิต” คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโดยสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เมื่อบริจาคโลหิตออกไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน ทำให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม หากไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัวเพราะหมดอายุ และในการบริจาคเลือดนั้นก็ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ เพราะทางสภากาชาดได้มีการกำหนดคุณสมบัติ พร้อมวิธีการ

เตรียมตัวก่อนการบริจาคไว้ ถ้าคุณสมบัติไม่ครบและเตรียมตัวมาไม่พร้อมก็ไม่สามารถบริจาคได้

ให้นมลูก บริจาคเลือดได้ไหม

สำหรับข้อข้องใจของคุณแม่หลังคลอดที่กำลังให้นมลูกน้อยที่อยากรู้ว่า ให้นมลูก บริจาคเลือดได้ไหม ต้องอธิบายว่าตามหลักการรับบริจาคโลหิตของสภากาชาดไทยนั้น คุณแม่ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ “ต้องงดบริจาคเลือดชั่วคราว”  เนื่องจากเลือดของคุณแม่นั้นมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก การบริจาคโลหิตระหว่างการตั้งครรภ์อาจทำให้มีภาวะซีด และอาจเสี่ยงต่อการแท้งได้

ส่วนในกรณีที่อยู่ในระยะให้นม ก็ต้องงดบริจาคเลือดเช่นกัน เพราะการผลิตน้ำนมของคุณแม่จำเป็นต้องใช้สารอาหารที่จำเป็นจำนวนมากจากเลือดนั่นเอง นอกจากนี้คุณแม่ให้นมอาจต้องตื่นบ่อยครั้งเพื่อให้นมลูกน้อย จนทำให้มีภาวะการนอนหลับไม่เพียงพอและอ่อนเพลีย ดังนั้น แนะนำว่าควรบริจาคโลหิตหลังจากลูกน้อยหย่านมแล้วจะปลอดภัยที่สุด

หากมีความจำเป็นต้องบริจาคเลือดต้องระวังอะไรบ้าง

กรณีที่คุณแม่ให้นมมีความจำเป็นที่จะต้องบริจาคเลือด อาจสามารถทำได้ ภายใต้การปรึกษาและควบคุมดูแลของแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถบริจาคได้อย่างปลอดภัย แม้โดยทั่วไปการบริจาคเลือด 1 ครั้ง คุณแม่จะสูญเสียเลือดไปประมาณ 350-450 มิลลิลิตร ซึ่งเป็นปริมาณที่ร่างกายสามารถสร้างทดแทนได้ภายในระยะเวลาอันสั้น และอาจไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำนม แต่ก็ต้องแน่ใจว่าสุขภาพของแม่แข็งแรงพอที่จะบริจาคเลือดได้ มีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ และร่างกายพร้อมที่จะฟื้นตัวได้เร็วหลังการบริจาคเลือด

ที่สำคัญคือ หลังจากบริจาคเลือด คุณแม่ควรสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการผิดปกติ เช่น เวียนหัว หน้ามืด หรืออ่อนเพลีย ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

ข้อดีของ การบริจาคเลือด

ก่อนจะไปตอบคำถามว่า ให้นมลูก บริจาคเลือดได้ไหม ขอพาคุณแม่ให้นมมาดูข้อดีของการบริจาคเลือด ที่ไม่ใช่แค่ความอิ่มอกอิ่มใจเมื่อได้เป็นผู้ให้ ได้ช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ที่ต้องการเลือดเพื่อรักษาเท่านั้น แต่การบริจาคเลือดยังมีประโยชน์อื่น ๆ แก่ “ผู้ให้” อีกด้วย

1.ร่างกายแข็งแรง

การบริจาคเลือดเป็นประจำช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่อยู่เสมอ ซึ่งทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นการบริจาคเลือดยังเป็นการรักษาระดับธาตุเหล็ก ไม่ทำให้เราอยู่ในภาวะ “เหล็กเกิน” ที่ทำให้เกิดการสะสมธาตุเหล็กตามอวัยวะต่าง ๆ มากเกินไปเช่น ตับ หรือหัวใจ จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเช่น โรคตับ โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน

2.ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

เคยมีผลการศึกษาพบว่าผู้บริจาคเลือดมีแนวโน้มจะอายุยืน ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ มากกว่าผู้ที่ไม่บริจาคเลือดนะ ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งคอหอย

3.ผิวพรรณสดใส

เลือดเป็นตัวนำพาออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ มาสู่ผิว ซึ่งการกระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดด้วยการบริจาคเลือด จะช่วยกระตุ้นให้ระบบต่าง ๆ และการไหลเวียนของโลหิตทำงานได้ดียิ่งขึ้น จึงส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผิว ช่วยให้ดูเปล่งปลั่ง และมีสุขภาพดี

4.ดีต่อสุขภาพจิต

การบริจาคเลือดจะก่อเกิดความรู้สึกที่ดีจากการได้เป็นผู้ให้ ได้ช่วยชีวิตผู้อื่น มีความสุขใจ อิ่มเอมใจ จะส่งผลต่อจิตใจทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีค่าที่ได้ทำสิ่งดี ๆ เพื่อสังคม ส่งผลให้สุขภาพจิตดีตามไปด้วย และลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้

5.เป็นการตรวจสุขภาพเบื้องต้นไปในตัว

ก่อนการบริจาคเลือด เราจะได้รับการตรวจเลือดในเบื้องต้น ซึ่งอาจทำให้เราได้พบปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่ตรวจเจอได้ผ่านการตรวจเลือด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี โรคซิฟิลิส รวมถึงโรคเอดส์ ซึ่งบางครั้งเราอาจไม่รู้ตัวมาก่อน รวมถึงเราจะได้รับการตรวจความดันโลหิต ซึ่งจะช่วยให้เราทราบว่าเรานั้นเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงหรือ ภาวะหลอดเลือดแดงตีบอยู่หรือไม่อีกด้วย

6.ช่วยลดความเสี่ยงภาวะหลอดเลือดแดงตีบ

การบริจาคเลือดมีส่วนช่วยในการลดความหนืดของเลือด ซึ่งช่วยให้เราห่างไกลจากภาวะหลอดเลือดแดงตีบ เพราะถ้าความหนืดของเลือดมากเกินไปจะทำให้เลือดปั๊มสู่หัวใจยากขึ้น จนอาจทำให้เกิด อาการความดันโลหิตสูง และเกิดภาวะหลอดเลือดแดงตีบได้

บทส่งท้าย

อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยสูงสุดต่อตัวคุณแม่และลูกน้อย อยากให้อดใจรอสักนิด จนกระทั่งผ่านช่วง “หย่านม” ไปก่อน คุณแม่ค่อยบริจาคเลือดได้ เพราะแม้การบริจาคเลือดจะเป็นการแบ่งปันที่ยิ่งใหญ่ ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่ในร่างกายคุณแม่ แต่ก็อยากให้โฟกัสความสำคัญที่ลูกน้อยและตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก

เครดิตรูปภาพ parenting.firstcry.com www.thehealthy.com punchng.com healthnews.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (166) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (170) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)