คุณแม่หลังคลอดน้ำนมน้อย จะกู้น้ำนมยังไงได้บ้าง 

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง คุณแม่หลังคลอดน้ำนมน้อย จะกู้น้ำนมยังไงได้บ้าง ปัญหาน้ำนมน้อยอาจทำให้คุณแม่มือใหม่เป็นกังวล แต่รู้หรือไม่ว่าปัญหานี้พบได้น้อยมาก เพราะร่างกายของผู้หญิงสามารถผลิตน้ำนมออกมาได้มากกว่าปริมาณที่ทารกต้องการ แต่อาจมีปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลให้คุณแม่หลายคนมีน้ำนมน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก ซึ่งสาเหตุเกิดจากอะไร บทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน

น้ำนมแม่เกิดขึ้นได้อย่างไร 

กระบวนการการผลิตน้ำนมนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 โดยร่างกายของคุณแม่จะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า โปรแลคติน ไปกระตุ้นสมองส่วนหน้า ทำให้เกิดกระบวนการผลิตน้ำนม แต่ยังไม่หลั่งออกมาเพราะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างจากเด็กทารกคอยยับยั้งไม่ให้เกิดการหลั่งอยู่

น้ำนมหด นมน้อย นมไม่พอ เกิดจากอะไร

1.คุณแม่เริ่มต้นให้ลูกดูดนมช้า  การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมให้ประสบความสำเร็จ คุณแม่ต้องให้ลูกดูดนม 30 นาที หรือมากกว่านั้น พอคุณแม่ให้ลูกดูดบ่อย ๆ จะทำให้กระบวนการกระตุ้นการสร้างน้ำนมมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณแม่ก็จะมีน้ำนมให้ลูกกินอย่างเพียงพอ

2.ท่าอุ้มให้นมแม่ ท่าอุ้มของคุณแม่ส่งผลต่อการดูดนมของทารกด้วยเช่นกัน หากคุณแม่อุ้มลูกในท่าที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ลูกน้อยไม่สามารถดูดนมได้อย่างเต็มที่ น้ำนมจึงถูกกระตุ้นน้อยทำให้น้ำนมแม่ไหลน้อยตามมา

3.ลูกดูดนมผิดวิธี ปกติแล้วทารกจะดูดนมแม่โดยการอมจากหัวนมจนลึกเข้าไปจนถึงลานนม เมื่อลูกไม่สามารถดูดนมได้ลึกตามที่ควรจะเป็น นมจึงไหลออกมาได้น้อย

4.ปัญหาหัวนมของคุณแม่ บางครั้งคุณแม่อาจมีหัวนมแบนหรือหัวนมบอดทำให้ลูกไม่สามารถดูดนมได้อย่างเต็มที่ เมื่อน้ำนมไม่ถูกกระตุ้นอย่างเหมาะสม น้ำนมแม่จึงค่อย ๆ หดลงไปเรื่อย ๆ

5.ลูกดูดนมไม่บ่อย หัวใจหลักของการกระตุ้นน้ำนมของคุณแม่หลังคลอด คือ การให้ลูกดูดนมแม่บ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 8 ครั้ง หรือตามที่ลูกต้องการ หากคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยเริ่มร้องไห้งอแงเพราะอยากกินนมคุณแม่จะต้องให้ลูกดื่มนมจากเต้าทันที

6.ทานน้ำไม่เพียงพอ น้ำเปล่าเป็นตัวช่วยในการเพิ่มน้ำนมของคุณแม่หลังคลอดได้เป็นอย่างดี เพียงแค่คุณแม่ดื่มน้ำให้ได้วันละประมาณ 2-3 ลิตร ก็จะช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ได้

7.พักผ่อนน้อย ในช่วงแรกหลังคลอดคุณแม่อาจมีการนอนน้อย นอนไม่พอ เนื่องจากลูกมักตื่นบ่อยกลางดึกและร้องไห้งอแงไม่ทราบสาเหตุ ทำให้คุณแม่พักผ่อนได้น้อย ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตน้ำนมได้

8.ตกรอบปั๊มนมเป็นประจำ คุณแม่หลายคนจำเป็นจะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้ไม่สามารถให้นมลูกจากเต้าได้ ซึ่งการปั๊มนมในช่วงเวลาทำงานอาจทำให้คุณแม่ไม่สามารถปั๊มได้ตามรอบ เมื่อคุณแม่ตกรอบปั๊มนมบ่อย ๆ ก็จะทำให้น้ำนมถูกกระตุ้นน้อยลง และน้ำนมก็จะค่อยเริ่มหายไป

9.อาการเจ็บป่วย ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากโรคบางโรคอาจส่งผลต่อน้ำนมของคุณแม่ เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ รวมถึงการใช้ยาบางประเภทด้วย

คุณแม่จะมีวิธีกู้น้ำนมได้อย่างไรบ้าง

แม่ให้นมบุตรที่มีปัญหาน้ำนมหด น้ำนมน้อย สามารถดูแลตัวเองและกู้น้ำนมได้ ดังนี้

1.ให้ทารกได้กินนมแม่เร็วที่สุด หลังคลอดควรให้ทารกได้ดื่มนมทันที ไม่ควรปล่อยไว้นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เพราะยิ่งรอนาน ยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำนมน้อย และทารกก็จะต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นชินกับนมแม่นานกว่าปกติ

2.ให้นมลูกบ่อย ๆ ในหนึ่งวันแม่ควรให้นมบุตร 8-12 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง

3.ดูให้แน่ใจว่าทารกกัดหรือดูดหัวนมถูกจุด เพราะถ้าทารกกัดไม่ถูกหัวนม อาจทำให้ทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ และอาจจะมีผลต่อหัวนมแม่ที่อาจจะเกิดการบาดเจ็บที่หัวนมจนน้ำนมไม่ไหลหรือไหลน้อย

4.เวลาให้นมควรให้ทั้งสองข้าง เพื่อให้เกิดการสมดุลของน้ำนมในรอยต่อ ๆ ไป เพราะการให้นมทารกแค่เพียงเต้าเดียวเป็นประจำ เสี่ยงที่จะทำให้น้ำนมไหลน้อย

5.หากลืมให้นมลูก ควรปั๊มนมเก็บไว้ทันทีที่นึกขึ้นได้ เพื่อให้เกิดการสมดุลของน้ำนมในรอบต่อ ๆ ไป และเพื่อไม่ให้มีน้ำนมไหลเกินออกมาเมื่อมีน้ำนมเต็มเต้า

6.ไม่ควรกินยาสุ่มสี่สุ่มห้า แม่ให้นมบุตรควรกินยาตามที่แพทย์เห็นชอบเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์หรือเภสัชกร

7.ต้องไม่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ สารนิโคตินในบุหรี่ และแอลกอฮอล์มีผลทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้

8.ทานอาหารที่มีประโยชน์ คุณแม่ต้องใส่ใจกับอาหารการกินให้มากยิ่งขึ้น เพราะครั้งนี้อาหารที่กินเข้าไปจะถูกส่งต่อสารอาหารผ่านทางน้ำนม หากกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทารกก็อาจจะได้รับผลข้างเคียงทางสุขภาพด้วย 

9.มีวินัยในการปั๊มนม ปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอตามตารางการปั๊มนม เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ดีตามปกติที่ควรจะเป็น

10.เลือกใช้เครื่องปั๊มนมแบบปั๊มคู่ การปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มแบบปั๊มคู่จะทำให้ได้ปริมาณน้ำนมมากกว่า ช่วยประหยัดเวลาในการปั๊มนม และช่วยกระตุ้นน้ำนมด้วย

11.ใช้ยาช่วย คุณแม่สามารถใช้ยาแลคโตกัส เป็นตัวช่วยในการเพิ่มปริมาณน้ำนมร่วมกับการกระตุ้นเต้านมได้ และให้หยุดใช้ยาเมื่อน้ำนมมีมากขึ้น และควรสั่งจ่ายโดยแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเองเด็ดขาด

12.ลดความถี่การปั๊มลงเมื่อน้ำนมมาแล้ว คุณแม่อาจใช้เวลาในการกู้น้ำนมอยู่ประมาณหนึ่งเดือนปริมาณน้ำนมจะค่อย ๆ กลับมาเท่าเดิม จนในที่สุดสามารถมีน้ำนมให้ลูกกินอย่างเพียงพอ เมื่อคุณแม่กู้จนได้ปริมาณน้ำนมตามที่ต้องการแล้ว ก็สามารถลดจำนวนการปั๊มลงได้

บทส่งท้าย

การให้ลูกดื่มน้ำนมแม่จะทำให้ลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และทำให้ลูกสัมผัสได้ถึงความรักและความอบอุ่นจากแม่ ดังนั้นคุณแม่หลังคลอดจะต้องดูและสุขภาพตัวเอง ทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างมาก และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะสามารถให้ลูกน้อยได้ดื่มนมแม่ให้ได้มากที่สุด

เครดิตรูปภาพ www.writermomforhire.com www.1naturalway.com www.news-medical.net www.breastmilkcounts.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (164) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (165) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)