บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ลูกเล่นมือถือก่อนวัย อาจจะส่งผลเสียระยะยาว คุณพ่อแม่คุณต้องระวัง สมัยนี้โทรศัพท์มือถือ เป็นอุปกรณ์จำเป็นที่ทุกคนต้องพกติดตัวอยู่ตลอดเวลา แม้จะเป็นเด็กอายุไม่กี่ขวบ ก็สามารถใช้โทรศัพท์มือถือเป็นแล้ว ทำให้เด็กสมัยใหม่ไม่ได้เล่นเหมือนกับเด็กยุคก่อนๆ แต่หันมาเล่นเกมและเสพความบันเทิงผ่านทางมือถือแทน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้เตือนเอาไว้ว่า อาจจะส่งผลเสียในระยะยาวอาจจะไปถึงสุขภาพจิตของลูกได้เลย ซึ่งจะจริงไหม ไปหาคำตอบกัน
ควรให้ลูกดูโทรศัพท์ตอนไหน
ซึ่งอายุที่เหมาะสมสำหรับการให้ลูกใช้โทรศัพท์จะแตกต่างกันตามช่วงวัย เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการและจินตนาการของเด็ก สำหรับเด็กที่อายุ 3-6 ปี คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือได้ไม่เกิน 30 นาที ส่วนเด็กที่อายุ 6 ขวบขึ้นไป ถือเป็นวัยที่เริ่มมีพัฒนาการและสามารถมีวิจารณญาณในการรับรู้ได้ แต่ถ้าปล่อยให้ลูกเล่นมือถือมากเกินไป ก็อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอ สายตาเสีย เกิดโรคอ้วน และส่งผลต่อสุขภาพจิตตามมา เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดการใช้โทรศัพท์มือถือครั้งละไม่เกิน 1 ชั่วโมง
อาการที่บ่งบอกว่าลูกกำลังติดมือถือมากเกินไป
– สนใจหรือเลิกทำกิจกรรมที่เคยชอบ
– เลยหน้าที่ความรับผิดชอบ
– ควบคุมเวลาเล่นมือถือของตนเองไม่ได้
– หงุดหงิด โมโหรุนแรง
เด็กเล่นมือถือกระทบสุขภาพ
การวิจัยของแพทย์พบว่า เด็กเล่นโทรศัพท์มือถือนาน ๆ จะมีผลต่อพัฒนาการของสมอง ทำให้สมาธิสั้น เรียนรู้ช้า และยังส่งผลกระทบต่อร่างกายในอีกหลากหลายด้าน หากพ่อแม่ให้มือถือเลี้ยงลูกจะส่งผลต่อพัฒนาการ ขัดขวางจินตนาการ เด็กจะไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การได้รับรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังที่กล่าวมาแล้ว ยังส่งผลต่อระบบการทำงานของสมองบางส่วนเสียหาย
หากปล่อยทารกหรือเด็กเล็ก ๆ อยู่กับจอจะส่งผลต่อร่างกายและสมอง ตัวอย่างเช่น
1.ขาดพัฒนาการด้านการสื่อสาร แท็บเล็ตและทีวี เป็นการสื่อสารทางเดียว ทำให้เด็กขาดพัฒนาการด้านการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงส่งผลให้เด็กพูดช้าและพูดไม่ชัด
2.เด็กจ้องมองจอภาพเป็นเวลานานมีส่วนทำลายสมอง ทำให้ประสิทธิภาพเรื่องความจำถดถอยลง เด็กจะไอคิวต่ำไม่ได้มาตรฐาน
3.ความสามารถในการสื่อสารจะลดลง หรือพัฒนาการทางสมองช้า เด็กที่ไม่เล่นแท็บเล็ต ไม่ดูทีวี เด็กเหล่านี้จะชอบสังเกตสิ่งรอบข้างและทำกิจกรรมกับครอบครัวดังนั้นจึงมีไอคิวสูงมากกว่าเด็กที่ชอบอยู่กับหน้าจอ
4.ร่างกายไม่แข็งแรง เด็กจะเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว เหนื่อยง่าย เพราะนั่งนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ขาดการเคลื่อนไหวออกกำลังกายตามที่ควรจะเป็น หรืออีกแบบคือจะกลายเป็นเด็กขี้เกียจ
5.ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เพราะเด็กแยกแยะโลกของอินเตอร์เน็ต กับความจริงไม่ได้ เด็กมักจะหงุดหงิดง่าย ใจร้อน รอคอยไม่เป็น
6.ขาดทักษะการสื่อสารและเข้าสังคม เหมือนที่ใคร ๆ พูดว่าสังคมก้มหน้า แต่ในเด็กจะเป็นมากกว่าเพราะเด็กไม่รู้ว่าอะไรเหมาะสม พ่อกับแม่ต้องคอยควบคุม หากปล่อยให้อยู่หน้าจอจนเคยชินแบบนี้ เด็กจะไม่มีสังคมไม่คุยกับใครเลย
7.ขาดสมาธิ เด็กจะไม่มีใจจดจ่อกับกิจกรรมอะไรที่ต้องใช้สมาธิ หรือสมองในการแก้ปัญหา เพราะเคยเจอแต่หน้าจอที่แสดงสีสันสดใส เคลื่อนไหวได้รวดเร็วทันใจ อาจจะกลายเป็นเด็กสมาธิสั้นไปเลยก็ได้
8.ด้านพฤติกรรม จะก้าวร้าว ซน สมาธิสั้น มีพฤติกรรมออทิสติก คือดื้อ ต่อต้าน โลกส่วนตัวสูง สื่อสารกับคนอื่นน้อย แม้ดูเหมือนขณะใช้สื่อ เด็กจะนิ่ง แต่เมื่อขออุปกรณ์คืน เด็กจะไม่ยอม เกิดการ ดื้อรั้น ทั้งนี้พบว่าถ้าลดการใช้สื่อผ่านหน้าจอของเด็กลง พฤติกรรมเด็กก็จะกลับมาปกติได้
9.สายตาล้าหรืออักเสบจากการเพ่งดูจอสมาร์ทโฟนต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
ลูกติดโทรศัพท์ ทำไงดี
การแก้ปัญหาลูกติดโทรศัพท์อาจเป็นเรื่องที่ยาก เมื่อคุณพ่อคุณแม่เองต้องใช้โทรศัพท์มือถืออยู่แล้ว และเพื่อน ๆ ของลูกเองก็มีโทรศัพท์เหมือนกัน สิ่งสำคัญที่ทำได้คือการพูดคุยกับลูกและจำกัดเวลาในการโทรศัพท์มือถือ เพื่อป้องกันผลเสียที่อาจกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตเมื่อเขาโตขึ้น ซึ่งวิธีในการแก้ปัญหาลูกติดหน้าจอนั้น มีดังนี้
1.กำหนดเวลาในการเล่นโทรศัพท์มือถือตามแต่ละช่วงวัยที่เราได้กล่าวไปข้างต้น โดยอาจให้ลูกเล่นหลังจากทำกิจกรรมที่จำเป็นแล้ว เช่น การทำการบ้าน การทำงานบ้าน หรือการรับประทานอาหาร เป็นต้น
2.มองหากิจกรรมอื่น ๆ ให้ลูกได้ทำ เช่น การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย การพาลูกออกไปเล่นที่สนามเด็กเล่น หรือพาไปพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อให้ลูกได้ออกไปเรียนรู้นอกบ้าน และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับชีวิต
3.เปิดโอกาสให้ลูกได้เข้าสังคม โดยอาจพาไปหาญาติ เช่น ลุงป้า ปู่ย่า ตายาย หรือพาไปเที่ยวกับเพื่อนที่โรงเรียน เช่น นัดเพื่อนลูกออกไปเที่ยวศูนย์วิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้รู้จักพูดคุยและเข้าสังคม
4.จำกัดเนื้อหาของการเล่นโทรศัพท์ลูก โดยอาจให้ลูกดูเนื้อหาที่มีประโยชน์ การ์ตูนที่มีความรู้หรือเหมาะสม เพื่อช่วยให้ลูกไม่ดูสิ่งที่ไร้สาระมากเกินไป พร้อมช่วยเสริมความรู้ให้แก่เด็ก ๆ ด้วย
บทส่งท้าย
สุขภาพร่างกายและสมองของลูกในช่วง 5 ปีแรกถือเป็นรากฐานสำคัญของชีวิต อย่าปล่อยให้มือถือเลี้ยงลูก พ่อแม่ควรทำหน้าที่ดูแลและใช้เวลาร่วมกันทั้งครอบครัว พาลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน หมั่นเล่นกับลูกเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในบ้าน จะช่วยให้ทารกเติบโตอย่างแข็งแรงและมีพัฒนาการที่สมวัย
เครดิตรูปภาพ