ลูกกินยากรับมืออย่างไรดี ปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องพบเจอ

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกกินยากรับมืออย่างไรดี ปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องพบเจอ” หลายบ้านต้องพบเจอกับปัญหานี้อย่างแน่นอน ลูกทานยาก เบื่ออาหาร ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลายคนเองก็หาวิธีสารพัดมารับมือ เพื่อต้องการฝึกให้ลูกน้อยทานอาหารได้ปกติเมื่อถึงวัย แต่บางครั้งเด็ก ๆ กลับไม่ยอมทานอาหาร ทานยาก เลือกทาน ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ปวดหัวอย่างมาก แต่เราจะรับมือกับปัญหานี้อย่างไรดีไปดูกันเลย

Diminuição do apetite em crianças: como lidar com isso?

ทำไมลูกถึงกินยาก

สาเหตุนั้นอาจจะเริ่มมากจาก เมื่อเด็ก ๆ ค่อยโตขึ้น อาหารหลักเขาควรทานมากที่สุดก็จะเป็นพวกข้าว ซึ่งเป็นอาหารหยาบ เด็ก ๆ อาจจะยังไม่คุ้นชิน และยังไม่สามารถเคี้ยวได้แบบผู้ใหญ่ เขาจึงเลือกที่จะปฏิเสธ ฉะนั้นในช่วงวัย 1 ขวบ เป็นต้นไป คุณแม่ควรบดอาหารให้ละเอียดหรือพอให้ลูกทานได้บ้าง เขาจะได้ฝึกการเคี้ยว แล้วค่อย ๆ พัฒนาอาหารให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามวัยต่อไป

ผลกระทบต่อร่างกายเมื่อลูกทานยาก

การที่ลูกทานยากนั้น ส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายด้านด้วยเช่นกัน

1.ด้านการเรียนรู้

การเรียนรู้ของเด็กจะอยู่ในระดับที่กว่าเกณฑ์ต่ำ ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงเรียนรู้ได้ช้ากว่าเด็กทั่วไป

2.ด้านการเจริญเติบโต

เมื่อทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ การเจริญเติบโตทางด้านร่างกายก็อาจจะพัฒนาได้ช้า เพราะไม่ได้สารอาหารที่เหมาะสม และจำเป็นต่อร่างกายเท่าที่ควร

3.ด้านสุขภาพ

การเลือกทาน ทานยาก ก็จะไม่ได้รับสารอาหารมีประโยชน์ ก็อาจจะส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่ายการ อาจจะทำให้ป่วยได้ง่ายอีกด้วย

4.ด้านโภชนาการ

อาจจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ตามวัย ตามอายุ และตามสรีระของร่างกาย คุณพ่อคุณแม่ควรจัดอาหารแต่ละมื้อ ให้มีทั้งผัก ผลไม้ เนื้อเสัตว์ ที่เหมาะสมมากกว่าควบคู่ไปด้วย
Pra ficar fortinho! Os nutrientes na alimentação infantil

วิธีรับมือเมื่อลูกทานยาก

1.จัดอาหารให้ตรงตามวัย

ศึกษาว่าเด็กตามวัยของลูกน้อย ควรทานอาหารประเภทใดบ้าง ที่จะช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายเจริญเติบโต และแข็งแรงตามวัย ค่อย ๆ ฝึกให้เขาทาน ไม่ควรยัดเหยียดมากเกินไป

2.จัดเวลาให้ลูกทานตามเวลา

หากจัดตารางเวลาให้ลูกได้ทานอาหารให้ตรงตามเวลา ไม่ทานเรื่อยเปื่อย ก็จะเป็นการฝึกวินัยไปในตัว ซึ่งหากทานอาหารตามเวลา วันละ 3 มื้อ หากเขาไม่ยอมทานในมื้อนั้น ๆ เขาก็จะเริ่มหิว และทำให้เขาเริ่มปรับตัวและเริ่มรู้ด้วยตัวเองว่าหากเขาไม่ยอมทาน ก็จะหิวซึ่งผลจะส่งผลเสียต่อตัวเขาเอง

3.ไม่ควรให้ทานนมมากเกินไป

ช่วงอายุ 1 ขวบ ขึ้นไป ควรจะฝึกให้ลูกนั้นทานอาหารจำพวกข้าว หรืออาหารหยาบมากขึ้น ซึ่งในแต่ละวันควรให้เขาทานนมไม่เกิน 16 ออนซ์ต่อวัน หรือเท่ากับนม 8 ออนซ์ 2 มื้อ เพื่อที่เขาจะได้หันมาทานข้าวได้เยอะมากขึ้น

4.หาภาชนะที่ดึงดูด

ภาชนะที่สวยงาม หรือมีรูปลักษณ์ที่แปลกตา จะเป็นการดึงดูดให้ลูกน้อยเริ่มสนใจ และหันมาทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งวิธีนี้อาจจะช่วยให้เขาเริ่มหันมาทานข้าวได้บ้างก็ยังดี

5.จัดอาหารให้ดูน่ารับประทาน

การจัดจานอาหารให้ดูน่ารับประทาน ก็เป็นอีกสิ่งที่เป็นแรงดึงดูดที่ทำลูกเริ่มทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องลูกสังเกตว่าเขาชอบทานอาหารประเภทไหน แล้วนำมาคิดเปลี่ยนแปลงเมนู ให้หน้าตาดูไม่ซ้ำกัน ก็อาจจะช่วยได้

6.ให้เขาทานอาหารด้วยตัวเอง

ฝึกให้เขาช่วยเหลือตัวเองบ้าง ด้วยการจัดวางอาหารหรือภาชนะไว้ใกล้มือพอที่เขาจะสามารถหยิบทานได้เอง แม้ว่ามันหกเลอะเถอะ ก็ควรปล่อย เพราะการที่เขาได้ลองทานอาหารด้วยตัวเอง เขานั้นอาจจะรู้สึกดีและสนุกกับทานอาหารมากขึ้นก็ได้

Conheças as vitaminas que as crianças precisam para crescer com saúde!

7.กำหนดระยะเวลาในการทานอาหาร

เมื่อเราจัดตารางให้เขาได้ทานอาหารตามช่วงเวลาแล้ว ควรกำหนดระยะเวลาในการทานแต่ละมื้อด้วยว่า ควรทานไม่เกินเวลาเท่าไหร่ อาจจะกำหนดเวลาการทานไม่เกิน 30 นาที เพื่อเป็นการฝึกวินัยให้เขา เขาจะได้ตั้งใจทานอาหารไม่ติดเล่น

8.หากลูกเล่นอาหารก็เก็บทันที

เมื่อเราเปิดโอกาสให้ลูกได้ทานอาหารเอง แล้วเขานั้นหยิบอาหารมาเล่นหรือขว้างปาอาหาร หรือเกินระยะเวลาทานอาหารที่กำหนดไว้ควรเก็บอาหารทันที เพื่อเป็นการฝึกเขาไปในตัวว่า หากลูกมัวแต่เล่นไม่ยอมทาน ก่อนจะถึงมื้อต่อไปนั้นเขาจะต้องทนหิว และงดให้เขาทานขนมไปด้วย 

9.ตักอาหารให้เขาทีละน้อย ๆ 

ในมื้ออาหารควรตักอาหารให้เขาไม่เยอะจนเกินไป เพราะถ้าเขากินไม่หมดแล้วคุณพ่อคุณแม่บังคับให้ทานให้หมด ก็จะกลายเป็นการทำให้เขาไม่อยากทานอาหารไปเลยก็ได้ ควรตักให้ทีละน้อย ๆ หากไม่อิ่มก็ให้ตักเพิ่ม หรือให้ทานในปริมาณที่พอเหมาะ

10. สร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลาย

ให้ช่วงเวลาการทานมื้ออาหารเป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลาย มีความสุขต่อลูก ไม่กดดันตึงเครียดกับเขามากเกินไป

11.งดทานของหวานระหว่างมื้อ

งดขนมถุง ลูกอม น้ำอัดลม น้ำหวาน ช็อกโกแลต เพราะขนมของหวานยิ่งทานมาก ก็จะทำให้ลูกไม่ยอมทานข้าว เพราะทานขนมเยอะ ก็จะอิ่มจนไม่อยากจะทานข้าว ฉะนั้นทางที่ดีพยายามหลีกเลี่ยงหรืองด ขนมถุง หรือของหวานไปได้เลยยิ่งดี

บทส่งท้าย

ปัญหาที่ลูกทานยาก เป็นปัญหาที่หลายครอบครัวพบเจอ ซึ่งวิธีการรับมือก็อาจจะแตกต่างกันไป แต่ถ้าหากลองใช้คำพูดที่มีเหตุผลมากขึ้น ก็อาจจะทำให้ลูกน้อยยอมเปิดใจทานอาหาร และมันจะส่งผลดีต่อทั้งคุณพ่อคุณแม่ และลูกอีกด้วย ซึ่งทุกอย่างนั้นต้องใช้เวลา และค่อย ๆ พัฒนาไปทีละขั้นตอน

เครดิตรูปภาพ

conteudo.omronbrasil.com ninhosdobrasil.com.br

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (182) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)