ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี  จะมีวิธีช่วยเหลือหรือปลอบใจแบบไหนได้บ้าง

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี  จะมีวิธีช่วยเหลือหรือปลอบใจแบบไหนได้บ้าง” ลูกน้อยที่กำลังเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อาจพบเจอกับปัญหาบางอย่าง ที่ยากจะหลีกเลี่ยง นั่นคือ “ความกลัว” ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีความกลัวที่แตกต่างกัน แต่อาการที่เราจะพูดถึงคือ “ลูกกลัวเสียงดัง” ซึ่งสามารถพบเจอในชีวิตประจำวัน และยากที่จะควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นเสียงประทัด ฟ้าผ่าฟ้าร้องในวันที่ฝนตก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีปลอบใจหรือช่วยเหลือลูกได้อย่างบางนั้น บทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน

Working with children who hate loud noises - Calm Kid Central

ลูกกลัวเสียงดัง มีสาเหตุหลายประการ

สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยกลัวต่อเสียงที่ดัง ไม่ว่าจะเป็นเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า  เสียงประทัด หรือเสียงลูกโป่ง มักมาจากเหตุผลของความทรงจำ หรือประสบการณ์ที่ไม่ดีซึ่งอาจเกิดมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว หรือเกิดจากความไม่เข้าใจ เพราะอายุยังน้อย ไปจนถึงเป็นความกลัวที่มาจากโรคกลัว (Phobia) หรือโรคอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน

อาการที่พบได้เมื่อลูกเกิดความกลัวจากเสียงดัง

อาการทั่วไปที่พบได้ คือ หวาดกลัว, งอแง, ต้องการหลีกหนีต่อสถานการณ์สุ่มเสี่ยง, มีอาการสั่นกลัว เป็นต้น ซึ่งอาการจะหายไปเมื่อรู้สึกว่าปลอดภัย นอกจากนี้หากความกลัวต่อเสียงดังเกิดจากโรคทางจิต เช่น โรคกลัว (Phobia) จะมีอาการที่รุนแรงกว่าอย่างเห็นได้ชัดกลัวว่าตนเองจะเป็นอันตราย โวยวาย และจะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการที่สามารถพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยการบำบัด หรือการใช้ยาได้ตามความเหมาะสม

Little Chinese boy and little girl igniting firecracker together-High-res  stock photo for download

ทำไมลูกถึงกลัวเสียงประทัด 

– อาจเคยมีประสบการณ์ไม่ค่อยดีเกี่ยวกับเสียงของประทัด เช่น มีเหตุการณ์ร้ายเคยเกิดขึ้น และมีเสียงของประทัดเป็นองค์ประกอบด้วย เป็นต้น ทำให้เด็กรู้สึกหวาดกลัวทุกครั้งที่ได้ยินเสียง

– มีความเข้าใจเกี่ยวกับความกลัวจากเสียงดัง เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามข่าว หรือภาพยนตร์ เสียงที่ดังมากอย่างต่อเนื่องมักมากับเหตุการณ์ที่น่ากลัว จนเกิดเป็นภาพจำให้กับลูก

– ไม่สามารถแยกแยะสิ่งที่ควรกลัวได้อย่างถูกต้อง เด็กไม่มีความเข้าใจว่าของบางอย่าง อาจมีเสียง แต่ไม่เกิดอันตรายถ้าไม่ได้อยู่ใกล้ เป็นเพราะลูกยังมีอายุน้อยเกินไป และต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม

– เด็กอาจถูกปลูกฝังให้กลัวจากคนรอบข้าง เช่น เมื่อมีเสียงประทัด พ่อแม่จะห้ามไม่ให้เข้าใกล้ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ จนลูกจดจำไปเองว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว เมื่ออยู่ในสถานการณ์อื่น ๆ

ลูกกลัวเสียงประทัด ทำอย่างไรดี

– พูดคุยกับลูกทำความเข้าใจว่าเป็นเสียงอะไร หากไม่ได้อยู่ใกล้ ๆ จะปลอดภัย หรือใช้สื่อออนไลน์ วิดีโอต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประทัด และสิ่งที่ต้องระวัง เพื่อให้มีความเข้าใจมากขึ้น

– หากมีความจำเป็นเดินทางไปในที่มีเสียงประทัด ต้องบอกกับลูกก่อน เพื่อให้เกิดการเตรียมตัว และคอยอยู่กับลูกตลอดเวลา

– ไม่นำเสียงประทัดมาหลอกลูกเพื่อให้เกิดความกลัว การพูดหลอกให้กลัวไม่ใช่การเรียนรู้ที่ถูกต้อง

– หากพบว่าลูกเป็นโรคกลัว (Phobia) ต้องเตรียมความพร้อม และเตรียมยาติดตัวตลอดเวลา เพราะอาจต้องเจอกับเสียงประทัดโดยไม่ทันตั้งตัวได้

ทำไมลูกกลัวเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า 

ทำไมลูกกลัวเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า 

– มีความทรงจำที่ไม่ดีมาก่อน เหตุการณ์ที่ไม่ดี อาจเกิดขึ้นในช่วงที่มีเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า

– เคยได้รับอุบัติเหตุ หรือคนรอบข้างได้รับอุบัติเหตุมาก่อน ซึ่งเกี่ยวกับสภาพอากาศ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์จากถนนลื่น เพราะฝนตก ฟ้าร้อง เป็นต้น

– อาจมีความผิดปกติทางสมองในกลุ่ม (Autism Spectrum Disorders หรือ ASD) หรือที่เราเรียกกันว่า “กลุ่มออทิสติก” ซึ่งอาจไวต่อเสียง

– เกิดจากอาการของโรค Astraphobia ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดความกลัวต่อเสียงฟ้าร้อง และเสียงฟ้าผ่า มักพบในวัยเด็ก สังเกตจากอาการเหงื่อออก ใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก ต้องการซ่อนตัว และอยากให้มีคนอยู่ด้วย เป็นต้น

ลูกกลัวเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ทำอย่างไรดี

โดยปกติแล้ว การแก้ปัญหานี้มีความจำเป็นต้องพบแพทย์ก่อน เนื่องด้วยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการทางจิตอยู่หลายประการ ซึ่งการพบแพทย์จะทำให้ได้รับคำแนะนำในการรักษาได้ดีกว่า เช่น การรักษาด้วยการบำบัดทั้งทางพฤติกรรม และความคิด การให้ค่อย ๆ เผชิญหน้ากับความกลัว หรือฝึกการตั้งสติ และการปรับตัวของตนเองให้มากยิ่งขึ้นตามความเหมาะสม รวมไปถึงการใช้ยารักษาด้วย เป็นต้น

Ban your kids bursting balloons say experts - the loud pops could leave  them DEAF | The Sun

ทำไมลูกกลัวเสียงลูกโป่งแตก 

เรียกว่า “อาการกลัวลูกโป่ง (Balloon phobia หรือ Globophobia)” ซึ่งเป็นความกลัวต่อลูกโป่ง มีความกลัวต่อเสียงแตกของลูกโป่ง ทำให้รู้สึกไม่กล้าเข้าใกล้ หรือกลัวทุกครั้งที่มีคนเป่าลูกโป่ง บางรายอาจไม่อยากเข้าใกล้ลูกโป่งเลย ซึ่งพบได้ทั้งในเด็ก และในผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุหลักของการกลัวลูกโป่งแตก นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการที่ลูกฝังใจจากการถูกแกล้ง เช่น โดนเจาะลูกโป่งแตกใส่หน้า หรือถูกแกล้งเจาะลูกโป่งให้แตกจนตกใจบ่อยครั้ง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้กลัวเสียงลูกโป่งแตกได้เช่นกัน

 ลูกกลัวเสียงลูกโป่งแตก ทำอย่างไรดี

หากเป็นการกลัวจากเหตุการณ์ที่ถูกแกล้งจนมีความฝังใจ ต้องหยุดการกระทำดังกล่าว หากเกิดจากที่โรงเรียน ต้องแจ้งครูประจำชั้น พยายามให้ลูกเลี่ยงจากเหตุการณ์ที่อาจต้องเจอเสียงแตกของลูกโป่ง  อาจฝึกลูกด้วยการให้เผชิญหน้ากับความกลัว แต่ต้องตกลงกับลูกก่อน หากพบว่ามีอาการกลัวมาก จนไม่สามารถควบคุมได้ หรือมีอาการรุนแรงสั่นกลัว ควบคุมสติไม่ได้ สามารถพาลูกเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำได้เช่นกัน

อาการกลัวเสียงดังแบบไหนต้องไปพบแพทย์

กรณีที่ต้องเข้าพบแพทย์ คือ มีกลุ่มอาการที่แสดงถึงความกลัวมากกว่าปกติ มีอาการที่รุนแรงมากเป็นพิเศษ เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ที่เสียงดัง หรือสถานการณ์อื่น ๆ เช่น ใจเต้นเร็ว, สั่นกลัวควบคุมตนเองไม่ได้, กลัวว่าตนเองอาจจะตาย, ร้องไห้งอแง, เรียกให้คนเข้ามาช่วย หรือมีอารมณ์ที่โมโหฉุนเฉียว เป็นต้น อาการเหล่านี้เข้าข่าย “โรคกลัว (Phobia)” หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางจิต ผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจว่าไม่ได้หมายถึงลูกของตนป่วยทางจิต แต่แค่มีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างรุนแรงต่อสิ่งที่กลัวเท่านั้น จึงควรรักษาไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้ลูกสามารถใช้ชีวิตได้ปกติในทุกสถานการณ์นั่นเอง

บทส่งท้าย

ปัญหาความกลัว สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็ก ไม่ใช่แค่ในทางโรค แต่อาจเพราะเด็กยังต้องการที่จะเรียนรู้ต่อสิ่ง ๆ ต่าง ๆ มากขึ้น จึงต้องใช้เวลา และผู้ปกครองก็ควรให้ความสำคัญกับการสอนลูกให้รู้จักกับโลกมากขึ้นด้วย

เครดิตรูปภาพ www.calmkidcentral.com www.bluejeanimages.com www.heart.co.uk www.thesun.co.uk

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)