โรคหน้าร้อนในเด็ก โรคยอดฮิตที่เด็ก ๆ ป่วยบ่อย ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม

บทความนี้ขอแนะนำ “โรคหน้าร้อนในเด็ก โรคยอดฮิตที่เด็ก ๆ ป่วยบ่อย ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม” ในช่วงหน้าร้อนที่อากาศบ้านเราอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็มักจะเป็นสาเหตุที่นำพาเชื้อโรคมาให้เรา โดยเราที่เราไม่ได้ระวังตัว ซึ่งอาจจะแฝงมากับอาหาร ขนม เครื่องดื่มก็ได้  โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ที่อาจจะยังไม่มีความระมัดระวังอยู่แล้ว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องระวังอย่างมาก แล้วโรคที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยกับเด็ก ๆ ในหน้าร้อนจะมีโรคอะไรบ้างนั้น บทความนี้มีมาฝากกัน

โรคหน้าร้อน ที่มักเกิดขึ้นกับเด็ก

ในช่วงหน้าร้อนที่อากาศบ้านเรามีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกคนจึงต้องดูแลสุขภาพให้ดี เพราะอากาศที่ร้อนมากๆ มักนำพาโรคบางอย่างมาให้เราได้โดยไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะกับเด็กๆ นั้นคุณพ่อคุณแม่ยิ่งต้องคอยระวัง เพราะอากาศยิ่งร้อน อาหารหรือขนมอาจจะเสียหรือบูดง่าย ประกอบกับร่างกายที่อ่อนเพลียจากการเสียเหงื่อ หากเด็กๆ ไม่แข็งแรงพอก็จะป่วยได้ง่ายขึ้น ร่างกายที่อ่อนเพลียจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น อาจทำให้เด็กๆ ที่มีภูมิต้านน้อยอยู่แล้วเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น และโรคที่พบบ่อยในช่วงหน้าร้อนนั้น ได้แก่

Food Poisoning: Prevention Is Better Than Cure! By Dr. Fatemeh Aghanasiri -  Medicentres

1.โรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ

อาจจะเกิดมาจากเด็ก ๆ อาจไปกินอาหาร หรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสโรต้า เชื้อไวรัสโปรโตซัวปรสิต หรือหนอนพยาธิมาได้ ซึ่งเชื้อเหล่านี้เจริญเติบโตได้ดีในช่วงหน้าร้อน บางทีเด็ก ๆ ออกไปเล่นข้างนอก เอามือไปจับสิ่งต่าง ๆ มา แล้วเอามือเข้าปากก็ทำให้ติดเชื้อมาได้ง่าย ๆ เลย

– อาการ : ปวดท้องแบบปวดเกร็งในท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ใน 1 วัน ถ้าอาการรุนแรงจะถ่ายเป็นมูกเลือดได้ ซึ่งหากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียควรต้องกินยาฆ่าเชื้อ จึงควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

– การดูแล : ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ รักษาตามอาการ เช่น ยาลดอาการอาเจียนและปวดท้อง แต่ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย เพราะจะเป็นการขจัดสารพิษออกจากระบบทางเดินอาหาร ถ้าหากใน 1 วันอาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพาเด็กมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

– การป้องกัน : ดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ เครื่องดื่มสะอาด รวมทั้งควรดูแลสุขอนามัยอื่นๆ เช่น ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนกินอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง และดูแลของใช้ของเด็กๆ ให้สะอาดอยู่เสมอ

Heat rash in babies and toddlers: How to spot it and what to do about it |  BabyCenter

2.โรคผดร้อน

“เหงื่อ” ที่ร่างกายขับออกมาเพื่อช่วยระบายความร้อน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง  และโรคที่พบมากในเด็กคือ  “โรคผดร้อน” ที่เกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อนั่นเอง 

– อาการ : คัน มีผื่นเป็นเม็ดแดงๆ เล็กๆ ปรากฏได้ทั่วร่างกายบริเวณใบหน้า ซอกคอ หน้าอก หลัง และต้นขา

– การดูแล : คอยดูแลให้บริเวณที่เกิดผดนั้นเย็นและแห้งอยู่เสมอ โรคนี้สามารถหายได้เองภายใน 2-3 วัน แต่หากผดร้อนและอาการอื่นๆ ที่ปรากฏมีความรุนแรงขึ้น แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้ยารักษาตามอาการ

– การป้องกัน : ป้องกันโดยใส่เสื้อผ้าบางสบาย อย่าให้ผิวหนังอับชื้นจากเหงื่อ หลีกเลี่ยงการทาครีม โลชั่นที่มีส่วนผสมของปิโตรเลียมเจลลี่เพราะทำให้รูขุมขนอุตัน

3.โรคลมแดดหรือโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke)

เกิดจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่เกิดขึ้น ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น และไม่สามารถกำจัดความร้อนออกจากร่างกายได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ชอบวิ่งกลางแดด อยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ได้ง่าย ร่างกายปรับตัวไม่ทัน อุณหภูมิในร่างกายสูง ส่งผลกับการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงระบบประสาท อวัยวะต่าง ๆ ทำงานล้มเหลว และเสียชีวิตได้

– อาการ : ตัวร้อนจัด อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อยู่กลางแดดแต่ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกมึนงง กระสับกระส่าย สับสน และอาจชักเกร็ง หมดสติได้ ความดันเลือดลดลงเรื่อย ๆ และส่งผลให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว

– การดูแล : ควรรีบพาเด็กเข้าในร่ม ที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ถอดเสื้อผ้าและคลายเครื่องแต่งกายที่รัดแน่นจนเกินไป ให้เด็กนอนหงายและเช็ดตัวเพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงเร็วขึ้น

– การป้องกัน : ในวันที่อากาศร้อนมาก ควรให้เด็กสวมเสื้อผ้าโปร่งที่ระบายลมได้ดี ดื่มน้ำบ่อยๆ และพยายามอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก

Influenza (Flu) - Is it simply having a bad cold? | Kids Clinic

4.โรคไข้หวัดใหญ่

เป็นโรคติดต่อของระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส พบได้ตลอดปีและพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่หากพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ หรือในผู้สูงอายุ มักมีอาการรุนแรงมากกว่าวัยอื่นๆ และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

– อาการ : เริ่มจากรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดหัวปวดเมื่อยตามตัวมาก และปวดเบ้าตา มีอาการไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส ไอมีเสมหะ มักไม่ค่อยมีน้ำมูก ถ้าหากเป็นรุนแรงอาจเกิดภาวะปอดอักเสบแทรกซ้อนได้

– การดูแล : กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ผู้สูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หอบหืด จะเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเป็นรุนแรง จะให้ยาต้านไวรัสโดยตรง

กลุ่มเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลเองที่บ้านหรือรักษาตามอาการได้ เช่น เช็ดตัว กินยาลดไข้ ดื่มน้ำเยอะๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงควรมาพบแพทย์เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อน

– การป้องกัน : เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม สัมผัสน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย รวมถึงอยู่ในสถานที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท ดังนั้นทั้งเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบตลอดจนผู้สูงอายุ ควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ปีละ 1 ครั้งเพื่อเป็นการป้องกันโรค        

บทส่งท้าย

โรคต่างๆ ที่พาเหรดกันมาในช่วงหน้าร้อน ทำให้คุณพ่อคุณแม่ยิ่งต้องระมัดระวังในการดูแลสุขภาพของลูกน้อยเป็นพิเศษ เพื่อปกป้องลูกน้อยไม่ให้เจ็บป่วย ดังนั้นควรระวังและหาวิธีดูแลป้องกันโรคต่าง ๆ ไว้ก่อนดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยตลอดหน้าร้อนนี้

เครดิตรูปภาพ www.madeformums.com medicentres.ae www.babycenter.com agrilifetoday.tamu.edu kidsclinic.sg

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (189) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (180) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)