ลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้องบ่อย จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้องบ่อย จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรดี” เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ก็จะร้องไห้งอแง เพราะไม่สบายตัว แม้อาการนี้จะไม่ร้ายแรง ไม่เป็นอันตรายแต่ก็สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่อยู่ไม่น้อย แต่คุณแม่จะมีวิธีรับมือกับอาการท้องอืดของลุกอย่างไรบ้างนั้น ในบทความนี้มีมาฝากกัน

984 Baby Stomach Pain Stock Photos, Pictures & Royalty-Free Images - iStock

สาเหตุของอาการท้องอืด

อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทารก เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของเด็กยังบอบบาง เอนไซม์ในการย่อยโปรตีน และแลคโตสยังทำงานไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้โปรตีน และแลคโตสผ่านจากลำไส้เล็กไปสู่ลำไส้ใหญ่ ที่มีแบคทีเรียอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยแบคทีเรียเหล่านี้ เป็นตัวย่อยน้ำตาลแลคโตส และโปรตีนที่ตกค้างในลำไส้ จึงทำให้เกิดแก๊สในทางเดินอาหารของลูก และเป็นสาเหตุทำให้ลูกน้อยท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง จนลูกร้องไห้งอแง 

อาการท้องอืดเกิดจากอะไร

– ลูกน้อยที่กินนมแม่จากเต้า อาจงับหัวนมไม่ลึกพอ ลูกอาจงับดูดแค่บริเวณหัวนม แต่ไม่ลึกครอบไปถึงลานนม จึงทำให้เกิดอาการทารกท้องอืด เพราะรับลมเข้าไป

– ลูกน้อยที่ดื่มนมด้วยวิธีป้อนขวด ขณะดูดนมอาจกลืนนมในขวดเข้าท้องมากเกินไป

– ลูกน้อยที่จำเป็นต้องดื่มนมผสม ระบบลำไส้ยังปรับสภาพกับนมผสมไม่ได้ ทำให้มีนมสะสมในท้องจนเกิดเป็นแก๊สทำให้ทารกท้องอืดได้

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกกำลังท้องอืด

  เพราะว่าลูกยังไม่สามารถพูดหรือสื่อสารให้คุณแม่เข้าใจได้ ว่าตัวเขารู้สึกอย่างไร แต่หากเกิดอาการเหล่านี้กับลูกน้อยบ่อย ๆ ให้สันนิษฐานได้เลยว่าลูกอาจจะไม่สบายตัวเพราะมีอาการท้องอืดอยู่ ซึ่งอาการจะมีคร่าว ๆ ดังนี้

– ร้องไห้บ่อย หงุดหงิดง่าย

– อารมณ์ไม่ดี ไม่อยากเล่น

– ดิ้นตลอดเวลาหลังจากที่ลูกดื่มนม

– ท้องแข็ง ท้องป่อง

– ยืดแอ่นตัวขณะร้อง

– เรอบ่อย

– ผายลมบ่อย

What if my baby doesn't burp after feeding? - Milk Drunk

ดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกท้องอืด ท้องเฟ้อ

1.กระตุ้นให้ลูกเรอ

หากพบว่าลูกท้องอืดหลังจากที่เพิ่งดื่มนมเสร็จ คุณแม่ควรมีการกระตุ้นให้ลูกเรอ เพราะในระหว่างที่ลูกดื่มนมเข้าไปนั้นอาจมีลมเข้าไปในท้องจำนวนมาก จึงต้องมีการกระตุ้นให้ลูกเรอเพื่อระบายแก๊สในกระเพาะอาหาร โดยอุ้มทารกขึ้นให้คางพักไว้ที่บริเวณไหล่ของแม่ แล้วใช้มือตบเบาๆ ห้ามเขย่าตัวลูกเด็ดขาด ทำวนอยู่อย่างนี้สักพักลูกจะเรอออกมาเอง เป็นการไล่ลมออกจากกระเพาะที่ได้ผลดีที่สุด

2.เปลี่ยนนม

ในกรณีที่ลูกดื่มนมผสม ลองเปลี่ยนนมให้กับลูกเป็นสูตรใหม่ดู เพราะว่านมผงอาจจะเป็นสาเหตุให้ลูกท้องผูกได้ แต่ถ้าหากเปลี่ยนแล้วยังพบว่าอาการไม่ดีขึ้น ยังมีอาการท้องอืดอยู่ แนะนำให้คุณแม่ลองไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงจะได้รักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม

3.เลี่ยงอาหารที่ทำให้ลูกท้องอืด

สำหรับลูกน้อยที่ยังดื่มนมแม่ ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น อาหารประเภทถั่ว ผักบางชนิด และขนมปังที่เป็นแป้งขัดสี เป็นต้น

4.รักษาความสะอาดอุปกรณ์ให้นม

ต้องพิถีพิถัน ใส่ใจในการล้างอุปกรณ์ขวดนม อุปกรณ์การให้นม ต้องล้างให้สะอาด ต้องผ่านความร้อน อบฆ่าเชื้อ และจัดเก็บเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคที่อาจส่งผลให้เกิดอาการทารกท้องอืด และท้องเฟ้อได้

How to Help Baby or Toddler With Gas – Foods to Avoid | Earth's Best

5.จัดท่าให้นมที่ถูกต้อง

การจัดท่านอนของลูกในขณะดื่มนมการมีผลด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ลม หรืออากาศเข้าท้องลูก ขณะให้นมลูกควรยกศีรษะลูกให้อยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย

6.นวดเพื่อไล่ลมในท้อง

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถ แก้ท้องอืด ให้กับลูกน้อยได้นั่นก็คือ วิธีการนวดเพื่อไล่ลมในท้อง โดยคุณแม่วางลูกน้อยลงในท่านอนหงาย จากนั้นนวดบริเวณหน้าท้องเบาๆ โดยเริ่มจากด้านขวาวนไปด้านซ้ายในท่าทวนเข็มนาฬิกา วิธีนี้จะช่วยไล่ลมให้ลูกได้ดี สักพักลูกจะเรอ หรือผายลมออกมาทำให้ลูกสบายตัวขึ้น ช่วยบรรเทาท้องอืดให้กับลูกน้อยได้

7.พาออกกำลังกาย

หากพบว่าลูกมีอาการท้องอืดเป็นประจำ คุณแม่ควรจับลูกออกกำลังกายบ้าง อย่างเช่น  โดยจับลูกนอนในท่านอนหงาย จากนั้นใช้มือทั้งสองข้างของคุณแม่จับขาลูกน้อยและยกขึ้นไปมาคล้ายๆ กับท่าปั่นจักรยาน ท่านี้จะช่วยให้ลำไส้ได้ขยับตัว ช่วยไล่ลมในลำไส้ได้ดี และบรรเทาท้องอืดได้ดีมาก

8.ใช้สมุนไพรมหาหิงค์

เป็นวิธีที่หลายบ้านยังทำ และเป็นวิธีที่ใช้กันมานานแล้วนั่นก็คือ ใช้มหาหิงค์ ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการเด็กท้องอืดได้ โดยเพียงแค่นำมหาหิงค์มาทาบริเวณที่ท้อง ใต้ฝ่าเท้า และฝ่ามือจะช่วย แก้ท้องอืด ให้กับลูกน้อยได้ ทำให้ลูกรู้สึกสบายท้องมากขึ้น

บทส่งท้าย

อาการที่ลูกน้อยท้องอืด ท้องเฟ้อ แม้จะไม่ใช่อาการที่รุนแรงอะไรมากนัก แต่ถ้าหากปล่อยไว้นาน ๆ ก็ไม่ดี ซึ่งลูกน้อยนั้นเขาก็ยังไม่สามารถสื่อให้เราเข้าใจได้ คุณแม่ต้องเฝ้าสังเกตอาการ หลังจากเขาทานนมเข้าไปแล้ว แล้วมีอาการอะไรตามมาอีกหรือไม่ หากมีอาการก็ลองทำตามวิธีในบทความดูได้เลย หากไม่สบายใจหรือกังวลใจมาก ก็สามารถเข้าไปรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้งก็ได้นะ

เครดิตรูปภาพ www.istockphoto.com parenting.firstcry.com milk-drunk.com www.earthsbest.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (182) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)