บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง จุกนมสำหรับลูกน้อย ควรเลือกแบบไหนดี ให้เหมาะสมกับลูกน้อย การเลือกจุกนม ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้ของใช้อื่นๆ เลยล่ะ โดยเฉพาะปัจจุบันนี้ที่คุณแม่หลายท่านจำเป็นจะต้องให้นมผง หรือไม่สะดวกให้ลูกเข้าเต้า หากเลือก จุกนม หรือจุกนมเสมือนเต้านมแม่ ที่เหมาะสมกับลูกน้อย ก็จะช่วยให้การป้อนนมนั้นง่ายขึ้นอีกหลายเท่า รวมถึงช่วยให้ลูกน้อยสบายตัว ลดปัญหาท้องอืดและการสำลักได้อีกด้วย
ทำความรู้จัก จุกนมกัน
อาหารมื้อแรกสำหรับเด็กทารกแน่นอนว่าคือ น้ำนมของแม่ การดื่มนมแม่จากเต้าจะเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมแม่ไหลออกมาได้ดี และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับแม่และลูก แน่นอนว่าในบางครั้งเราจะต้องใช้ขวดนมให้นมกับลูกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุผลต่างๆ ทั้งคุณแม่ไม่มีเวลาให้นมจากเต้า น้ำนมไม่ไหล หรือ ต้องใช้นมผงแทนนมแม่ ไม่ต้องกังวลมากเกินไป
การให้นมสามารถแบ่งออกได้ 3 วิธี คือการให้นมจากเต้าแนะนำในช่วง 1 เดือนแรกควรให้นมจากเต้าบ่อยๆ เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกจดจำการดูดนม การดูดนมจากขวด สำหรับครอบครัวที่ไม่สามารถให้นมจากเต้าได้ สามารถใช้ขวดนมได้ ตั้งแต่แรกเกิดแต่ควรเลือก จุกนม ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย และสุดท้ายก็คือการให้ นมจากเต้า และขวดร่วมกัน หากคุณต้องการใช้ขวดนมเพื่อให้นมลูกการเลือกจุกนม ที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก
จุกนมเด็ก เลือกยังไงดี
จุกนม เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องนึกเสมอว่าลูกน้อยจะต้องรู้สึกแบบเดียวกับการดูดจากเต้าแม่ เพราะถ้าเลือกไม่ดีลูกอาจสำลักได้ ส่วนวิธีการเลือกมีดังนี้
1.วัสดุที่ใช้ทำจุกนม
ปัจจุบันจุกนมสำหรับเด็กส่วนใหญ่จะผลิตมาจาก ซิลิโคน และยางพารา ซึ่งจุกนมซิลิโคนจะมีสีขาวใส มีเนื้อที่แน่น มีความทนทานและคงรูปเดิมได้นาน แม้ผ่านความร้อนหลายครั้งเนื่องจากทนความร้อนได้ดี ส่วนจุกนมจากยางพารา จะมีสีเหลืองอมน้ำตาล มีความนิ่มและยืดหยุ่นมากกว่า แต่อายุการใช้งานจะสั้น
2.ขนาดของจุกนม
โดยทั่วไปจะมี 3 ขนาด คือ
– Size S หรือ SS เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด จนถึง 3 เดือน
– Size M เหมาะสำหรับลูกน้อยอายุ 3 – 6 เดือน
– Size L เหมาะสำหรับลูกน้อยอายุ 6 เดือนขึ้นไป
สาเหตุที่ต้องเลือกขนาดของจุกนมที่มีรูระบายน้ำนมแตกต่าง เนื่องจากลูกทารกจะดูดนมได้ช้าและกินได้ทีละน้อย เพราะกล้ามเนื้อในช่องปากและการดูดกลืนยังไม่แข็งแรง หากรูจุกนมกว้างหรือจุกนมใหญ่เกินไป อาจทำให้ลูกสำลักจนเป็นอันตรายได้ และนอกเหนือจากขนาดจุกนมเหล่านั้นแล้ว ก็ยังมี จุกนมพิเศษ ที่เหมาะกับเด็กที่มีปัญหาการดูดนม เช่น มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ มีโรคหัวใจหรือโรคอื่นๆ ที่ทำให้เด็กไม่มีแรงดูดนม หรือยังดูดนมเองได้ไม่ดีอีกด้วย
3.รูปร่างของจุกนม
– จุกนมปลายกลมมน เป็นจุกนมที่มักเห็นกันทั่วไป คือมีปลายจุกกลมมน รูปทรงระฆัง
– จุกนมปลายแบนเรียบ มีคอและฐานกว้าง เวลาลูกดูดจะให้ความรู้สึกคล้ายดูดนมจากเต้านมแม่
– จุกนมปลายแหลมแบน เป็นชนิดที่ถูกออกแบบมาให้รองรับเพดานปาก เหงือก และลิ้นของทารก โดยปลายที่แบนออกจะวางตัวพอดีบนลิ้นขณะเด็กดูดนม รวมทั้งจุกนมยังมีลักษณะของคอหรือฐานจุกนมที่แตกต่าง คือมีทั้งแบบคอกว้าง และคอแคบ
4.อัตราการไหล
จุกนมอาจมีลักษณะเหมือนกันแต่มีอัตราการไหลต่างกัน ตั้งแต่ช้า ถึงปานกลาง ถึงเร็ว โดยจะเลือกได้จากขนาดและจำนวนรูที่ปลายจุกนม ซึ่งจะมีระบุที่ผลิตภัณฑ์ว่าจุกนมที่เลือกซื้อมีอัตราการไหลเร็วหรือช้า และเหมาะกับทารกอายุเท่าไร
– ปลายจุกนมเป็นรูวงกลม มักเป็นรูจุกนมที่ช่วยให้น้ำนมไหลได้ง่าย คือแม้ลูกจะไม่ดูด น้ำนมก็ไหลผ่านออกได้จึงเป็นจุกนมที่ช่วยให้ลูกดูดนมง่าย ไม่ต้องใช้แรงเยอะ
– ปลายจุกนมเป็นรูตัว Y เป็นจุกนมที่หากไม่ดูดนมจะไม่ไหล ต้องใช้แรงดูดของลูกให้น้ำนมไหลผ่านออกมา (ยกเว้นเป็นจุกนมสำหรับเด็กที่มีภาวะพิเศษดูดนมเองไม่ได้ จะมีการทำให้น้ำนมไหลออกได้ง่ายขึ้น)
– ปลายจุกนมเป็นรูกากบาท มักเป็นจุกนมที่ต้องใช้แรงดูดเหมือนรูตัว Y คือหากลูกไม่ดูดนมจะไม่ไหล น้ำนมจะออกมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแรงดูดของลูกเอง ช่วยป้องกันอาการสำลักให้ลูกน้อยได้นอกจากนี้รูของปลายจุกนม จะมีขนาดของรูที่เล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับไซส์ของจุกนมนั้นๆ เช่น จุกนมไซส์ L ก็จะมีปลายรูที่ขยายใหญ่หรือกว้างกว่า จุกนมไซส์ m และไซส์ S นั่นเอง
บทส่งท้าย
สำหรับเด็กทารกจนถึงวัยเด็กเล็ก อุปกรณ์ตัวช่วยหนึ่งที่สำคัญและทุกบ้านต้องมีก็คือ
“จุกนม” หรือที่เรียกกันหลากหลายแบบว่า จุกนมหลอก จุกนมยาง จุกนมซิลิโคน นั่นเอง ความจำเป็นของจุกนมนั้น ส่วนหนึ่งก็เพื่อช่วยให้ลูกผ่อนคลาย ไม่ดูดนิ้วของตัวเอง รวมถึงสามารถช่วยลดอาการร้องไห้ได้อีกด้วย
เครดิตรูปภาพ