เด็กเล็กกินปลาได้ไหม และปลาชนิดไหนบ้างที่เด็กเล็กทานได้บ้าง

บทความนี้ขอแนะนำ “เด็กเล็กกินปลาได้ไหม และปลาชนิดไหนบ้างที่เด็กเล็กทานได้บ้าง” คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คน คงจะกังวล เมื่อลูกเริ่มรับประทานอาหารที่หลากหลายมากขึ้น ลูกจะแพ้หรือเปล่า อาหารชนิดนี้จะเริ่มทานตอนไหน จะเป็นอันตราย หรือมีสารปนเปื้อนหรือไม่ ยิ่งเป็นอาหารทะเลแล้ว ยิ่งกังวลเข้าไปใหญ่ และปลา ถือเป็นแหล่งอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ เพราะนอกจากจะให้โปรตีนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตแล้ว ยังมีโอเมก้า 3 ที่สำคัญต่อสมองและการมองเห็นอีกด้วย เมื่อทารกทานปลาจะดีแค่ไหน และทานปลาชนิดไหนได้บ้างบทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน

เด็กเล็กกินปลาได้ไหม 

จะเห็นได้ว่าการให้อาหารเสริมกับลูกน้อยนั้น ควรมีความหลากหลาย และปลา (ทั้งปลาน้ำจืดและปลาทะเล) ก็เป็นอีกเมนูหนึ่ง ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของทารก แต่เรามักจะได้ยินมาว่าไม่ควรทานอาหารทะเลก่อนอายุ 1 ขวบ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดการแพ้อาหารได้ ซึ่งในต่างประเทศนั้น มีงานวิจัยว่า เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย ทารกสามารถทานปลาทะเลและปลาน้ำจืดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป

Eating fish might help prevent glaucoma - Good Vision For Life

ปลามีประโยชน์ต่อทารกอย่างไร

แม้ว่าอาหารหลักของทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีนั้นยังคงเป็นนมแม่อยู่ แต่การได้รับอาหารเสริมหลังอายุ 6 เดือนแล้ว อาหารเสริมจะเป็นตัวช่วยรองมาจากนมแม่ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอต่อร่างกาย และหลากหลายมากขึ้น ซึ่งในปลาอุดมไปสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้

1.วิตามินดีและธาตุเหล็ก วิตามินดีมีความสำคัญต่อกระดูกที่แข็งแรงและการพัฒนาสมอง และธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่าง รวมถึงการลำเลียงออกซิเจน เนื่องจากวิตามินดีและธาตุเหล็กที่มีอยู่ในนมแม่นั้นเริ่มไม่เพียงพอสำหรับเด็กทารกวัย      6 เดือนขึ้นไปแล้ว การเสริมอาหารเสริมให้ลูกน้อยโดยเน้นให้ทานอาหารที่มีวิตามินดีและธาตุเหล็กสูงจึงเป็นสิ่งที่ควรแนะนำ 

2.โปรตีน  ปลายังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยม ซึ่งโปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่สร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย ช่วยให้ลูกน้อยเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง ในปลายังมีสังกะสีในปริมาณที่ดีต่อสุขภาพ สังกะสีเป็นแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงและการเจริญเติบโตของเซลล์

3.กรดไขมันโอเมก้า 3 ปลาบางชนิดมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการสำหรับทั้งทารกและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กทารก กรดไขมันโอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง ดวงตา และภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง อีกด้วย

4.วิตามินบี 12 และไอโอดีน เป็นสารอาหารอีก 2 ชนิดที่พบในปลาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองที่แข็งแรงและเซลล์เม็ดเลือดแดงในทารก

อยากให้ลูกน้อยเริ่มทานปลาควรทำอย่างไร

เมื่อเริ่มต้นให้ลูกน้อยทานปลาให้คุณพ่อคุณแม่ปรุงให้ปลาสุก เสียก่อน จากนั้นนำมาบดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้ลูกน้อยเคี้ยวสะดวก โดยอาจจะเสิร์ฟพร้อมกับผักไปด้วยเพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน เมื่อทดลองให้ลูกทานปลาแล้วให้สังเกตว่าลูกน้อยมีอาการแพ้ปลาหรือไม่ โดยหากมีอาการแพ้ลูกน้อยจะมีผื่น ท้องเสีย อาเจียน มีอาการบวม หรือมีอาการหายใจลำบากทันทีที่ทาน ซึ่งหากลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ให้พาไปพบคุณหมอโดยด่วน

ซึ่งถ้าหากลูกไม่มีอาการแพ้ การให้ลูกทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งก็จะช่วยให้ลูกมีเชาวน์ปัญญาที่ดีกว่าเด็กที่ไม่ทานปลา หรือทานน้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ก่อนจะให้ลูกทานปลาก็อย่าลืมว่าจะต้องปรุงให้ปลาสุกก่อนเท่านั้น 

ควรให้ลูกกินปลาอะไรดี

แม้ปลาจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทารกจะสามารถทานปลาได้ทุกชนิดได้บ่อย ๆ อย่างปลอดภัย เนื่องจากในปลาทะเลบางชนิดนั้นมีการปนเปื้อนของสารปรอท จากแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก ยิ่งตัวใหญ่ก็จะยิ่งมีโอกาสมีสารปรอทสะสมในร่างกายสูง ปัจจุบัน มีคำแนะนำจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาแบ่งปลาออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่ม Best Choice เป็นกลุ่มของปลาที่ปลอดภัย มีการปนเปื้อนของสารปรอทต่ำ ควรทาน 2 – 3 มื้อต่อสัปดาห์ เช่น

– ปลาแซลมอน

– ปลาจวด

– ปลาทู

– ปลากะพงขาว

– ปลาดุก

– ปลาแมกเคอเรลแอตแลนติก

– ปลาจาระเม็ด

– ปลาคอด

– ปลาทูน่า

– ปลาลิ้นหมา

– ปลานิล

– ปลากระบอก

2.ปลากลุ่ม Good Choices ปลาที่ปลอดภัยรองลงมา ควรรับประทานอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

– ปลาไน

– ปลาหิมะ

– ปลาเก๋า

– ปลาแฮลิบัต

– ปลาอีโต้มอญ

– ปลากะพงแดง

3.กลุ่ม Choices to Avoid คือปลากลุ่มที่มีการปนเปื้อนของสารปรอทสูง ควรหลีกเลี่ยง

– ปลาฉลาม

– ปลาอินทรี

– ปลากระโทงดำ

– ปลากระโทงดาบ

– ปลาไทล์ฟิชจากอ่าวเม็กซิโก

Children get stuck in fish bones when they eat fish. Drinking jealousy and swallowing rice will not work. Three methods mothers must keep in mind

คำแนะนำการทำเมนูปลาให้เด็กทานได้ง่ายขึ้น

– ต้องใช้ปลาสดใหม่เพื่อให้เกิดกลิ่นคาวน้อยที่สุด เลือกความความใสของตาปลา เกล็ดขึ้นเงา ไม่มีหลุดลอกเป็นแผ่น เหงือกออกแดงชมพูไม่ซีด กดแล้วไม่มีรอยบุ๋มตามน้ำหนัก

– ล้างปลาให้สะอาดและขัดด้วยเกลือรึมะนาวได้เพื่อช่วยขจัดความคาว

– สามารถใช้สมุนไพรและนมสดช่วยกลบกลิ่นคาวได้ หากเด็กๆ สามารถรับกลิ่นสมุนไพรได้ก็ใช้ได้หมดทั้งใบมะกรูด ตะไคร้ ขิง ใบเตย แต่หากลูกไม่ชอบกลิ่นสมุนไพรก็สามารถใช้นมสดในการหมักได้ ซึ่งวิธีการ คือการนำชิ้นเนื้อปลานำไปแช่ทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วจึงนำไปประกอบอาหารต่อ

– เวลานำไปนึ่งหรือต้มให้สุก ควรรอให้เนื้อปลาสุกดีเสียก่อนจึงค่อยจับพลิกหรือคน เพราะไม่งั้นกลิ่นคาวก็อาจจะทำให้คลุ้งขึ้นมาได้

– ปริมาณเนื้อปลาที่เด็กอายุเกิน 6 เดือนควรได้จากการทานคือ 1 ช้อนโต๊ะต่อวัน ซึ่งเมื่ออายุมากขึ้นก็สามารถเพิ่มไปถึง 3 ช้อนโต๊ะได้ในช่วงวัยเกินขวบ

บทส่งท้าย

ปลาเป็นแหล่งโภชนาการที่ดีสำหรับทารกและเด็กเล็ก เพราะอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาทของลูกน้อย นอกจากนี้ยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น สังกะสี เหล็ก และไอโอดีน เต็มไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย แล้วปลาก็ยังเป็นตัวเลือกที่ดีในการทำให้ลูกได้กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย

เครดิตรูปภาพ images.newscientist.com daydaynews.cc

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (174) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (172) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)