“ไอกรน” ภัยเงียบอันตราย ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง “ไอกรน” ภัยเงียบอันตราย ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง โรคไอกรน แม้จะเริ่มต้นด้วยอาการคล้ายหวัดธรรมดา แต่กลับซ่อนอันตรายร้ายแรง โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบมีความเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วยรุนแรงจากโรคนี้ จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเฝ้าระวังสัญญาณเตือนของ ไอกรนในเด็ก อย่างใกล้ชิด เพื่อปกป้องลูกน้อยให้ปลอดภัย

โรคไอกรน

โรคไอกรน

     ไอกรนเป็นโรคติดเชื้อ สาเหตุเกิดจาก “เชื้อไอกรน” เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า “บอร์เดเทลลา

เพอร์ทัสซิส” (Bordetella pertussis) ซึ่งจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย เมื่อเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจจะไปเกาะอยู่กับเซลล์เยื่อบุหลังโพรงจมูก และผลิตสารพิษหลายชนิดออกมา ซึ่งจะส่งผลต่อการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา เชื้อแบคทีเรียดังกล่าว มีผลรุนแรงในทารกแรกเกิด ซึ่งอาจรุนแรงถึงชีวิตได้ 

โรคไอกรนติดต่อได้อย่างไร

โรคไอกรนติดต่อได้ง่ายมาก ผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรค จะติดเชื้อจากผู้ป่วยที่อยู่ในบ้านเดียวกันได้สูงถึง 80-100% แต่หากเคยได้รับวัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และมีภูมิคุ้มกันแล้ว โอกาสติดเชื้ออยู่ที่ประมาณ 20%  ส่วนใหญ่ในเด็กจะติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ที่มีเชื้อ หากได้รับเชื้อจะสังเกตอาการได้ในระยะเวลาประมาณ 5-10 วัน แต่หากรับเชื้อเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ แสดงว่าไม่ติดโรค

วิธีสังเกตอาการหากสงสัยว่าติดเชื้อไอกรน

วิธีสังเกตอาการหากสงสัยว่าติดเชื้อไอกรน

อาการของไอกรน แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 

– ระยะที่ 1 เยื่อเมือกทางเดินหายใจอักเสบ (Catarrhal phase) เรียกว่า ระยะหวัด มีอาการเหมือนหวัดธรรมดาทั่วไป ไข้ต่ำน้ำมูกไหล จาม ไอเล็กน้อย อ่อนเพลีย ตาแดง น้ำตาไหล 

– ระยะที่ 2  ระยะอาการกำเริบ (Paroxysmal phase) เรียกว่า ระยะรุนแรง ซึ่งระยะนี้จะกินเวลานาน 7-10 วัน ในระยะนี้ส่วนใหญ่จะยังวินิจฉัยโรคไอกรนไม่ได้ แต่มีข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยจะมีอาการตามข้อ 1 เพิ่มขึ้น อาจมีอาการไอรุนแรงและหลังการไอสิ้นสุดลงจะมีเสียงเฉพาะ (เสียงวู้ป) เกิดขึ้น หากไอติดต่อนาน ๆ จนตัวงอและหายใจไม่ทัน (ในครั้งหนึ่งจะไอติดต่อกันประมาณ 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น แล้วหยุดไป แล้วเริ่มไอใหม่เป็นแบบนี้ซ้ำๆ) โดยอาการไอนี้อาจเกิดขึ้นเพียง 5-10 รอบต่อวัน หรือเกิดขึ้นหลายสิบรอบในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีอาการไอมากในช่วง 2 สัปดาห์แรก และอาการไอมักเกิดถี่ขึ้นในตอนกลางคืนหรือเวลาที่ถูกอากาศเย็น ดื่มน้ำเย็นจัด ถูกฝุ่นหรือควันบุหรี่

– ระยะที่ 3 ระยะพักฟื้น (Convalescent phase) หรือ ระยะฟื้นตัว ระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น น้ำหนักตัวขึ้น อาการไอและความรุนแรงจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนหายสนิท 

– รวมระยะของโรคทั้งหมดถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์ 

วิธีรับมือกับโรคไอกรน

วิธีรับมือกับโรคไอกรน

1.การรักษา หากสงสัยว่ามีอาการของโรคไอกรน ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที การให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) หรืออิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในระยะแรกของโรคสามารถช่วยลดความรุนแรงและป้องกันการแพร่เชื้อได้

2.การป้องกัน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง วัคซีนนี้มักรวมอยู่ในวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP) โดยมีกำหนดการฉีดในเด็กที่อายุ 2, 4, 6, และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี นอกจากนี้ ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ทุก 10 ปี เพื่อรักษาระดับภูมิคุ้มกัน

3.การดูแลที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ไอ เช่น ควันบุหรี่ อากาศเย็นจัดหรือร้อนจัด และรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อป้องกันการอาเจียนหลังการไอ

โรคไอกรนสามารถป้องกันได้ ด้วยวัคซีน

โรคไอกรนสามารถป้องกันได้ ด้วยวัคซีน

ปัจจุบันวัคซีนไอกรนถูกจัดให้เป็นวัคซีนพื้นฐานที่ต้องเข้ารับ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและลดความรุนแรงของโรคในอนาคต โดยวัคซีนโรคไอกรนควรเข้ารับให้ครบตามช่วงอายุ ดังนี้

– ครั้งที่ 1 เมื่อมีอายุ 2 เดือน

– ครั้งที่ 2 เมื่อมีอายุ 4 เดือน

– ครั้งที่ 3 เมื่อมีอายุ 6 เดือน

– ครั้งที่ 4 เมื่อมีอายุ 18 เดือน 

– ครั้งที่ 5 ฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 4 ปี

ข้อต้องรู้เกี่ยวกับ “ไอกรน”

ข้อต้องรู้เกี่ยวกับ “ไอกรน”

1.ไอกรนเป็นโรคทางเดินหายใจ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

2.ไอกรนเป็นโรคที่มีวัคซีนป้องกันได้ และมียาฆ่าเชื้อในการรักษา 

3.ไอกรนระบาดเนื่องจากภูมิคุ้มกันลดลงหลังฉีดไป 5-10 ปี จึงมีการระบาดมาเป็นช่วงๆ ทั่วโลก

4.ไอกรนต่างจากหวัดธรรมดาคือ ไม่ค่อยมีไข้มีน้ำมูก สัปดาห์ต่อมาจะเข้าสู่ช่วงไอมาก ไอรุนแรง ไอเป็นชุด ๆ และไอนานเป็นสัปดาห์

5.ในเด็กเล็ก ๆ โรครุนแรง บางคนไอจนหยุดหายใจ ไอจนเขียวและขาดออกซิเจน หรือเป็นปอดบวม

6.ในวัยรุ่น/ผู้ใหญ่ไอรุนแรงและเรื้อรัง สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นในโรงเรียน ที่ทำงาน ที่บ้าน

7.เมื่อมีการระบาด ควรทบทวนว่าได้รับวัคซีนครบหรือไม่

– เด็กต่ำกว่า 10 ขวบ ควรได้วัคซีนรวมครบ 5 เข็ม

– วัยรุ่น ควรได้รับวัคซีนทีแด๊ป 1 เข็ม

– ผู้ใหญ่ ควรฉีดวัคซีนทีแด๊ปหรือวัคซีนไอกรน  5-10 ปี

8.วัคซีนทีแด๊ปและวัคซีนไอกรนมีความปลอดภัย ฉีดได้ 

9.วัคซีนคอตีบบาดทะยักที่โรงเรียนฉีดฟรีให้ ไม่มีวัคซีนไอกรน

10.หากใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอกรน หรือมีอาการที่สงสัยไอกรน ควรพบแพทย์ เพื่อรับยาฆ่าเชื้อและฉีดวัคซีน

บทส่งท้าย

การสังเกตอาการและรับมือกับโรคไอกรนอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้ หากมีข้อสงสัยหรืออาการที่น่ากังวล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม

เครดิตรูปภาพ allergyasthmanetwork.org www.vinmec.com www.drdropin.no

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (197) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (20) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (38) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (187) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)