ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ภัยร้ายที่น่ากลัวสำหรับลูกน้อย ควรป้องกันและรับมืออย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ภัยร้ายที่น่ากลัวสำหรับลูกน้อย ควรป้องกันและรับมืออย่างไรดี ไข้หวัดใหญ่อันตรายถึงชีวิต แต่ป้องกันได้ ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ระบาดมากในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม – มีนาคม) ของทุกปี ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรงและมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าโรคไข้หวัดทั่วไป จะอันตรายแค่ไหนบทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่( Influenza) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ   มักจะมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝน พบได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กเล็ก  เด็กโต  วัยผู้ใหญ่  และผู้สูงอายุ ไข้หวัดใหญ่จะแบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลักคือ สายพันธุ์  A สายพันธุ์  B และ  สายพันธุ์  C โดยในบทความนี้จะขอกล่าวถึงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเจอภาวะแทรกซ้อนได้รุนแรงกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่น  

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เกิดจากเชื้ออะไร

เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A/H1N1) เป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ติดต่ออย่างไร

การแพร่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง เกิดขึ้นได้ง่าย เกิดจากถูกผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายในระยะ 1 เมตร เนื่องจากเชื้อไวรัสอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย แต่บางรายอาจได้รับเชื้อทางอ้อม ผ่านทางมือ หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรก จะแพร่เชื้อได้มากที่สุด ระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน

อาการไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

– มีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส (ติดต่อกันหลายวัน)

– หนาวสั่น

– อ่อนเพลีย

– เบื่ออาหาร

– ขับถ่ายเหลว

– คลื่นไส้อาเจียน

ข้อควรระวัง : อาการไข้หวัดใหญ่ในเด็กเล็กบางราย อาจมีไข้สูงจนมีอาการชัก หรือท้องเสียจนทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ขาดน้ำ และอาจมีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย ควรพามาพบแพทย์โดยด่วน

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ช่วยป้องกันได้ไหม

เนื่องจากวัคซีนครอบคลุมในบางสายพันธุ์เท่านั้น ทำให้หลังฉีดวัคซีนก็ยังเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ ซึ่งปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเรื่องวัคซีนและการถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่อง การปรับสายพันธุ์ในวัคซีนจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้รายละเอียดเรื่องการฉีดวัคซีนแนะนำสอบถามข้อมูลกับคุณหมอและเภสัชกรอีกครั้ง

ป้องกันลูกจากโรคไข้หวัดใหญ่อย่างไรดี 

• สอนลูกให้ กินร้อน ช้อนกลาง

• อย่าลืมล้างมือก่อนทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง ฝึกจนเป็นนิสัย

• การสวมหน้ากากอนามัย ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่ได้

• หากลูกไม่สบายควรพักผ่อนอยู่บ้านจนหาย ถ้าน้องทานยาไข้หวัดแล้ว แต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปปรึกษาอาการกับแพทย์ อย่าเพิ่งรีบไปโรงเรียนนะ

การรักษาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ในกลุ่มที่มีอาการรุนแรง เช่น

1.ไข้สูงเฉียบพลัน

2.ปวดศีรษะอย่างหนัก

3.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียรุนแรง

อาการกลุ่มนี้จำเป็นต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดรับประทาน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี 

ผู้ป่วยที่อาการไม่มาก

อาการของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A ที่ไม่รุนแรงมากนั้นจะมี ไข้ต่ำ ๆ ตัวไม่ร้อนจัด และยังรับประทานได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยา และคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษาที่บ้านได้ดังนี้

1.รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ วิตามิน เป็นต้น และเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะ ด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น

2.ดื่มน้ำสะอาด และน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น

3.พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มาพอเพียง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น

4.ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้น ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมด ตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา

5.ให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

– ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดหรือโรคปอดบวม ในบางกรณี ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เสียชีวิตได้

– เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่มากขึ้น โรคหอบหืดหรือภาวะปอดอื่น ๆ อาจถูกกระตุ้นจากไข้หวัดใหญ่ได้

– เด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อในหูมากขึ้น

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A/H1N1 การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อได้ดังนี้

1.หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

2.หากต้องการดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย และให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยด้วย หลังดูแลผู้ป่วยทุกครั้ง ควรรีบล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ให้สะอาดทันที

3.ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

4.ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

5.หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง ไอ จาม

บทส่งท้าย

อย่างไรก็ตาม อาการไข้หวัดใหญ่ 2024 ทั้งสายพันธุ์ A และ B เป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม หากเราป่วย หรือมีอาการดังกล่าว ก็ควรพักผ่อนเพื่อรักษาตัวให้หายดี ยังไม่ควรออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ทั้งนี้การสวมหน้ากากอนามัยในช่วงที่กำลังมีอาการไข้หวัดใหญ่ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสไปแพร่กระจายใส่ผู้อื่นนั่นเอง

เครดิตรูปภาพ

parenting.firstcry.com au.news.yahoo.com medicalnewstoday.com kidsclinic.sg

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (166) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (169) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)