บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง โรคโลหิตจาง หรือภาวะซีดในเด็ก จะป้องกันหรือดูแลลูกอย่างไร“ภาวะซีดในเด็ก” ถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ซึ่งอาจเกิดจากการขาดสารอาหาร พ่อแม่อาจแปลกใจว่าทำไมลูกถึงมีภาวะขาดสารอาหารได้ทั้ง ๆ ที่ลูกก็กินเก่ง แถมกินทั้งผัก ผลไม้ ครบถ้วนทุกอย่าง ถ้าอย่างนั้นไปดูกันเลยว่าสาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่
โลหิตจาง (Anemia)
โลหิตจาง (Anemia) หรือภาวะซีด คือ ภาวะที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินในเลือดน้อยกว่าปกติ ฮีโมโกลบินเป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ภาวะโลหิตจางทำให้เซลล์และอวัยวะได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจลำบาก
มีภาวะซีด ตัวเหลือง และส่งผลต่อการทำงานของสมอง โลหิตจางรุนแรงอาจทำให้หัวใจล้มเหลว หมดสติ และเสียชีวิต ผู้ที่สงสัยว่าอาจมีภาวะโลหิตจางควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และรับการรักษาอย่างเป็นระบบ
ภาวะซีด เกิดจากอะไร
สาเหตุหลักจะมีอยู่ 3 กรณี
1.การสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกายมีน้อยเกินไป เม็ดเลือดแดงนั้นสำคัญในการนำสิ่งมีประโยชน์สู่ร่างกาย นำออกซิเจนไปเลี้ยง
ไปเลี้ยงเซลล์สมอง เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์หัวใจ เซลล์สำคัญในร่างกายอื่น ๆ ถ้าเม็ดเลือดแดงสร้างน้อยเพราะขาดสารอาหาร ก็จะมีผลทำให้ซีด
2.เม็ดเลือดแดงในร่างกาย ถูกทำลายโดยโรคต่าง ๆ เช่นมีโรคของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ พันธุกรรมเม็ดเลือดแดงผิดปกติ โรคธาลัสซีเมีย หรือการได้รับยีนธาลัสซีเมียจากพ่อแม่ ทำให้เม็ดเลือดแดงสลายตัวง่าย ทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอที่จะนำออกซิเจนหรือสิ่งดี ๆ ไปเลี้ยงสุขภาพของเด็ก
3.ต้นกำเนิดเม็ดเลือดแดง (Stem cell) มีน้อย ที่พบบ่อยที่พบบ่อยจะเป็นกลุ่มที่ไขกระดูกไม่ทำงาน หรือไขกระดูกฝ่อ
สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากอะไรบ้าง
1. ภาวะขาดสารอาหารธาตุเหล็ก
ซึ่งเป็นปัญหาของเด็กทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตของเด็กนั้นรวดเร็วการกินอาหารต่าง ๆ บางที่ยังกินไม่เก่งเท่าเด็กโต หรือผู้ใหญ่ ทำให้ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ มีความต้องการมาก ร่างกายเติบโตและพัฒนาเร็ว ปัจจัยที่ทำให้ขาดธาตุเหล็กคือ อาหารมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอบางทีเด็กทานแต่นมอย่างเดียว ได้แคลเซียมแต่ธาตุเหล็กนั้นมีน้อย ธาตุเหล็กมีมากในไข่แดง ในตับ ในเนื้อสัตว์ ซึ่งเด็กหลายคนยังไม่สามารถกินได้ก็เลยทำให้ปัญหาการขาดธาตุเหล็กนั้น พบได้บ่อยมากทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย
2. ภาวะพันธุกรรมโรคธาลัสซีเมีย
โรคกลุ่มนี้เป็นโรคที่พบบ่อย เนื่องจากคนไทยมีรภาวะแฝงโรคธาลัสซีเมียทำให้เม็ดเลือดแดงบกพร่อง มีการสร้างเม็ดเลือดแดงไม่สมบูรณ์แบบ แล้วทำให้เม็ดลเลือดแดงนั้นไม่มีเสถียรภาพและแตกตัวง่าย เด็กกลุ่มนี้มักจะไม่ขาดธาตุเหล็ก ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้เยอะ
แต่พอเม็ดเลือดแดงแตกมาก ๆ มันไปทำลาย ในม้าม ในตับ ทำให้เด็กกลุ่มนี้ มีความซีด
และตัวเหลือง และมีม้ามมีตับโต ความซีดมาก ๆ เรื้อรังทำให้เด็กกลุ่มนี้ ตัวเตี้ย การเจริญเติบโตไม่ดี ถ้าซีดมาก ๆ จะมีผลกระทบต่อการทำงานหัวใจ
สังเกตอย่างไรว่าลูกของคุณกำลังเผชิญกับภาวะเลือดจาง
– สีผิวซีด สังเกตได้จากใบหน้า ริมฝีปาก เหงือก หรือฝ่ามือ
– อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ลูกของคุณอาจดูอ่อนแรง หมดแรงง่าย เล่นได้ไม่นาน
– หายใจเร็ว หายใจเร็วกว่าปกติ โดยเฉพาะตอนออกกำลังกายหรือเล่น
– ใจสั่น รู้สึกเหมือนหัวใจเต้นเร็วหรือแรงกว่าปกติ
– เวียนหัว รู้สึกเหมือนหน้ามืด หรือมึนหัว
– นอนหลับยาก หรือหลับไม่สนิท
– เบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อยลง
– ผมร่วง ผมร่วงมากกว่าปกติ
– เจริญเติบโตช้า น้ำหนักตัวและความสูงไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์
ลูกเลือดจาง ปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม
ภาวะโลหิตจางในเด็ก ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ ดังนี้
1.ภาวะเลือดจางส่งผลต่อพัฒนาการ ด้านร่างกาย
เจริญเติบโตช้า เด็กที่เป็นโลหิตจาง มักมีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการทางร่างกายล่าช้า เช่น การนั่ง การคลาน การเดิน ติดเชื้อบ่อย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
2.ภาวะเลือดจางส่งผลต่อพัฒนาการ ด้านสติปัญญา
เรียนรู้ช้า เด็กที่เป็นโลหิตจาง มักมีสมาธิสั้น จดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้ยาก เรียนรู้ช้า มักมีผลการเรียนด้อย ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ มีปัญหาพฤติกรรม เช่น หงุดหงิด โกรธง่าย ก้าวร้าว
3.ภาวะเลือดจางส่งผลต่อพัฒนาการ ด้านอารมณ์
ซึมเศร้า เด็กที่เป็นโลหิตจาง มักรู้สึกซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน มักรู้สึกวิตกกังวล กลัว
มักขาดความมั่นใจ รู้สึกด้อยค่า
โลหิตจางป้องกันได้ง่ายๆ เริ่มจากพ่อแม่
– เริ่มต้นจากการให้นมแม่ น้ำนมแม่เป็นแหล่งสารอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด น้ำนมแม่มีธาตุเหล็กเพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อยในช่วง 6 เดือนแรก
– เลือกใช้นมผงสูตรที่มีธาตุเหล็ก สำหรับทารกที่ไม่ได้รับนมแม่ คุณแม่ควรเลือกใช้สูตรนมผงที่มีธาตุเหล็กผสมอยู่ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอ
– อาหารเหล็กสูงตั้งแต่วัยเริ่มทานอาหารเสริม เมื่อลูกน้อยเริ่มทานอาหารเสริม คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์บด ไข่แดง ผักบดละเอียด ซีเรียลสำหรับเด็ก เป็นต้น
– ซ่อนธาตุเหล็กไว้ในมื้ออาหาร เด็ก ๆ บางคนอาจไม่ชอบรับประทานอาหารบางชนิด คุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนสูตรอาหาร โดยการซ่อนแหล่งของธาตุเหล็กไว้ในมื้ออาหาร เช่น ผสมเนื้อสัตว์บด หรือผักโขมลงในซุป โรยธัญพืชลงบนโยเกิร์ต
– จับคู่กับวิตามินซี วิตามินซีมีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก คุณแม่ควรจัดมื้ออาหารที่มีทั้งอาหารเหล็กสูง ควบคู่กับผลไม้รสเปรี้ยว หรือผักที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม มะละกอ ผักกาดขาว เป็นต้น
– หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น นม ชา กาแฟ มีสารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการให้ลูกน้อยดื่มนม หรือเครื่องดื่มเหล่านี้ ควบคู่กับมื้ออาหารที่มีธาตุเหล็ก
– แบ่งมื้ออาหาร การแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อ จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น
– เป็นแบบอย่างที่ดี พฤติกรรมการรับประทานอาหารของพ่อแม่ ส่งผลต่อลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลากหลาย
บทส่งท้าย
อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่าบุตรหลานเข้าข่ายภาวะซีด ควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาก่อนที่ภาวะอาการจะกระทบต่อพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็ก และจะได้รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาการจะได้ไม่หนัก และส่งผลดีต่อร่างกายของเด็กด้วย
เครดิตรูปภาพ
www.vinmec.com www.news-medical.net www.motherandbaby.com catholiccounselors.com