บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง เลี้ยงลูกในห้องแอร์ ลูกจะติดแอร์ไหม จะมีผลเสียต่อสุขภาพไหม ว่าประเทศไทยของเราร้อนมากๆ คุณพ่อคุณแม่ที่เลี้ยงลูกในบ้านก็ต้องเปิดแอร์ อยู่ในห้องแอร์ตั้งแต่ยังเล็ก ร่างกายจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง จากอากาศที่หนาวเย็นในบ้านมาสู่อากาศที่ร้อนอบอ้าวนอกบ้าน ถ้าดูแลไม่ดีก็อาจเกิดปัญหาสุขภาพได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับเด็กมากกว่าที่คุณพ่อคุณแม่คิด
เลี้ยงลูกในห้องแอร์ ลูกจะติดแอร์ไหม
ด้วยความที่สภาพอากาศในบ้านเราเป็นเมืองร้อน คนส่วนใหญ่จึงมักจะติดการใช้ชีวิตที่ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า แอร์ และสำหรับบ้านที่มีลูกเล็กก็มักจะมีคำถามตามมาว่า ถ้าเกิดอยู่ในห้องแอร์มากไป ลูกจะติดแอร์ไหม จะออกไปข้างนอกยากหรือเปล่า เลี้ยงลูกในห้องแอร์ มีข้อดีข้อเสียกับลูกน้อยอย่างไร
ข้อดีของการให้ลูกอยู่ในห้องแอร์
สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในห้องได้ ทำให้ลูกไม่เหนียวตัว นอนหลับได้สนิท อารมณ์ดี
ลดความหงุดหงิด ความไม่สบายตัวให้ลูกได้ ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก
ข้อเสียของการเลี้ยงลูกในห้องแอร์
ปัญหาสุขภาพของการเลี้ยงลูกในห้องแอร์เป็นเวลานานๆ เกิดจากการทำงานของเครื่องปรับอากาศหรือแอร์นั้นจะทำการดูดความชื้นและไอร้อนในบริเวณนั้นๆ และปล่อยอากาศที่แห้งจนทำให้รู้สึกเย็นสบายออกมา ลองสังเกตดูได้เลยว่าหากมีการเลี้ยงลูกอยู่ในห้องแอร์นาน ๆ จะต้องเจออาการดังต่อไปนี้
1. ผิวแห้ง ผิวลูกจะแห้ง ลอกเป็นขุยหรือเป็นแผ่น ร่วมกับมีอาการคัน หากไม่มีการบำรุงผิวด้วยโลชั่นมาก่อน
2. มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เด็กๆ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา โดยเฉพาะอาการคัน และระคายเคือง เพราะอากาศที่แห้ง แอร์จะดูดเอาความชื้นในอากาศไปจนหมดนั่นเอง
3. โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หากลูกเป็นโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืด ก็มีโอกาสที่จะแสดงอาการเมื่ออยู่ในห้องแอร์ที่มีอุณหภูมิต่ำเกินไป
4. ความสกปรกของแอร์ก่อให้เกิดโรค หากไม่ได้มีการทำความสะอาดแอร์อย่างสม่ำเสมอ ก็อาจกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสต่างๆ ที่อาจทำให้เด็กเกิดการเจ็บป่วย อย่างเช่น โรคทางเดินหายใจ โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
เลี้ยงลูกในห้องแอร์อย่างไรให้ปลอดภัย
1. ตั้งอุณหภูมิแอร์ให้พอดีไม่เย็นจนเกินไป หลายคนพอเห็นอากาศร้อนก็พยายามเร่งเปิดแอร์สู้กับความร้อน แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมของลูกๆ ควรอยู่ที่ 25-27 ก็เพียงพอ นอกจากจะไม่เย็นเกินไป ยังช่วยประหยัดด้วย
2. ไม่ให้ลมแอร์เป่าที่ตัวลูกโดยตรง ถ้าเป็นห้องนอนไม่ควรให้ที่นอนของลูกอยู่บริเวณลมแอร์ โดยตรงเพราะลมแอร์ที่เป่าใส่ตัวลูกตลอดเวลาอาจทำให้ลูกป่วยได้ ดังนั้นถ้าต้องเลือกเครื่องปรับอากาศสำหรับลูกๆ ควรเลือกแบบที่มีโหมด Wind Free ที่ให้อากาศเย็นสม่ำเสมอ ทั่วห้อง แต่ไม่มีลมเป่าปะทะที่ตัวโดยตรง
3. ควรเลือกแอร์ที่มีระบบฟอกอากาศ ควรเลือกแอร์ที่มีระบบฟอกอากาศ หรือกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อเป็นตัวช่วยเรื่องการลดฝุ่นละอองที่จะทำให้เกิดภูมิแพ้และยับยั้งแบคทีเรีย เชื้อราจนถึงเชื้อไวรัสในอากาศ ช่วยลดความเสี่ยงของอาการเจ็บป่วยของลูกได้
4. ห่มผ้าให้ลูก ถึงแม้อากาศร้อนแต่ช่วงกลางคืนก็อย่าลืมห่มผ้า หรือดูแลให้ร่างกายลูกอบอุ่นอยู่เสมอ อาจจะใช้เป็นผ้าห่มผืนบางๆ แทนในช่วงหน้าร้อน
5. ให้ลูกดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ให้ลูกดื่มน้ำอย่างเพียงพอ และบำรุงผิวด้วยใช้โลชั่นสำหรับเด็ก เพราะอากาศในห้องแอร์ค่อนข้างแห้ง ควรให้ลูกดื่มน้ำเยอะเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นในร่างกาย
ข้อควรระวังเมื่อต้องเลี้ยงลูกในห้องแอร์
1.อย่าปรับแอร์จ่อไปที่ลูกโดยตรง และพยายามให้ห่างจากที่นอนของเจ้าตัวเล็กด้วย โดยคุณแม่ต้องเตรียมผ้าห่มเพื่อปิดบริเวณท้อง หน้าอก ข้อต่อ เพื่อให้ลมความเย็นจากเครื่องปรับอากาศถูกส่วนอื่น
2.อย่าพาลูกเข้าห้องแอร์ทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ หรือพาลูกเดินเข้าออกระหว่างห้องแอร์กับอากาศภายนอกบ่อยๆ เพราะจะทำให้ร่างกายของลูกปรับอุณหภูมิไม่ทันจนไม่สบายได้
3.ควรล้างแอร์และแผ่นกรองอากาศเป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เปิดหน้าต่างให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวกและไม่ควรเลี้ยงลูกในห้องแอร์ตลอดเวลาให้เขาได้ออกไปสัมผัสอากาศธรรมชาติด้านนอกบ้าง
4.คุณแม่ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนาจนเกินไปให้ลูก แม้จะอยู่ในห้องแอร์ เพราะบ้านเราก็ไม่ใช่เมืองหนาว ใส่ผ้าฝ้ายธรรมดาระบายอากาศได้ดี จะทำให้เจ้าหนูสบายตัวมากกว่า
วิธีการดูแลเครื่องปรับอากาศ
เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานนานขึ้น ตลอดจนลดการสะสมของไรฝุ่นที่อาจก่อปัญหา โดยเฉพาะเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ ควรปฏิบัติดังนี้
– ควรหมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ โดยการล้างแผ่นกรองอากาศ ทุก 1-2 สัปดาห์
– ตรวจสอบสภาพและล้างเครื่องปรับอากาศ โดยช่างผู้ชำนาญทุก 3-6 เดือน
– ตั้งอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส ไม่ควรตั้งอุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป
บทส่งท้าย
คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกอยู่ในห้องแอร์เท่าที่จำเป็นจริง ๆ โดยค่อย ๆ ลดระยะเวลาการเปิดแอร์ให้น้อยลง เมื่อทำอย่างนี้บ่อย ๆ ลูกจะชินกับอากาศธรรมดาโดยไม่ต้องเปิดแอร์ตลอดทั้งวัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากอาการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
เครดิตรูปภาพ