เมื่อลูกไอบ่อยและมีเสมหะ จะมีวิธีช่วยให้ลูกหายจากอาการนี้ได้อย่างไร

บทความนี้ขอแนะนำ “เมื่อลูกไอบ่อยและมีเสมหะ จะมีวิธีช่วยให้ลูกหายจากอาการนี้ได้อย่างไร” ด้วยในปัจจุบันที่สภาพอากาศแปรเปลี่ยนจนไม่รู้ฤดู เดี๋ยวหนาวเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน ไหนจะฝุ่น PM 2.5 ตัวร้าย ก็อาจจะทำให้เด็กปรับตัวไม่ทันเป็นหวัด คัดจมูก ไอ มีเสมหะได้ และพ่อแม่อย่างเราจะรักษา และรับมืออาการของลูกน้อยได้อย่างไร ลองไปอ่านพร้อมกันเลย

Cough (Children) - Consumer Health News | HealthDay

การไอเกิดจากอะไร

ไอเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในทางเดินหายใจ อาจจะเป็นฝุ่นละอองหรือเสมหะที่เกิดจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ ร่างกายจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ โดยการไอออกมา สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ไอเรื้อรังคือ การมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลม

เสมหะ คืออะไร

เสมหะ หรือ เสลด เป็นสารเมือกที่สร้างขึ้นจากต่อมมูกและเซลล์กอบเลทของทางเดินหายใจ ถ้ามีความผิดปกติ เช่น เสมหะเหนียวข้น มีจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดการคั่งค้างของเสมหะ ซึ่งในเด็กเล็กที่ยังคายเสมหะออกมาไม่เป็น จะสังเกตได้ว่าเวลาหายใจจะมีเสียงครืดคราดในอกหรือในคอ และถ้าร่างกายไม่สามารถขับเสมหะสู่ภายนอกได้ อาจเกิดการอุดตันของหลอดลม หัวใจทำงานหนักขึ้น มีภาวะปอดอักเสบ ปอดแฟบ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

เสมหะ เกิดจากอะไร

– การระคายเคืองบริเวณลำคอ

 – โรคจมูกอักเสบ โรคภูมิแพ้

 – โรคไซนัสอักเสบ และเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ

 – โรคหลอดลมอักเสบ และโรคหอบหืด

 – ติดเชื้อเรื้อรังบริเวณคอ เช่น วัณโรค
The 4 symptoms that mean your child must stay home from school or daycare -  Harvard Health

เมื่อลูกน้อย มีอาการไอมีเสมหะ ดูแลรักษาอย่างไร

1.ให้ดื่มน้ำอุ่นเพิ่มขึ้น

          น้ำ เป็นยาขับเสมหะที่ดีที่สุด การให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ ก็ถือเป็นการเพิ่มน้ำให้แก่ร่างกาย และช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ เมื่อเสมหะเหนียวน้อยลง การระบายออกจะทำได้ดีขึ้น ทั้งนี้ พยายามให้ลูกดื่มน้ำอุ่นจะยิ่งช่วยลดความเหนียวของเสมหะได้ดีกว่าน้ำธรรมดา เพราะความร้อนจะช่วยให้น้ำแทรกซึมสู่เสมหะได้ง่ายขึ้น

2.กลั้วคอ หรือดื่มน้ำโซดา

          น้ำโซดามีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ ทำให้มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ ดังนั้นการกลั้วคอหรือดื่มด้วยน้ำโซดาจึงช่วยละลายเสมหะได้ แต่ข้อนี้แนะนำให้ใช้กับเด็กโตแล้วเท่านั้น

3.กลั้วคอ หรือดื่มน้ำผสมเกลือ

          การดื่มน้ำธรรมดาอาจช่วยเพิ่มความชื้นหรือทำให้เสมหะเหนียวน้อยลงได้ แต่หากนำน้ำผสมเกลือเพียงเล็กน้อยมาดื่มหรือกลั้วคอ จะยิ่งช่วยให้เสมหะอ่อนตัวหรือลดความเหนียวได้รวดเร็วขึ้น

1,200+ Cough Syrup Child Stock Photos, Pictures & Royalty-Free Images -  iStock

4.รับประทานผลไม้รสเปรี้ยว

          การให้ลูกรับประทานสมุนไพรหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ได้แก่ เสาวรส ส้ม มะนาว มะขาม หรือสมุนไพรที่มีรสเผ็ด เช่น พริก พริกไทย จะช่วยในการละลายเสมหะ เพราะน้ำในผลไม้จะช่วยเพิ่มความชุ่มคอ ส่วนความร้อนช่วยละลายเสมหะได้

5.รับประทานอาหารประเภทต้ม

          อาหารประเภทต้มมีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำอุ่น แต่จะมีประโยชน์เพิ่มขึ้น เพราะมีเครื่องเทศหรือสมุนไพรมาเสริมทัพด้วย เช่น ซุปฟักทองร้อน ๆ ก็ช่วยขับเสมหะได้ เพราะในฟักทองมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดอาการอักเสบและขับเสมหะ หรือแกงจืดผักชีหมูสับ เพราะต้นผักชีช่วยแก้ไอ แก้หวัดได้

6.เพิ่มความชื้นภายในห้อง

          อากาศที่แห้งและมีปริมาณความชื้นน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้โพรงจมูกและลำคอขาดความชุ่มชื้นและเกิดการระคายเคือง ร่างกายจึงผลิตเสมหะมากขึ้นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นภายในลำคอ ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะขาดความชุ่มชื้นภายในลำคอ คุณพ่อคุณแม่อาจใช้เครื่องทำความชื้นหรือการเพิ่มความชื้นในอากาศด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ตั้งอ่างเล็ก ๆ ใส่น้ำไว้ในห้อง ปิดแอร์ เปิดหน้าต่าง อย่างไรก็ตาม การเพิ่มความชื้นของอากาศภายในห้องควรคำนึงถึงสภาพอากาศในแต่ละฤดูด้วย

1,400+ Mom And Child Drinking Water Stock Photos, Pictures & Royalty-Free  Images - iStock

7.ดูดเสมหะด้วยลูกยาง

          เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่รู้วิธีการขับออกมาเอง อีกทั้งเสมหะเหนียวข้นมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้อุปกรณ์ดูดเสมหะ อย่างลูกยางเบอร์ 1 ช่วยดูดเสมหะในปากได้ 

8.หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กในที่ที่มีอากาศเย็น 

หลีกเลี่ยงให้ลูกนอนในห้องที่มีอากาศเย็นจนเกินไป ถ้านอนห้องแอร์ควรปรับอุณหภูมิให้พอดี ที่ 25 – 27 องศา หรือถ้าเปิดพัดลมก็ไม่ควรเปิดให้โดนที่ตัวของลูกมากเกินไป

9.รับประทานยาละลายเสมหะ

          ให้เด็กรับประทาน ยาแก้ไอเด็ก หรือยาละลายเสมหะเด็ก อย่างเหมาะสม ยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่างยาน้ำชนิดไซรัปหรือน้ำเชื่อมที่นิยมใช้กันมากในเด็ก  ซึ่งยาแก้ไอนั้นถูกแบ่งออกเป็น ยาแก้ไอชนิดกดการไอ ยาแก้ไอที่มีฤทธิ์ขยายหลอดลม หรือละลายเสมหะจะได้ผลดี  ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกชนิด

10.เคาะปอดระบายเสมหะ

          วิธีการเคาะปอด จะใช้แรงสั่นจากลมที่กระทบผนังทรวงอกขณะเคาะ ไปทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณทางเดินหายใจค่อย ๆ หลุดออกและไหลออกมาได้ง่ายขึ้น

วิธีเคาะปอด

  ทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม ๆ นิ้วชิดกัน เรียกว่า “Cupped Hand” เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ต้องการระบายเสมหะ ท่าละ 3-6 นาที รวมทุกท่าไม่ควรนานเกิน 15-30 นาที แล้วจึงลุกนั่งหรือยืนเพื่อให้ไออย่างมีประสิทธิภาพ แล้วเสมหะจะถูกขับออกมาด้วย

บทส่งท้าย

ในปัจจุบันที่อากาศเปลี่ยนแปลงเกือบทุกวัน คุณพ่อคุณแม่ควรต้องดูแลสุขภาพของลูกให้ดี หากคุณพ่อคุณแม่ทำตามครบทุกขั้นตอนข้างต้นแล้วอาการไอของลูกไม่ดีขึ้น ยังมีเสมหะมากขึ้น ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ทันที รีบทำการรักษาก่อนที่อาการจะหนักเกินไป

เครดิตรูปภาพ consumer.healthday.com www.health.harvard.edu www.istockphoto.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (189) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (182) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)