เมื่อลูกติดโควิด 19  ควรดูแลอย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำ “เมื่อลูกติดโควิด 19  ควรดูแลอย่างไรดี” โรคโควิด 19 แม้ในปัจจุบันจะถูกประกาศให้เป็นโรคประจำท้องถิ่นไปแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะน่าไว้วางใจ เพราะโควิด 19 ยังอยู่รอบตัวเรา และยังมีผู้ที่เป็นโรคคิด 19 เกิดขึ้นทุกวัน แต่เมื่อลูกน้อยติดโควิด 19 คุณพ่อคุณแม่ ควรรับมืออย่างไรดี 

CDC Confirms COVID-19 is Less Severe in Pediatric Patients | BioSpace

วิธีสังเกตอาการของเด็กที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อโควิด-19 

โดยอาการของเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่พบมากที่สุด จะมีอาการดังนี้

1.มีไข้หลายวัน อาจจะไข้สูงหรือไข้ต่ำก็ได้

2.ไอแห้ง

3.อ่อนเพลีย

4.เจ็บคอ

5.อาจมีหรือไม่มีน้ำมูกก็ได้ คัดจมูก จาม

6.บางรายอาจมีผื่นแดง 

7.จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

8.อาจพบอาการปวดเมื่อยตัว

9.เบื่ออาหาร หรือในเด็กทารกอาจจะกินนมได้น้อยลง

10. อาจมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ซึ่งพบได้เล็กน้อย

แม้การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กส่วนใหญ่กว่า 90% จะมีอาการไม่รุนแรง แต่กลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เพราะเด็ก ๆ กลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะป่วยหนัก ปอดอักเสบ ระบบหายใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิต ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ผู้ใหญ่ควรงดสัมผัสหรือหอมแก้มเด็กเล็กโดยไม่จำเป็น ในปัจจุบันระยะฟักเชื้อจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 วันโดยประมาณ 
Children Now Account For 22% Of New U.S. COVID Cases. Why Is That? :  Coronavirus Updates : NPR

กรณีที่มีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือเด็กในบ้านติดเชื้อโควิด -19

อาจจะสามารถแบ่งได้เป็นหลายกรณี

กรณีที่ 1 เด็กติดเชื้อและผู้ปกครองติดเชื้อ สามารถเข้ารับการรักษาโดยเน้นจัดอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจากผู้ปกครอง

กรณีที่ 2 เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยเด็กจะต้องถูกส่งตัวไปรักษาและกักตัวที่โรงพยาบาลหรือ Hospitel อย่างน้อย 14 วัน ซึ่งการกักตัวสำหรับเด็กมีความซับซ้อนกว่าเคสของผู้ใหญ่ในเรื่องของจิตใจ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ต้องแยกห่างจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง แพทย์แนะนำว่า เมื่อเด็กต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลควรมีคนเฝ้า เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง อายุไม่เกิน 60 ปี และไม่มีโรคประจำตัว

กรณีที่ 3 เด็กไม่ติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองติดเชื้อ ควรให้ญาติที่ไม่ติดเชื้อเป็นผู้ดูแลเด็ก หากไม่มีผู้ดูแลควรส่งเด็กไปยังสถานสงเคราะห์ หรือบ้านพักในสังกัดกระทรวงเป็นการชั่วคราว

กรณีที่ 4 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในเนิร์สเซอรี่ พิจารณาใช้พื้นที่เนิร์สเซอรี่เป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสม

Staying Healthy During the COVID-19 Outbreak | Woodlands Tree House  Preschool

สำหรับเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด 19 แต่ต้องกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)

อุปกรณ์ที่ใช้ติดตามอาการและบรรเทาอาการเด็กที่บ้าน ได้แก่

1.ปรอทวัดไข้

2.เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

3.อุปกรณ์ที่สามารถใช้ถ่ายภาพ หรือบันทึกอาการของเด็กได้

4.ยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ (พาราเซตามอล) ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก เกลือแร่

โดยสังเกตอาการโดยรวมของเด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยแย่งระดับอาการของเด็ก ออกเป็น 2 ระดับ

ระดับที่ 1 คือ อาการที่ยังสามารถสังเกตอาการของเด็กที่บ้านต่อไปได้ ได้แก่ มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ถ่ายเหลว ยังคงกินอาหารหรือนมได้ตามปกติ ไม่ซึม

ระดับที่ 2 คือ ระดับที่ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กไปส่งโรงพยาบาล คือ ไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ใช้แรงในการหายใจมาก อกบุ๋ม ปีกจมูกบานตอนหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 95% ซึมลง งอแง ไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร

การรักษาโรค COVID-19

ไม่ใช่คนไข้โรค COVID-19 ทุกคนที่จะมีอาการรุนแรง และในปัจจุบันนั้นพบว่า 80% ของผู้ป่วยมีอาการเหมือนไข้หวัดธรรมดา อาการไม่รุนแรง สามารถรักษาได้ตามอาการ เช่น

– เมื่อมีไข้ ทานยาลดไข้ เช็ดตัว ระวังไม่ให้ไข้สูงและชัก

– เมื่อมีอาการไอ ทานยาแก้ไขละลายเสมหะ หรือใช้สเปรย์พ่นคอบรรเทาอาการไอ

– ทานยาลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ ตามอาการ

– ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจจะต้องให้ออกซิเจนในการช่วยเหลือ พ่นยาละลายเสมหะเมื่อจำเป็น

How is Covid-19 affecting your kids? - Aviva Ireland

วิธีป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อโควิด-19 ในเด็ก

1. สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ยกเว้นในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ปี

2.ล้างมือบ่อยๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ 

3.เวลาไอ จาม ควรใช้ทิชชูปิดปากและจมูก หลังจากนั้นนำไปทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิด ถ้าไม่มีทิชชูให้ใช้ข้อศอกและต้นแขนด้านในแทน หลังจากนั้นล้างมือให้สะอาด 

4.เว้นระยะห่างทางสังคม อย่างน้อย 1-2 เมตร 

5.หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปาก หากยังไม่ได้ล้างมือ

6.หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน

7.หลีกเลี่ยงใกล้ชิดกับคนที่มีอาการป่วย

8.งดหอมแก้มหรือสัมผัสใกล้ชิดกับเด็กโดยไม่จำเป็น

9.เมื่อถึงบ้านรีบอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที

และในกรณีที่น้องเคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ก็ยังควรต้องปฏิบัติตัวให้ป้องกันโควิด 19 อยู่เหมือนเดิม ไม่ควรประมาทหรือชะล่าใจ เพราะเคยติดเชื้อไปแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีกครั้ง

บทส่งท้าย

แม้ว่าในปัจจุบันโรคโควิด 19 อาการจะไม่ร้ายแรงเท่าในช่วงแรก ๆ แล้วนั้น แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องปฏิบัติให้เคร่งครัดตามเดิม ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนแออัดมาก ๆ เท่านี้ลูกน้อยก็จะห่างไกลจากโรคโควิด 19 ได้แล้ว

เครดิตรูปภาพ www.biospace.com www.woodlandstreehouse.com www.aviva.ie

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (192) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (183) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)