อาการข้างเคียงหลังลูกน้อยฉีดวัคซีน ที่พ่อแม่ควรรู้และต้องเฝ้าระวัง

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง อาการข้างเคียงหลังลูกน้อยฉีดวัคซีน ที่พ่อแม่ควรรู้และต้องเฝ้าระวัง การฉีดวัคซีน ของเด็กในช่วงวัยเเรกเกิดจนถึงช่วงอายุ 12 ปี นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อเเม่ไม่ควรละเลย เพราะการฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน โดยหลังจากฉีดวัคซีนเเล้วคุณพ่อคุณเเม่ควรสังเกตุอาการเบื้องต้นก่อนประมาณ 30 นาที เช่น หายใจลำบาก เพราะลูกน้อยอาจจะมีผลข้างเคียงจากวัคซีนเกิดขึ้นก็ได้ ถ้าเกิดมีอาการข้างเคียงคุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรดี

สร้างภูมิคุ้มกันด้วย “วัคซีน” ตั้งแต่วัยแรกเกิด

การฉีดวัคซีนให้กับลูกน้อย เริ่มได้ตั้งแต่วัยแรกเกิดไปจนถึงอายุ 12 ปี โดยวัคซีนส่วนใหญ่จะผลิตมาจากเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกทำให้อ่อนแรงด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อเชื้อโรคที่อ่อนแรงจนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ถูกฉีดเข้าไป จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มขึ้นมาได้

กำหนดการฉีดวัคซีนของเด็กในแต่ละวัย

การฉีดวัคซีนในเด็กจะเป็นไปตามแบบแผนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ โดยสำนักโรคติดต่อมีการสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนได้ฟรีสำหรับเด็กทุกคนในปี 2561 จำนวน 9 ชนิด ซึ่งสามารถควบคุมโรคได้ถึง 11 โรค คือ วัคซีนวัณโรคหรือวัคซีนบีซีจี วัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี วัคซีนโรคคอตีบ วัคซีนโรคไอกรน วัคซีนโรคบาดทะยัก วัคซีนโรคโปลิโอที่มีทั้งแบบชนิดรับประทานและชนิดฉีด วัคซีนโรคหัด วัคซีนโรคหัดเยอรมัน วัคซีนโรคคางทูม วัคซีนโรคไข้สมองอักเสบเจอี และวัคซีนโรคเอชพีวี นอกจากนี้ยังมีวัคซีนเสริมที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกฉีดเพิ่มเติมได้ตามคำแนะนำของแพทย์

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนที่ต้องระวัง

อาการข้างเคียงหลัง การฉีดวัคซีนของลูกน้อย และวิธีดูแลที่ถูกวิธี หลังฉีดวัคซีนด้วยสภาพร่างกายของเด็กและชนิดของวัคซีนที่ได้รับ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ ซึ่งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนนั้นมีดังต่อไปนี้

 1.ตุ่มหนอง

มักเกิดจากวัคซีนป้องกันวัณโรค หรือ บีซีจี (BCG) ที่ฉีดบริเวณสะโพกซ้าย ตุ่มหนองมักจะเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน     ไปแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ และจะพองๆ ยุบๆ อยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะหายไปเองแต่ต้องระวังรักษาความสะอาดอย่าให้ตุ่มหนองเกิดการติดเชื้อ ถ้าพบว่าต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงที่ฉีดวัคซีนบีซีจี อักเสบโตขึ้นหรือเป็นฝีให้มาพบแพทย์เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม

2.อาการปวด บวม แดงร้อน บริเวณที่ฉีดวัคซีน

เด็กอาจจะร้องกวนงอแงได้ ถ้ามีอาการปวดบวมให้ใช้เจลเย็น หรือผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่ปวดให้ทำทันที  และรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตตามอลร่วมด้วยตามคำสั่งแพทย์จะช่วยบรรเทาอาการได้ หลัง 24 ชั่วโมงแล้ว ถ้าอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้นให้มาปรึกษาแพทย์

 3.อาการไข้ ตัวร้อน

มักเกิดในวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ซึ่งฉีดเมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 18 เดือน และ 4 ปี ผู้ปกครองควรช่วยเช็ดตัวเด็กด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆ พักผ้าตามซอกคอ, ข้อพับต่างๆ และอาจให้รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ร่วมด้วย แต่ถ้ามีอาการไข้เกินกว่า 2 วัน ควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำ

4.ผื่นขึ้น

เกิดจากเชื้อที่อยู่ในวัคซีน เช่น หัดเยอรมัน อีสุกอีใส อาจเกิดขึ้นหลังจากฉีดไปแล้ว 5-7 วัน รวมอาการมีไข้ด้วย แต่หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ก็จะหายไปเอง หรือเด็กบางคนอาจจะมีอาการแพ้รุนแรง โดยจะมีอาการบวมรอบตา รอบคอ หายใจไม่ออก ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ในทันทีนะ

5.อาการชัก

สาเหตุของการชักมักไม่ได้เกิดจากผลของวัคซีนโดยตรง แต่มักจะเกิดจากการที่มีไข้สูงหลังฉีดวัคซีน วิธีป้องกันคือหลังจากฉีดวัคซีนแล้วผู้ปกครองต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีไข้ต้องเช็ดตัวลดไข้/รับประทานยา อย่าปล่อยให้ไข้สูงเพราะจะทำให้เกิดอาการชักได้

: วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกมีอาการชัก ให้จับเด็กนอนหันหน้าไปด้านข้าง เพื่อป้องกันการสำลัก เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายและไม่ควรนำสิ่งของ เช่น ช้อน, นิ้วมือ ใส่เข้าไปในปากเด็ก เพราะจะยิ่งทำให้สำลักและรีบนำเด็กส่งโรงพยาบาลทันทีและที่สำคัญเมื่อพาเด็กไปฉีดวัคซีนครั้งต่อไป ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่าเด็กมีอาการชักหลังจากฉีดวัคซีน

การดูแลลูกหลังฉีดวัคซีนแล้วมีไข้

1. คุณพ่อคุณแม่ควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัด เพราะจะทำให้หลอดเลือดตีบและระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการหนาวสั่นได้ ควรป้อนยาลดไข้ทันทีเมื่อมีไข้ร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้จะออกฤทธิ์ลดไข้หลังรับประทานยา 30 นาทีและออกฤทธิ์สูงสุด 1 ชั่วโมง คงสภาพได้ 4 ชั่วโมง ดังนั้นหากไข้สูงระหว่างมื้อยา ให้เช็ดตัวลดไข้ หากมีอาการหนาวสั่นควรให้ความอบอุ่นก่อนแล้วจึงเช็ดตัว

2. ให้ลูกดื่มน้ำมากๆ ควรเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำผลไม้ กระตุ้นให้ดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปจากพิษไข้

3. ใส่เสื้อผ้าโปร่ง สวมใส่สบาย ประเภทผ้าฝ้าย ไม่ควรใส่เสื้อผ้ายืดเพราะไม่ระบายความร้อน ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนาหรือห่มผ้าหนา ๆ

4. อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

5. คุณแม่ควรดูแลวัดไข้ซ้ำทุก ๆ 4ชั่วโมง เพื่อป้องกันไข้กลับเป็นซ้ำ หากมีไข้อีกแนะนำให้ทำตามเดิม เน้นการเช็ดตัวลดไข้ หากคุณแม่ละเลยลูกอาจชักจากภาวะไข้สูงได้

บทส่งท้าย

ดังนั้นหลังการฉีดวัคซีนไม่ว่าลูกจะมีอาการอะไรเกิดขึ้นก็ตาม หากปฏิบัติตามคำแนะนำด้านบนแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อจะได้ตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป

เครดิตรูปภาพ

afuncan.com www.thebump.com www.healthline.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (182) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)