บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง “ออทิสติกเทียม” ภัยเงียบของเด็กติดจอ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องระวัง คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ บ้านอาจเปิดคลิปให้ลูกดูหรือให้เล่นเกมเพื่อที่จะทำให้ลูกอยู่นิ่งมากขึ้น ควบคุมง่าย และดูแลง่ายขึ้น แต่ถ้าเด็กมีอาการงอแงเวลาไม่ได้ดูจอตามที่ต้องการ แต่หารู้ไม่ว่าการให้ลูกติดจอมากเกินไปอาจส่งผลให้ลูกน้อยเสียงเป็น “ออทิสติกเทียม” ได้
ทำความรู้จักกับ “ภาวะออทิสติกเทียม”
ภาวะออทิสติกเทียม เป็นภาวะที่เด็กขาดการกระตุ้นในการสื่อสาร 2 ทาง (Two-way Communication) ส่งผลให้เกิดความล่าช้าทางการสื่อสารและมีพัฒนาการทางสังคมที่ไม่ปกติ คือไม่พูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยมักเกิดจากการที่ผู้เลี้ยงดูหรือพ่อแม่ปล่อยปละละเลย ไม่พูดคุยหรือเล่นกับลูก และปล่อยให้เด็กดูโทรทัศน์ หรือเล่นอุปกรณ์สื่อสารอย่างแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนมากเกินไป ซึ่งเหมือนการให้เด็กรับสารทางเดียว หรือที่เรียกว่า One-way Communication
ออทิสติกแท้กับเทียม ต่างกันมากน้อยแค่ไหน
ออทิสติกแท้ จะเป็นกลุ่มโรค ที่ความผิดปกติของสมองจนส่งผลต่อพัฒนาการ แต่ออทิส
ติกเทียมนั้นไม่ใช่โรค แต่มักจะมีประวัติปัญหาการเลี้ยงดู ไม่ได้มาจากพันธุกรรมเหมือนกับออ
ทิสติกแท้ กรณีออทิสติกเทียมหากรู้ทัน และปรับแก้ จะหายได้เร็วต่างกับออทิสติกแท้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษามากกว่า
อาการของโรคออทิสติกเทียม จะคล้ายคลึงกับโรคออทิสติกทั่วไป ได้แก่
– ซุกซนอยู่ไม่นิ่ง
– ไม่สามารถจดจ่อกับกิจกรรมอื่น ๆ ได้นาน ยกเว้นการดูหน้าจอ
– ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมหรือผู้คนรอบข้าง
– ไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
– อยู่ไม่นิ่ง
– มีความผิดปกติทางการพูด เช่น พูดช้ากว่าวัยหรือพูดไม่รู้เรื่องเมื่อเทียบกับพฤติกรรมของเด็กในวัยเดียวกัน
วิธีการตรวจสอบว่าเด็กเข้าข่ายออทิสติกเทียมหรือไม่
– ช่วงอายุ 6 เดือน ไม่ยิ้ม ไม่แสดงอารมณ์สนุกสนาน
– ช่วงอายุ 9 เดือน ไม่ส่งเสียง ไม่ยิ้ม ไม่แสดงสีหน้าโต้ตอบกลับผู้คุย
– ช่วงอายุ 12 เดือน ไม่เล่นน้ำลาย ไม่หันหาเสียงเรียกชื่อ
– ช่วงอายุ 18 เดือน ไม่มีการใช้ภาษาพูดร่วมกับภาษาท่าทาง
ลูกน้อยติดจอเสี่ยงภาวะออทิสติกเทียมได้อย่างไร
“ภาวะออทิสติกเทียม” ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะที่เด็กมีอาการคล้ายกับออทิสติก เมื่อเทียบกับพฤติกรรมของเด็กในวัยเดียวกัน เกิดขึ้นจากการที่เด็กขาดการถูกกระตุ้นในการสื่อสารสองทาง จึงทำให้เด็กเกิดความผิดปกติในการสื่อสารกับบุคคลอื่น เด็กไม่มีทักษะทางสังคมอย่างที่ควรจะเป็น พูดง่าย ๆ ก็คือ ปัญหาไม่ได้เกิดจากสมองของเด็กผิดปกติ ไม่ได้เกิดจากตัวโรค แต่เกิดจากการเลี้ยงดู
ซึ่งสาเหตุก็เกิดมาจากการให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบอยู่กับหน้าจอ พวกสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต นานเกินวันละ 5 ชั่วโมง หรือก็คือให้หน้าจอเหล่านี้เป็นพี่เลี้ยงเด็กนั่นเอง และผู้ปกครองเองก็ไม่ค่อยจะมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กด้วย ไม่พูดคุย ไม่เล่นกับเด็ก คิดว่าปล่อยไว้กับจอดีแล้ว เด็กจะได้ไม่วุ่นวายกับตนเอง
เมื่อปล่อยเด็กไว้กับหน้าจอ เด็กจะรับสารจากคลิปวิดีโอต่าง ๆ ที่ได้ดูเพียงทางเดียว เกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสังคม เด็กขาดการเรียนรู้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาล่าช้าไม่สมวัยด้วย เพราะไม่สามารถถูกฝึกให้เรียนรู้ เลียนแบบ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง แต่เด็กจะสนใจเฉพาะกับเรื่องที่อยู่ตรงหน้า และสิ่งที่สามารถดึงดูดเขาได้เท่านั้น
วิธีป้องกันลูกกลายเป็น เด็กติดจอ
1.จำกัดเวลาใช้หน้าจอ คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งกฎกับลูกน้อยถึงเวลาการใช้มือถือ หรือ แท็บเล็ต เพื่อให้ลูกมีวินัยมากขึ้น รวมไปถึงเพื่อสุขภาพของตัวลูกด้วย
2.พาลูกทำกิจกรรม ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ แทนที่จะเอาแต่ปล่อยให้ลูกน้อยใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไป คุณพ่อคุณแม่อาจหาเวลาพาลูกไปทำกิจกรรม outdoor สนุก ๆ ทำ เช่น ไปออกกำลังกาย วาดรูปศิลปะ เที่ยวทะเล เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการลูกในหลาย ๆ ด้านอีกด้วย
3. เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก ป้องกันปัญหา เด็กติดจอ ในปัจจุบันที่โลกโซเชียลล้ำหน้าไปไกล มีอะไรให้ดูให้ชมมากมาย ในบางครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ที่รู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงานในชีวิตประจำวัน ก็อยากจะมีเวลาให้ตัวเอง อยากผ่อนคลายบ้าง จนบางทีก็เผลอลืมตัวหยิบมือถือขึ้นมาเล่นบ้าง แต่ในบางเวลา คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น อาจเริ่มจากการพูดคุยกับลูกว่าวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง ทำอะไรมาบ้าง เล่าเรื่องให้สู่กันฟัง
4.อย่าปล่อยให้ลูกเล่นมือถือคนเดียว ในบางครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกน้อยใช้เวลากับหน้าจอคนเดียวมากไป เราอาจไม่รู้ว่าลูก ๆ ดูหรือเล่นอะไรอยู่ มีความเหมาะสมมั้ย คุณพ่อคุณแม่ควรดูอย่างใกล้ชิดและสอนลูกน้อยว่าอะไรดีไม่ดี อันไหนควรหรือไม่ควรทำ
การรักษาหรือการพบจิตแพทย์จำเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากปัญหาออทิสติกต้องแข่งกับเวลา ยิ่งในเด็กเล็ก หากรู้ทันและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ผลลัพธ์ของการรักษาหรือแก้ไข จะได้ผลดีกว่ามาก ไม่ว่าจะออทิสติกแท้หรือเทียม นอกจากนี้การที่แนวทางการเลี้ยงดูบุตร รวมถึงการกระตุ้นพัฒนาการ เป็นสิ่งจำเป็นหลักในการรักษาออทิสติกอย่างยิ่ง
บทส่งท้าย
การใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไป ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ และสังคม ของเด็ก ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องห้ามเด็กเล่นกับหน้าจอเลย เพียงแต่ว่าคุณพ่อคุณแม่ควรมีการจำกัดเวลา การใช้จัดสรรเวลาให้เหมาะสม ควบคุมเนื้อหาที่ลูกน้อยเข้าถึง และหมั่นพาไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ต้องใช้โทรศัพท์มือถือหรือโลกโซเชียลมากเกินไป อาจจะช่วยได้
เครดิตรูปภาพ
www.thesun.co.uk www.linkedin.com jewishstandard.timesofisrael.com