วิธีฝึกลูกให้คิดบวกได้ มองโลกในแง่ดีเป็น

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง วิธีฝึกลูกให้คิดบวกได้ มองโลกในแง่ดีเป็น การเลี้ยงลูกให้เติบโตเป็นเด็กที่ไม่ดื้อ ไม่ซนนั้นก็สำคัญแต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นคือการสอนลูกให้มองโลกในแง่บวกมากยิ่งขึ้น ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งมีเรื่องให้คิดไม่ตกเยอะขึ้น ถ้าลูกของเราโตมาเป็นคนที่มีความคิดในแง่บวก ปัญหาที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นปัญหาแบบไหนเด็กย่อมสามารถรับปัญหานั้นได้ด้วยตัวเองแน่ ๆ

การเป็นพ่อแม่ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่มีบทเรียนของลูกมาสอนเราล่วงหน้าจนกว่าจะได้เจอกับตัวเอง ทำให้บ่อยครั้งที่รู้สึกหมดความอดทนแม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ ที่ลูกทำ แต่ “ลูก” ก็คือสิ่งมีชีวิตที่มีค่าที่สุดสำหรับพ่อแม่ ลองมาเป็น “พ่อแม่คิดบวก” ที่จะช่วยให้พวกเรามีความอดทนเพิ่มมากขึ้นในการเลี้ยงลูกกันนะ

สำหรับพ่อแม่นั้น การที่ลูกเป็นเด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ย่อมถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าลูกเป็นเด็กที่เติบโตมามีความคิดบวกและเป็นเด็กที่มีความสุขกับสิ่งเล็กน้อยได้ นั่นถือเป็นกำไรจากการเลี้ยงดูเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะชวนให้พ่อแม่มารู้ถึงวิธีการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กคิดบวกและมีความสุขกัน

1. ใช้ภาษาแง่บวก หลีกเลี่ยงภาษาแง่ลบ

แน่นอนว่าเด็กจะเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมจากผู้ใหญ่ ดังนั้นถ้าพ่อแม่ต้องการให้ลูกเป็นเด็กคิดบวกและมีความสุข จะต้องเริ่มต้นที่การใช้ภาษาในการพูดกับลูก โดยพ่อแม่จะต้องพูดด้วยการใช้ภาษาในแง่บวก และพยายามหลีกเลี่ยงคำพูดที่ออกในเชิงตำหนิ เด็กจะเรียนรู้และเลียนแบบจากผู้ใหญ่ใกล้ตัว ทุกคำพูดของคุณแม่คือสิ่งที่ลูกจะซึมซับและเรียนรู้ คำพูดที่เราพูดออกไปแล้วคิดว่าเด็กเล็ก ๆ จะจำไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย ดังนั้นคำพูดเลยเป็นสิ่งที่ส่งพลังและส่งผลต่อลูกได้อย่างไม่น่าเชื่อ

2.รู้จักขอบคุณ

การขอบคุณและชื่นชมคุณค่าสิ่งที่มี แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย ส่งผลดีต่อลูกในหลาย ๆ ด้าน เช่น ทำให้มีความสุขได้ง่าย ทำให้มีจิตใจอ่อนโยนไม่ก้าวร้าว และยังเป็นพื้นฐานของความช่างสังเกต ความรู้จักมองหาโอกาสในสิ่งต่าง ๆ อีกด้วย พ่อแม่ควรหมั่นแสดงการขอบคุณให้ลูกเห็น โดยเฉพาะเมื่อรับของจากลูก หรือลูกทำสิ่งที่พ่อแม่ภูมิใจก็ควรหมั่นขอบคุณ เพราะเมื่อใดที่พ่อแม่รู้จักขอบคุณและเห็นถึงคุณค่าในสิ่งต่าง ๆ จะทำให้ลูกเป็นเด็กที่รู้จักขอบคุณและเห็นคุณค่าในสิ่งที่มีด้วยเช่นกัน

3.ให้โฟกัสที่ข้อดี

เด็ก ๆ ย่อมมีโอกาสทำผิดพลาดเหมือนผู้ใหญ่ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก พ่อแม่ควรตักเตือนด้วยการใช้ภาษาบวก และหันมาโฟกัสที่ข้อดีที่ลูกทำ ไม่ควรพูดย้ำถึงแต่ข้อเสีย พูดย้ำในสิ่งที่ผิดพลาด เพราะจะทำให้ลูกเชื่อและฝังใจว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่เก่งพอ ไม่มีค่าพอ ดังนั้นเพื่อให้ลูกได้เห็นถึงพฤติกรรมของตัวเอง พ่อแม่ควรพูดให้กำลังใจ สร้างความมั่นใจให้ลูก  วิธีนี้จะช่วยให้ลูกหันมาให้ความสำคัญและหมั่นประพฤติดีต่อไป เพราะการที่ถูกโฟกัสในสิ่งที่ดีของตัวเอง ย่อมสร้างความมั่นใจให้ลูกได้

4.รู้จักจัดการความเครียด

เด็กก็เครียดเป็น และพ่อแม่เองก็ต้องรู้จักที่จะรับมือกับความเครียดของลูก ๆ ซึ่งการรับมือกับความเครียดของลูก ๆ นั้น ควรรับมือด้วยวิธีเชิงบวก เช่น บอกให้ลูกพยายามหายใจลึก ๆ หรือบอกให้นั่งพักนิ่ง ๆ ในระหว่างนี้พ่อแม่ก็สามารถแนะนำลูกให้ผ่อนคลาย และชวนมาแก้ปัญหาที่ทำให้เครียดด้วยกัน เพื่อให้ลูกเข้าใจได้ว่าความเครียดที่เกิดขึ้นมันสามารถหายไปได้

5.เบี่ยงเบนความสนใจแทนการใช้ความรุนแรง

การใช้ความรุนแรง แม้จะได้ผลในเด็กบางกลุ่ม แต่ก็ต้องยอมรับว่าความรุนแรงมีส่วนทำให้เด็กดื้อและเกเรมากกว่าเดิมได้ ดังนั้นเมื่อใดที่ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือต่อต้านพ่อแม่ แนะนำให้พ่อแม่ใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจแทนที่จะใช้วิธีรุนแรง เช่น ตีหรือต่อว่า เพื่อแก้ปัญหา ทั้งนี้การชวนลูกไปทำกิจกรรมข้างนอกก็ดีเช่นกัน

6.เน้นความพยายามมากกว่าผลลัพธ์

      ยกย่องความพยายามของลูกมากกว่าแค่ผลลัพธ์ สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกเห็นคุณค่าของความมุ่งมั่นตั้งใจ แม้ว่าจะไม่ได้ผลตามที่ต้องการก็ตาม เช่น การพูดว่า “แม่ภูมิใจมากนะที่เห็นลูกพยายามและตั้งใจมากเลย ลูกเก่งมากจ้ะ” แทนที่จะพูดว่า “แม่ดีใจที่เห็นเกรดเอ” เพราะการพูดแบบแรกจะช่วยให้ลูกเก่งอย่างมีความสุขและมั่นใจ ไม่ใช่เก่งแบบกดดันตัวเอง

7.ยอมรับในความผิดพลาด

พ่อแม่สามารถยอมรับในความผิดพลาดของตัวเองให้ลูกเห็นได้ เพราะนั่นจะทำให้ลูกได้เห็นว่า เมื่อใดที่ตัวเองทำผิดพลาด ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวในการยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น สำคัญที่สุดคือ พ่อแม่ไม่ควรกลบความผิดพลาดของตัวเองด้วยการใช้อารมณ์ เพราะนั่นจะทำให้ลูกเลียนแบบได้ง่าย

8.ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

     ลองเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำอะไรด้วยตัวเอง ได้ทดลองอะไรใหม่ ๆ ไม่รู้จบ ชื่นชมเวลาที่ลูกคิดทำอะไรแปลกใหม่ รวมไปถึงการตั้งคำถามปลายเปิด เช่น เปลี่ยนจาก “อันนี้สีอะไร” เป็น “ลูกว่าอันนี้จะเป็นสีอะไรได้บ้าง” ทั้งหมดนี้จะช่วยให้รู้สึกสนุกกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ และรู้จักคิดนอกกรอบเมื่อเจอกับทางตัน

9. .ให้ลูกมีสิทธิ์ตัดสินใจในสิ่งที่ดี

เด็ก ๆ ก็มีความรู้สึกอยากลงมือทำหรืออยากตัดสินใจด้วยตัวเอง ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เป็นสิ่งที่พ่อแม่พิจารณาดูแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีแก่ลูก ควรปล่อยให้ลูกมีโอกาสได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือชวนลูกให้มารวมพลังทางความคิดหรือแชร์ไอเดียด้วยกัน หรือลองใช้วิธีพบกันครึ่งทางด้วยการเสนอทางเลือกให้ลูกทุกครั้งที่ทำได้ดู เช่น จะใส่อะไร กินอะไร หรือทำกิจกรรมอะไร แล้วลูกจะมีทัศนคติที่ดีทั้งกับคุณแม่และกับตัวเองมากเลย

10.พ่อแม่ใช้เวลาร่วมกับลูกบ่อยๆ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพ่อแม่ในยุคปัจจุบัน แทบจะไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูกเต็มที่เท่าที่ควร ดังนั้นในช่วงเวลาว่างแนะนำว่าพ่อแม่ควรใช้เวลาร่วมกับลูก หากไม่มีเวลาหรือไม่สะดวกต่อการออกไปทำกิจกรรมข้างนอก ก็สามารถทำกิจกรรมภายในบ้าน เช่น ทำงานบ้าน ล้างรถ รดน้ำต้นไม้ ทำขนม วาดรูป หรือนั่งดูการ์ตูนด้วยกัน

 บทส่งท้าย

การสร้างลูกด้วยแนวคิดเชิงบวกต้องใช้ทั้งเวลา ความอดทน และความร่วมมือที่มากเลยทีเดียว ซึ่งอยากเป็นกำลังใจให้พ่อเเม่ทุกคนที่กำลังพยายามอยู่ในเส้นทางนี้ เราเชื่อว่าความรักที่มีให้ลูกจะต้องทำให้เขาเติบโตมาเป็นเด็กที่ดีแน่นอน

เครดิตรูปภาพ

https://www.cbc.ca https://parenting.firstcry.com https://masandpas.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (182) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)