ลูกไม่ยอมพูด พูดช้ากว่าเกณฑ์  จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกไม่ยอมพูด พูดช้ากว่าเกณฑ์  จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม” อีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ครอบครัวอาจประสบปัญหาอยู่ตอนนี้คือปัญหา ลูกไม่ยอมพูด ลูกพูดช้า ต้องทำไงดี ลูกของเรากำลังผิดปกติอยู่หรือไม่ บทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน เผื่อที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางหาวิธีรับมือกับปัญหานี้ได้

Why is my child stuttering?

เด็กพูดช้า เกิดจากอะไร

ปัญหาเด็กพูดช้า เกิดขึ้นได้จากหลากหลายเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนี้

– ภาวะประสาทหูพิการ คือมีความบกพร่องทางการได้ยิน เนื่องจากได้ยินเสียงเบามาก จนกระทั่งทำให้การรับรู้เรื่องการออกเสียง การฝึกพูด หรือการเรียนรู้ที่จะสื่อสารผ่านการพูดทำได้ไม่ดี จำเป็นจะต้องใช้ท่าทางหรือภาษามือเพื่อทำการสื่อสารแทน

– ความผิดปกติในสมอง หรือภาวะสมองถูกทำลาย คือเกิดความผิดปกติขึ้นในสมอง จนกระทั่งไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ ส่งผลให้กระบวนการสื่อสารทางการพูดทำได้ยาก

– ภาวะออทิสติก เด็กที่มีภาวะออทิสติก จะมีปัญหาเรื่องพัฒนาการด้านการสื่อสาร เนื่องจากมีปัญหาในการเข้าสังคม ทำให้กระบวนการสื่อสารทำได้ช้า ทั้งยังมีความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากเด็กในวัยเดียวกัน

– มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่า 70 หรืออาจจะรู้จักกันในชื่อของ ปัญญาอ่อน เด็กที่มีภาวะเช่นนี้ จะมีพัฒนาการทางด้านการสื่อสาร การใช้ภาษา และการพูดทำได้ช้า รวมถึงยังอาจสื่อความหมายที่ผิดไปจากความเข้าใจของคนอื่น ๆ ด้วย

– ความขี้อาย เด็กบางคนสามารถพูดได้ เข้าใจประโยคคำถาม สามารถทำตามคำร้องขอได้ เพียงแต่เด็กเขินอายเกินกว่าที่จะมีการพูดโต้ตอบด้วย

– ความกลัว เด็กบางคนอาจมีปมฝังใจ เช่น พูดผิด พูดแล้วมีคนหัวเราะ หรือถูกดุเมื่อพูด จึงทำให้เป็นแผลในใจ ทำให้เด็กไม่ยอมพูด พูดน้อย หรือพูดเฉพาะกับคนที่อยากจะพูดด้วยเท่านั้น

Assessing Your Child's Speech Delays: Valencia Pediatrics: Pediatrics

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกพูดช้าผิดปกติหรือไม่

วิธีที่จะสังเกตว่าลูกน้อยของคุณพูดช้าหรือไม่ดูได้จาก 2 ส่วนสำคัญ คือ

1. ลูกเข้าใจภาษาหรือไม่ และลูกใช้ภาษาอย่างไร โดยปกติเมื่อเด็กอายุประมาณ 15 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตว่าเจ้าตัวน้อยของคุณออกเสียงพูดที่มีความหมายบ้างหรือไม่ เช่น        “หม่ำๆ” เวลาหิว หรือในกรณีที่พยายามสื่อสารหรือชวน เช่น “ปะๆ”

2.ในส่วนของความเข้าใจภาษา คือ เด็กควรจะเริ่มหันมอง ชี้ของที่อยากได้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจได้ แต่หากอายุ 15 เดือนแล้วยังไม่พูดคำที่มีความหมายเลย ไม่ตอบสนองกับคำถามง่ายๆ แบบนี้ให้คุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าเด็กน่าจะมีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์

Language delay in children | Raising Children Network

ลูกไม่พูดควรทำอย่างไร

สำหรับวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดนั้น พ่อแม่อาจจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพูดให้มากขึ้น โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

1.การดู พ่อแม่ควรคอยดูปฏิกิริยาของลูกน้อยว่าลูกมีท่าทีอย่างไร เพราะในช่วงแรกๆ ท่าทารกจะใช้ภาษากายในการสื่อสาร เช่น การยื่นของเล่นมาให้คุณ เพื่อบอกว่าเขาอยากเล่นกับคุณ ช่วงนี้พ่อแม่ควรสบตาและทำการตอบสนองลูกตอบ

2.การฟัง พออายุลูกโตขึ้นอีกหน่อย เมื่อเขาพูดอ้อแอ้คุณควรพยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่เขากำลังพูดให้มากที่สุด เพราะลูกน้อยกำลังที่จะฝึกพูดและพยายามเลียนเสียงตามพ่อแม่

3.การเลียนแบบ ทารกมักจะชอบเลียนแบบผู้ใหญ่อยู่แล้ว ดังนั้น พ่อแม่ควรพูดกับลูกบ่อย ๆ โดยพูดช้า ๆ ชัด ๆ คำสั้น ๆ และคำง่ายๆ ก่อน และเว้นจังหวะให้ลูกพูดตาม

4.การชมเชย เวลาที่ลูกพยายามคุยด้วย พ่อแม่อาจยิ้มและปรบมือให้เพื่อเป็นการชมเชยถึงความพยายามของเด็ก เมื่อลูกเห็นลูกจะได้มีแรงผลักดันในการที่จะพูดให้มากขึ้น

5.การอธิบาย เวลาพูดคุยกับลูก พ่อแม่อาจจะชี้ไปยังวัตถุรอบตัว แล้วอธิบายให้ลูกเข้าใจมากขึ้น เช่น “นั่นสุนัขดูมันวิ่งซิลูก” หรือ ชี้มาที่ชามแล้วบอกว่า “เอาข้าวเพิ่มไหมลูก”

6.การเล่น  การส่งเสริมให้ลูกเล่นโดยใช้จินตนาการ เป็นเหมือนการช่วยให้ลูกได้ฝึกพูดเหมือนกัน เพราะเด็กมักจะจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ออกมา พร้อมกับสร้างบทสนทนาขึ้นมาเอง

7.การออกเสียง ฝึกให้ลูกออกเสียงตาม หมั่นฝึกทำทุกวัน เขาจะได้เริ่มจำและทำตาม แต่ไม่ควรกดดันมากจนเกินไป

8.การเล่าเรื่อง  ระหว่างที่พ่อแม่อยู่กับลูก พ่อแม่อาจจะเล่าเรื่องรอบตัว หรือบอกว่าตัวเองจะทำอะไรให้ลูกฟัง เช่น “แม่กำลังตัดเล็บให้ลูกนะ” หรือ “วันนี้ใส่เสื้อสีน้ำเงินไหม มีหมีตัวโตด้วย” การพูดคุยแบบนี้จะเป็นการฝึกความเชื่อมโยงกับให้กับเด็ก

9.ปล่อยให้ลูกพูดเอง ทุกครั้งที่พ่อแม่พูดกับลูกต้องพยายามปล่อยให้ลูกพูดบ้าง ไม่ใช่ว่าพูดใส่ลูกอย่างเดียวจนลูกไม่มีจังหวะพูดออกมา และในช่วงแรกอาจชวนลูกพูดในเรื่องที่สนใจ ให้เขาเล่าออกมา

บทส่งท้าย

การเอาใจใส่พัฒนาการของเด็กด้านการใช้ภาษาและการพูดตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม เนื่องจากพัฒนาการทางด้านภาษา มีความเกี่ยวข้องกับภาวะความบกพร่องด้านอื่น ๆ และเกี่ยวข้องกับระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กในอนาคตต่อไป และหากเด็กไม่ได้รับการดูแล หรือรับการรักษาอย่างถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ อาจทำให้เด็กมีปัญหาสื่อสารกับผู้อื่นไม่ได้ บอกความต้องการไม่ได้ จนเกิดความเครียด มีปัญหาด้านสุขภาพจิตใจตามมา

เครดิตรูปภาพ news.sanfordhealth.org www.valenciapediatrics.com raisingchildren.net.au

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (193) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (183) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)