บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ลูกเหงื่อออกตอนนอน อันตรายไหมสัญญาณบ่งบอกอะไรหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็ก เคยสังเกตไหมว่าเวลาที่ให้ลูกนอนในห้องแอร์และ
ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศาเซลเซียล ลูกน้อยของคุณจะต้องดึงผ้าห่มทุกที อีกทั้งในบางรายยังมีเหงื่อออกตามร่างกาย อาทิ หัว ผม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดจากอะไรนั้นและมีอันตรายร้ายแรงหรือไม่ ต้องติดตาม
ทำไมลูกถึงมีเหงื่อออกตอนนอน
ลูกเหงื่อออกตอนนอน เกิดจากความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานในร่างกายมีมาก จึงเกิดการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ทำได้โดยการขับออกเป็นเหงื่อ แต่คุณแม่ควรสังเกตุอาการอื่นๆร่วมกับเหงื่อออก เช่น นอนกัดฟัน นอนกรน ดูดนมแล้วเหนื่อย เช่นนี้ถือเป็นความผิดปกติที่คุณแม่ต้องระวังนะ เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการอื่น ๆ ได้
ลูกมีเหงื่อออกที่ศีรษะมาก
โดยสาเหตุที่ทารกมักจะมีเหงื่ออกบริเวณศีรษะนั้น เกิดจาก กลไกการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ของเด็ก ๆ เนื่องจากเด็ก ๆ นั้นต้องการพลังงานสูงมากกว่าผู้ใหญ่เมื่อเทียบกับน้ำหนัก โดยพลังงานจากสารอาหารต่าง ๆจะถูกนำมาใช้เพื่อการสร้างเนื้อเยื่อ สร้างเซลล์สมอง สร้างเซลล์กล้ามเนื้อ และ อวัยวะต่าง ๆ ด้วยการนี้เบบี๋จึงต้องการใช้พลังงานสูงมาก ๆ ขยายความอีกนิดนึง โดยกล้ามเนื้อหัวใจในเด็กทารกนั้นเป็นเซลล์กล้ามเนื้อชนิดที่ล้าง่าย จึงต้องการพลังงานสูง
ก็จะสังเกตได้ว่าชีพจรของทารกนั้นจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ โดยเด็กแรกเกิดชีพจรจะเต้น 140 ครั้งต่อนาที และลดลงปรับอัตราการเต้นลง เมื่อเค้าเติบโตขึ้น จนเป็น 60-80 ครั้งต่อนาทีแบบผู้ใหญ่เรา ด้วยกลไกทั้งหมดเหล่านี้จึงสรุปได้ว่าความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานก็ที่มีมาก ร่างกายก็จะการระบายความร้อนออกมในรูปของเหงื่อมากนั่นเอง ดังนั้นการที่เห็นว่าทารกนอนดูดนมเฉย ๆ ทำไมถึงมีเหงื่อเยอะจัง จึง “ไม่ผิดปกติ”
สัญญาณอันตราย ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ ลูกเหงื่อออกตอนนอน
อาการผิดปกติต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ลูกเหงื่อออกตอนนอนที่คุณแม่ต้องระวังมีดังนี้ครับ
1.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจมีอาการเหงื่อออกมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นมีสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตของหัวใจบกพร่องขณะทารกอยู่ในครรภ์
2.ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกเหงื่อออกตอนนอนได้ มักเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะในช่องทางเดินลมหายใจ ทำให้หายใจขัด หากลูกของคุณมีอาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็อาจมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ผิวหนังออกสีฟ้า หายใจเสียงดังคล้ายเสียงกรน
3.ภาวะหลั่งเหงื่อมาก หรือภาวะเหงื่อท่วม หากลูกน้อยของคุณเหงื่อออกมากทั้งที่นอนห้องแอร์ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดจากภาวะหลั่งเหงื่อมาก หรือภาวะเหงื่อท่วม โดยจุดที่มีเหงื่อออกมากได้แก่ รักแร้ รองลงมาคือฝ่าเท้า และฝ่ามือ โดยภาวะนี้เป็นอาการที่ไม่ส่งผลร้ายต่อร่างกายมากนัก แต่หากคุณแม่ยังเป็นกังวล ก็อาจพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องได้
4.โรคไหลตายในทารก โรคไหลตายในทารกหรือ SIDS ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นในเวลากลางคืนซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ลูกน้อยเหงื่อออก และหายใจลำบากจนอาจเป็นเหตุทำให้เด็กเสียชีวิตได้
ข้อแนะนำหาก ลูกเหงื่อออกตอนนอน
1.ปรับอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสม
ปรับอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่พอดี ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป อาจอยู่ที่ประมาณ 25-27 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิห้องพอดีแล้ว ก็ไม่ควรใส่เสื้อผ้าให้ลูกหลายชั้นหรือห่มผ้าให้ลูกหนาชั้น เพราะจะทำให้ลูกน้อยของคุณไม่สบายตัว
2.ระวังไม่ให้ลูกขาดน้ำ
คุณแม่ควรให้ลูกดื่มนมก่อนเข้านอน หรือหากลูกของคุณมีอายุมากกว่า 6 เดือน คุณสามารถให้ลูกดื่มน้ำก่อนเข้านอนเพื่อชดเชยเหงื่อที่จะเสียไป
3.เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย
พยายามเลือกชุดที่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดีและแห้งเร็ว จะช่วยลดแบคทีเรียหรือกลิ่นอับชื้นเวลาลูกน้อยเหงื่อออก และคุณแม่ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าโปร่งสบาย ไม่ระคายเคืองต่อผิวลูก
เรื่องน่ารู้ เปิดแอร์อย่างไรให้เหมาะสม
1. ปรับอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่พอดีไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ที่ประมาณ 25-27 องศาเซลเซียส
2. ตั้งปรับพัดลมของแอร์ให้เป็นระบบ Auto Swing และตั้ง Sleep โหมด เพื่อทำให้อุณหภูมิในห้องไม่เย็นจนเกินไป และกระจายความเย็นทั่วห้อง
3. หลีกเลี่ยงการเปิดแอร์ในตอนเช้าและตอนกลางคืน เพราะอากาศค่อนข้างเย็นอยู่แล้ว
4. ตั้งเตียงหรือเบาะนั่งเล่นของลูกเลี่ยงทิศทางลม ไม่ให้อยู่ในระดับทางลมแอร์พัดโดยตรง เพราะเมื่อลมแอร์ตกลงที่ศีรษะเด็กโดยตรงอาจทำให้ลูกไม่สบายได้
5. เปิดห้องให้อากาศบริสุทธิ์ภายนอกไหลเวียนเข้ามาบ้าง อย่างน้อยวันละ 3-4 ชั่วโมงขึ้นไป รวมทั้งเปิดม่านให้แดดส่องเพื่อฆ่าเชื้อโรคในห้อง
6. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเฟอร์นิเจอร์ให้ปราศจากฝุ่นดีกว่าการปัดฝุ่น เพราะการปัดจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายยิ่งขึ้น
7. หลีกเลี่ยงการใช้แอร์เคลื่อนที่ชนิดเติมน้ำหรือเติมน้ำแข็ง เพราะว่าจะทำให้ลูกหายใจเอาละอองน้ำเข้าไปด้วย ส่งผลให้ปอดบวมหรือปอดชื้นได้
วิธีสังเกตทารกนอนสบาย
1.วิธีสังเกตอุณหภูมิที่เหมาะสมอย่างง่ายที่สุดก็คือ ผู้ใหญ่ เช่น คุณพ่อคุณแม่ก็รู้สึกว่าไม่ได้ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ซึ่งทารกก็อาจรู้สึกเช่นเดียวกัน
2.หากไม่แน่ใจว่าทารกตัวร้อนหรือเย็นเกินไปหรือไม่ ก็สามารถใช้ปรอทวัดไข้มาวัดอุณหภูมิของทารกได้
3.หรืออาจใช้วิธีที่ง่ายที่สุดคือสัมผัสบริเวณท้องและหลังของทารกว่าร้อนหรือเย็นเกินไปหรือไม่ มีเหงื่อออกเยอะมากกว่าปกติหรือเปล่า หากพบว่าทารกตัวอุ่นดีก็ไม่ต้องกังวล
บทส่งท้าย
หากลูกน้อยของคุณมีอาการอื่นร่วมกับอาการเหงื่อออกเช่น นอนกัดฟัน นอนกระสับกระส่าย มีเสียงกรน หรือหากก่อนหน้านี้ลูกของคุณมีอาการบาดเจ็บทางศีรษะ คุณควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอย่างถูกวิธีนะ
เครดิตรูปภาพ