ลูกเป็นผดร้อน เรื่องจุกจิกในช่วงหน้าร้อนของเบบี๋ ที่คุณแม่ต้องรับมือและใส่ใจเป็นพิเศษ

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกเป็นผดร้อน เรื่องจุกจิกในช่วงหน้าร้อนของเบบี๋ ที่คุณแม่ต้องรับมือและใส่ใจเป็นพิเศษ” ในช่วงฤดูร้อน หรือช่วงที่มีอากาศอบอ้าว คุณแม่อาจเคยสังเกตเห็นว่า อยู่ ๆ ลูกก็มีผื่นแดงเม็ดเล็ก ๆ หรือตุ่มน้ำใส ๆ ขึ้นตามไรผม หน้าผาก คอ หลัง รวมถึงบริเวณข้อพับ แขน และขาหนีบ แล้วผดร้อนนั้นเกิดจากอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน

Baby Heat Rash: Prickly Heat (Miliaria) in Babies Signs, Causes & Treatment

ผดร้อนทารก คืออะไร 

          ผดร้อน (Miliaria bubra) คือ หนึ่งในอาการของโรคผิวหนังที่เกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ มักเกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน หรือช่วงที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น พบได้ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณใบหน้า คอ ข้อพับ หลัง อก แขน ขาหนีบ หรือบริเวณใต้ร่มผ้าที่มีความอับชื้น ผดร้อนพบมากในเด็กทารก ที่ต่อมเหงื่อและผิวหนังยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ดี

ผดร้อนทารก อาการเป็นอย่างไร

          อาการของผดร้อน แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับความลึกของการอุดตันของท่อเหงื่อ ได้แก่

– ผดร้อนทารก Miliaria Crystallina เป็นการอุดตันของผิวหนังชั้นบนสุด ตัวผดจะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส ๆ ขนาดเล็กประมาณ 1–2 มิลลิเมตร ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน แต่ตุ่มน้ำจะแตกง่ายมาก

– ผดร้อนทารก Miliaria Rubra เป็นการอุดตันของต่อมเหงื่อบริเวณผิวหนังชั้นนอก แต่ลึกลงไปมากกว่าชั้น Miliaria Crystallina มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดง หรือตุ่มน้ำใส ๆ มีอาการแสบคันร่วมด้วย

– ผดร้อนทารก Miliaria Pustulosa เป็นการอุดตันที่ผิวหนังชั้นที่ลึกลงมา มีลักษณะเป็นตุ่มหนอง

– ผดร้อนทารก Miliaria Profunda เป็นการอุดตันที่เกิดในชั้นหนังแท้ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง ไม่เจ็บหรือคัน

Heat Rash in Infants – Reasons, Signs & Home Remedies

ผดร้อนทารกเกิดจากอะไร  

ผดร้อน ผดผื่นทารก เกิดขึ้นจากสาเหตุหลัก คือ ต่อมเหงื่ออุดตัน เมื่อต่อมเหงื่อเกิดการอุดตัน จะทำให้เหงื่อไม่สามารถไหลออกมาภายนอกได้ และเหงื่อก็ไม่สามารถจะระเหยบนผิวหนังได้ด้วย เมื่อเหงื่อระบายออกมาไม่ได้ หยดเหงื่อเหล่านั้นก็จะติดอยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบและกลายเป็นผื่นขึ้นมา ส่วนสาเหตุที่ทำให้ต่อมเหงื่ออุดตันนั้นก็เกิดมาได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น

– สภาพอากาศที่ร้อนชื้นหรือร้อนมาก

– ทารกมีไข้สูง

– ทารกที่อยู่ในตู้อบหลังคลอด มีโอกาสเสี่ยงที่ต่อมเหงื่อจะอุดตัน

– สวมใส่เสื้อผ้าหลายชั้น หรือเสื้อผ้าหนามากเกินไป ทำให้เหงื่อไม่สามารถระเหยออกมาได้

– การเสียดสีระหว่างผิวหนังและเสื้อผ้า

ผดร้อนทารกกี่วันหาย

โดยปกติแล้วผดร้อนจะหายเองได้เมื่ออุณหภูมิในร่างกายและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเย็นลง โดยอาจใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 วันเท่านั้น อย่างไรก็ตามร่างกายของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน เด็กบางคนอาจมีอาการดีขึ้นเพียง 1-2 วัน เด็กบางคนอาจใช้เวลานานกว่านั้น แต่ถ้าผ่านไป 3 วัน หรือนานกว่านั้น แล้วผดร้อนไม่มีท่าทีว่าจะทุเลาลง หรือมีผดร้อนเพิ่มมากขึ้น ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที

Diaper Rash to Kids Eczema | When to See a Pediatrician for a Rash

ผดร้อนทารกแบบไหนที่ควรพาลูกไปหาหมอ

หากเด็กเป็นผดร้อน และมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันที

– เป็นผดไม่หายสักที และมีอาการแสบร้อนร่วมด้วย

– ผดร้อนเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง เป็นริ้ว ดูเหมือนแผล

– ต่อมน้ำเหลืองแถวรักแร้ ขาหนีบ และคอบวม

– รู้สึกคันและปวดบริเวณที่ผดขึ้น

– มีอาการไข้

Baby care during monsoon: Tips to get rid of prickly heat rash in babies! |  Health News | Zee News

ผดร้อนทารก วิธีรักษาทำอย่างไร

1.หลีกเลี่ยงอากาศร้อน ไม่ควรให้ลูกตากแดด และให้อยู่ในสถานที่ถ่ายเทอากาศได้ดี

2.เลือกให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อโปร่ง บางเบา ระบายอากาศและเหงื่อได้ง่าย เพื่อป้องกันความอับชื้นและการสะสมของเชื้อราหรือแบคทีเรียใต้ร่มผ้า

3.ถ้าอากาศร้อนมาก ให้พาลูกอาบน้ำเย็น โดยปล่อยน้ำไหลผ่านผิวเบา ๆ ไม่ต้องถูตัวแรงเพื่อลดการเสียดสี เมื่อล้างเหงื่อออกก็จะทำให้ผดผื่นลดลงได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงน้ำอุ่น และสบู่ที่อาจก่อให้เกิดความระคายเคือง

4.ช่วงที่ลูกเป็นผดร้อนเยอะมาก ควรเลี่ยงการใช้แป้งฝุ่นไปก่อน เพราะแป้งจะไปอุดตันรูขุมขน ทำให้ผิวหนังเกิดความร้อนและอักเสบขึ้นได้

5.หากจะใช้ครีมทาผิวเด็ก ควรเลือกครีมหรือโลชั่นสำหรับเด็กสูตรอ่อนโยน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น และไม่ทำให้ผิวอุดตัน

6.ในกรณีที่ลูกมีอาการคัน สามารถใช้ยาขี้ผึ้งหรือผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นผิวเพื่อบรรเทาอาการ อย่าง คาลาไมน์ หรือลาโนลิน

วิธีป้องกันผดร้อนในเด็ก

1.หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทำให้ผิวของลูกน้อยระคายเคือง เช่น สบู่ ขนสัตว์ อาหารที่ลูกแพ้ อากาศร้อน เสื้อผ้าหนา ๆ ซึ่งทำให้ลูกเหงื่อออกง่าย เป็นต้น

2.ดูแลผิวลูกน้อยให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ด้วยการอาบน้ำวันละ 1 ครั้ง พร้อมใช้สบู่ที่อ่อนโยนต่อผิวและให้ความชุ่มชื้นได้ จากนั้นทาขี้ผึ้ง หรือใช้เป็น     วาสลีน โลชั่น ครีมทาผิว ชนิดสำหรับเด็กก็ได้เช่นเดียวกัน

2.หมั่นสังเกตอุณหภูมิร่างกายของเด็กอยู่เสมอ โดยดูจากผิวที่เริ่มมีสีแดงเลือดฝาดหรือเสื้อผ้าที่เปียกชื้น รวมถึงสังเกตผิวของลูกน้อย โดยเฉพาะลำคอ หว่างขา และบริเวณข้อพับอื่น ๆ หากผิวหนังของลูกมีความร้อน ชื้น หรือมีเหงื่อออกมาก ควรล้างบริเวณดังกล่าวด้วยน้ำเย็นและซับเบา ๆ ให้แห้ง

บทส่งท้าย

ด้วยช่วงนี้ที่อากาศร้อน แบบร้อนมาก ซึ่งผู้ใหญ่บางคนยังอยู่แบบลำบากเลย ซึ่งในเด็กทารกนั้นก็ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และปัญหาผดร้อนในทารกก็สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็ก ๆ ทุกคน พ่อแม่จึงควรรู้วิธีจัดการและดูแลผิวของลูกน้อยให้ดีที่สุด เพื่อความสบายตัวและสบายใจทั้งครอบครัว

เครดิตรูปภาพ www.whattoexpect.com parenting.firstcry.com www.healthgrades.com zeenews.india.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)