บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ลูกอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี หากครอบครัวบ้านไหนที่กำลังประสบปัญหาที่ลูกยังอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ อาการอาจหนักขึ้น ถึงขั้นอ่านไม่ได้ เขียนไม่ถูก สะกดคำศัพท์ผิด อ่านและเขียนตก ๆ หล่น ๆ
ลูกอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้เกิดจากสาเหตุใด
ลูกกำลังประสบปัญหา อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ทั้ง ๆที่ ก็เรียนที่เดียวกัน เรียนห้องเดียวกับลูกของผู้ปกครองท่านอื่นๆ แต่ทำไมลูกเค้า อ่านได้ เขียนคล่อง มารู้จัก “ความบกพร่องทางการเรียนรู้” หรือ LD
LD คือ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) เป็นความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกมาทางด้านปัญหาการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณ และ เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติ และ มีความสามารถด้านอื่นปกติดี
อ่านไม่ออกเขียน เขียนไม่ได้แก้ไขอย่างไร
เมื่อการอ่าน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริม ลูกให้มี ทักษะรอบด้าน ทั้งการสังเกต
การเรียนรู้ การลำดับความ สู่การประมวลความคิดรวบยอดจึงจะเรียกว่าเป็นการอ่านที่สมบูรณ์ การเกิดการเรียนรู้การอ่านในแต่ละครั้งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 3 ประการกับลูก คือ
1.การเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ ความคิด ความเข้าใจ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง เช่น ความคิดรวบยอด
2.การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์หรือความรู้สึก หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น ความเชื่อเจตคติ ค่านิยม
3.การเปลี่ยนทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อให้เกิดทักษะ และ ความชำนาญ เช่น การว่ายน้ำ เล่นกีฬา
คุณพ่อคุณแม่ควรรับมือกับปัญหานี้อย่างไรดี
1.อย่าลงโทษจนกว่าจะรู้สาเหตุ การลงโทษเด็กเพราะเขาอ่านเขียนไม่ได้โดยไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดไม่ช่วยแก้ปัญหา คุณควรสังเกตผลการเรียนของลูก และคุยกับคุณครูเป็นระยะ ๆ อย่ารอจนโรงเรียนส่งจดหมายเชิญคุณไปพบ คุยกับคุณครูเรื่องพัฒนาการของลูก และจัดการกับสถานการณ์เมื่อรู้ต้นตอของปัญหา อย่าดุลูกต่อหน้าคนอื่น เพราะการดุด่ารังแต่จะทำให้ลูกเสียความมั่นใจและไม่อยากเรียนรู้
2.รักและให้กำลังใจลูก ยอมรับจุดอ่อนของลูก คุณไม่ควรโกรธ แสดงความผิดหวัง หรือบั่นทอนกำลังใจลูก อย่าคาดหวังในตัวลูกสูงเกินไป พยายามให้กำลังใจลูกเมื่อเขาทำไม่ได้ บอกเขาว่าคราวหน้าเขาจะทำได้ดีขึ้น อย่าเปรียบเทียบลูกกับลูกคนอื่น ๆ
3.สอนลูกอย่างอดทน สอนลูกให้รู้พื้นฐานของตัวอักษรก่อน เช่น หน้าตาตัวอักษรแต่ละตัวเป็นอย่างไร และเขียนอย่างไร ใช้อุปกรณ์การสอนมาช่วยเพื่อให้ลูกจำและทำให้ลูกรู้สึกสนุกกับการเรียน อาจใช้วิธีเรียนโดยการเล่นเกม ถ้าเจอวิธีที่ได้ผล ก็ใช้วิธีนั้นจนกว่าลูกจะอ่านและเขียนตัวอักษรได้ทั้งหมด จากนั้นจึงเริ่มผสมคำเป็นคำง่าย ๆ สั้น ๆ เมื่อเขาเริ่มอ่านคำได้บ้าง ลองหานิทานง่าย ๆ มาให้เขาลองอ่าน ให้เขาเลือกเรื่องที่เขาอยากอ่าน
4.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญถ้าคุณสอนเองไม่ได้สำเร็จ ถ้าคุณสอนแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือไม่มีเวลา ลองขอให้คุณครูหรือคนที่เชี่ยวชาญในการสอนเด็กอ่านช่วย นี่ไม่ได้หมายความว่าเด็กที่มีปัญหาเรื่องการอ่านเขียนจะต้องเข้าโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ เขายังคงเรียนในโรงเรียนปกติได้ แต่พยายามเลือกโรงเรียนที่คุณครูสามารถเอาใจใส่นักเรียนแต่ละคนได้เต็มที่
วิธีสร้างสรรค์ง่ายๆ ในการสร้างนิสัยรักการอ่านของลูก
1.สร้างเรื่องอ่าน เป็นการเล่น ควรมองการเล่นของลูก เป็น หนังสือ ประเภทต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น หนังสือมีเสียง มีรูปภาพ รูปทรงและพื้นผิวน่าสัมผัส สีสันสดใส แล้วหยิบยื่นให้ลูกสู่การสัมผัสคล้ายการเล่นของเล่นตามปกติ วิธีนี้สามารถช่วยกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น และลูกก็จะหยิบ อ่านหนังสือ แทนของเล่นนั่นเอง
2.สร้างสิ่งแวดล้อม เสริมการอ่านด้วยการสร้างสิ่งแวดล้อมในการอ่านถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่พ่อแม่ควรจัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูกเพื่อกระตุ้นการพบเห็น สร้างความคุ้นเคย และทำความรู้จักกับหนังสือ
ต่าง ๆ มากขึ้น เช่น เวลานั่งเล่นพ่อแม่อาจหาหนังสือที่หลากหลาย เน้นสีสันวางไว้รอบ ๆ ตัวลูก เพื่อให้ลูกรู้จักการหยิบจับสู่การสำรวจ และนำสู่การอ่าน
3.สร้างบรรยากาศจูงใจ ให้อยากอ่าน บรรยากาศอาจมองเป็น เรื่องทางอามรณ์ และ ความรู้สึกของลูก แต่การสร้างบรรยากาศเป็นจิตวิทยาทางด้านจิตใจอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม พ่อแม่ควรจัดมุมอ่านหนังสือของลูกภายในบ้าน สร้างความเป็นกันเองในการอ่านหนังสือร่วมกัน บรรยากาศจึงมีความสัมพันธ์ในการสร้างแรงจูงใจในการอ่านของลูก
4.สร้างน้ำเสียงน่าฟัง อาจมีหลายครั้งที่ลูกสนใจการอ่านหนังสือ แต่ลูกกลับไม่ยอมอ่านหนังสือเอง พ่อแม่จึงควรอ่านเป็นแนวทางให้ลูก ด้วยการใช้น้ำเสียงให้น่าฟัง และมีความแตกต่างจากอ่านแบบธรรมดา สู่การอ่านแบบเล่าเรื่องคล้ายนิทาน การส่งเสริมการอ่านลักษณะนี้ลูกจะชอบมาก เพราะลูกมักจะสร้างจินตภาพจาก การอ่าน และ การฟัง สู่การประมวลผลการรับรู้นั่นเอง
บทส่งท้าย
พัฒนาการทางภาษาของเด็กถือเป็นเรื่องสำคัญจึงต้องคำนึงถึงความพร้อมและการฝึกฝนเป็นสำคัญ ให้ลูกฝึกทำไปทีละขั้น ขยับจากง่ายไปยากขึ้นทีละน้อยๆ แล้วผลที่ออกมาจะดีเอง
เครดิตรูปภาพ
https://www.marketwatch.com https://eagerreaders.in https://www.maggiedent.com https://www.boldsky.com