ลูกหัวโน ล้มหัวกระแทกพื้นบ่อยๆ อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ลูกหัวโน ล้มหัวกระแทกพื้นบ่อยๆ อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรดี ลูกล้มหัวฟาดพื้น เด็กเกิดอุบัติเหตุศีรษะกระแทก อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลาที่เด็ก ๆ อยู่ในสายตาผู้ใหญ่และเวลาที่ไม่มีใครเห็น ทำให้เป็นการยากที่ผู้ปกครองจะบอกความรุนแรงของการบาดเจ็บได้ โดยส่วนใหญ่การบาดเจ็บมักไม่รุนแรง อาจพบแค่ รอยเขียวช้ำเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ปัญหาเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความกังวลใจอยู่แล้ว ซึ่งปัญหาเหล่านี้อันตรายมากแค่ไหน คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรบทความนี้มีคำตอบ 

ลูกล้มหงายหลังหัวฟาดพื้น อันตรายไหม

ขึ้นอยู่กับว่าพื้นนั้นแข็งมากแค่ไหน ลูกหงายหลังตกจากพื้นที่สูงมากแค่ไหน หากตกจากพื้นเตี้ย ๆ และพื้นไม่แข็ง ก็อาจจะไม่อันตรายมาก ทำการปฐมพยาบาลและสังเกตอาการ 

24 ชั่วโมง  แต่ถ้าลูกตกจากที่สูง และศีรษะฟาดเข้ากับพื้นแข็ง กรณีนี้หลังจากทำความสะอาดแผลและปฐมพยาบาลเสร็จแล้ว ให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันทีโดยไม่ต้องรอดูอาการ

ลูกล้มหัวฟาดพื้น อุบัติเหตุที่อาจส่งผลร้ายแรงกว่าที่คิด 

อาการหกล้ม หัวฟาด หัวโน แม้จะดูเป็นอุบัติเหตุโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นได้สำหรับเด็ก แต่บางครั้งการหกล้ม หรือหัวฟาดเพียงครั้งเดียวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางสมองได้ เพราะเป็นการกระทบกระเทือนที่ศีรษะโดยตรง ซึ่งกะโหลกศีรษะของเด็กนั้นยังไม่ได้แข็งแรงเท่ากับผู้ใหญ่ อาการพลัดตก หกล้ม และศีรษะได้รับการกระแทกรุนแรง อาจส่งผลต่อการทำงานของสมอง หรือก่อให้เกิดอาการข้างเคียงเกี่ยวกับสมองได้

อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ “Concussion Syndrome” เมื่อศีรษะกระแทก คืออะไร

Concussion Syndrome คือกลุ่มอาการของสมองที่ถูกกระทบกระเทือน ซึ่งทำให้เกิดการทำงานผิดปกติ โดยทั่วไปอาการเหล่านี้จะเป็นแค่ชั่วคราว และส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 

6 สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการ ยาวนานกว่านั้นจะต้องกลับมาพบแพทย์ ลูกล้มหัวฟาดพื้น ควรสังเกตอาการ Concussion Syndrome เพราะสมองอาจได้รับการกระทบกระเทือน

กลุ่มอาการนี้ประกอบด้วย

– อารมณ์เปลี่ยนแปลง สับสน หงุดหงิดง่าย งอแง หรือเรียกร้องมากผิดปกติ

– ไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่สามารถทนต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้ เช่น ที่ที่มีคนพลุกพล่าน หรือเสียงดัง

– นอนหลับไม่สนิท มีผวาตื่น หรือฝันร้าย

– มีปัญหาเกี่ยวกับความจํา การเรียน คิดช้าทำช้าและไม่มีสมาธิ

– ปวดศีรษะไม่รุนแรง นอนพักหรือกินยาพาราเซตามอลก็หายได้เอง

– การมองเห็นไม่เป็นปกติ พูดไม่ชัดหรือติดขัดในการคิดคําพูด

– อาเจียนเล็กน้อย เช่น 1-2 ครั้งต่อวัน มักเป็นเวลาเหนื่อย หรือปวดศีรษะ

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำเมื่อ ลูกล้มหัวกระแทกพื้น

1. อาการภายนอกที่สังเกตได้

– ร้องไห้งอแง ลูกอาจจะร้องไห้เพราะเจ็บบริเวณที่โดนกระแทก ประมาณ 10 นาที ก็จะกลับมาวิ่งเล่นได้เหมือนเดิม หรือเด็กบางคนอาจใช้เวลามากขึ้น เพราะความเจ็บและตกใจ ในขณะที่เด็กบางคนอาจจะขอนั่งพักเฉยๆ ประมาณ 15 – 30 นาที แต่หลังจากนั้นก็จะดีขึ้นและกลับมาเป็นปกติ

– หัวโนหรือห้อเลือด โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก จะมีเลือดไปเลี้ยงบริเวณนี้มาก หากได้รับบาดเจ็บมักจะทำให้เลือกออกใต้ผิวหนัง จนทำให้เกิดรอยช้ำหรือห้อเลือดที่สังเกตเห็นได้ง่าย

(วิธีปฐมพยาบาลคือ ประคบเย็น ด้วยผ้าขนหนูสะอาดห่อน้ำแข็ง วางไว้บริเวณที่บวมประมาณ 20 นาที และทำซ้ำได้เรื่อย ๆ หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น และควรสังเกตอาการต่ออีกสองชั่วโมง หากไม่มีการบวมเพิ่มขึ้น ถือว่าไม่มีอะไรผิดปกติ)

– มีแผลเลือดออกเล็กน้อย สำหรับแผลถลอกให้ล้างออกด้วยน้ำเปล่า แต่หากมีเลือดออก ให้ใช้ผ้าพันแผลหรือผ้าสะอาด กดที่บาดแผลเอาไว้จนกว่าเลือดจะหยุด

– หัวแตก หากเกิดจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง ส่วนใหญ่แผลหัวแตกจะไม่มีผลต่อสมอง และสามารถรักษาได้ด้วยการทำแผลหรือเย็บแผลให้เรียบร้อย แต่ก็มีประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่หัวแตกและมีอาการกระโหลกร้าวร่วมด้วย

2. ติดตามสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด

– เฝ้าดูอาการสองชั่วโมงแรก หลังจากลูกหัวกระแทกพื้น หรือหกล้มหงายหลัง สิ่งแรกที่ควรทำคือสำรวจบาดแผลภายนอก ให้ลูกนั่งพัก และเฝ้าติดตามอาการตลอดสองชั่วโมงแรก ลูกอาจรู้สึกเจ็บบริเวณที่ถูกกระแทกอยู่บ้าง แต่หากไม่มีอาการผิดปกติรุนแรง สามารถให้ลูกเริ่มทำกิจกรรมเบาๆ หรืองีบหลับได้

– ติดตามอาการภายใน24ชั่วโมง ให้คุณพ่อคุณแม่เฝ้าดูอาการของลูกอย่างระมัดระวังต่อไปอีก

 24 ชั่วโมง เช่น หลังจากลูกนอนหลับได้สองชั่วโมง ให้ลองปลุกลูกและสังเกตว่าลูกสามารถตอบสนอง พูดคุย และลุกขึ้นเดินได้ตามปกติ

– สังเกตต่ออีก 48 ชั่วโมงเพื่อความแน่ใจ หากลูกยังมีตื่นตัวและตอบสนองได้ดี เป็นสัญญาณว่าคุณพ่อคุณแม่เริ่มเบาใจได้แต่ก็ยังควรเฝ้าดูอาการและสังเกตความผิดปกติต่อไปอีก

 36-48 ชั่วโมง เพราะอาจมีอาการบาดเจ็บรุนแรงที่เกิดขึ้นช้ากว่าปกติได้

3.หากมีอาการุนแรงควนพาไปพบแพทย์ทันที

– อาเจียน หลังเกิดเหตุ ลูกมีการอาเจียนมากกว่า 2-3 ครั้ง

– สลบ หรือหมดสติ นานกว่า 5 วินาที หรือมีอาการนอนนิ่ง ไม่ร้อง และไม่ลุกขึ้นหลังเกิดการกระแทก

– ตัวซีดผิดปกติ นานกว่า 1 ชั่วโมง

– หัวโนบวมมาก สังเกตบริเวณที่โดนกระแทก หากเกิดการบวมใหญ่กว่า 1 นิ้วหรือ 2.5 เซนติเมตร หรือบวมมากขึ้นเรื่อย ๆ

– เลือดออกไม่หยุด หากมีแผลเปิดเป็นวงกว้าง เลือดออกเยอะ และไหลไม่หยุดนานเกิน 10 นาที ให้นำส่งโรงพยาบาลเพื่อเย็บแผล และสังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วย

– พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เลือดกำเดาไหล จำอะไรไม่ได้ชั่วคราว กระสับกระส่าย สับสน พูดไม่เป็นคำ เดินหรือนั่งไม่มั่นคง แขนขาอ่อนแรง หลับแล้วตื่นยาก เซื่องซึมอย่างเห็นได้ชัด 

มีอาการชัก อาจมีอาการปวดหัวรุนแรงมากขึ้น

บทส่งท้าย

ในช่วงที่ลูกหัดเดินอาจจะมีล้มบ้าง ทำให้หัวโน หัวปูดได้ บางครั้งก็เป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ตลอดเวลา ทั้งนี้การป้องกันอุบัติเหตุเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ไม่ควรปล่อยลูกน้อยไว้ให้อยู่ลำพัง หรือไกลสายตา เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุกับลูกน้อยของเราได้โดยไม่ทันตั้งตัว

เครดิตรูปภาพ

https://www.healthline.com https://www.shutterstock.com https://www.verywellfamily.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (182) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)