ลูกพูดติดอ่าง ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมือกับปัญหานี้อย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ลูกพูดติดอ่าง ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมือกับปัญหานี้อย่างไรดี การพูดถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญอย่างหนึ่งว่าเด็กมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตสมวัยหรือไม่ เด็กบางคนพูดจาน่ารักน่าเอ็นดู พูดเป็นนกแก้วนกขุนทอง แต่เด็กบางคนโตจนตั้งไข่หัดเดินได้แล้ว กลับไม่รู้ภาษา ฟังไม่รู้เรื่อง พูดไม่ได้แม้แต่คำว่าพ่อและแม่ หรือบางรายกลายเป็นเด็กที่พูดไม่ชัด พูดติดอ่าง หรือพูดแล้วผู้อื่นฟังไม่รู้เรื่อง จับใจความไม่ได้ ปัญหาควรรับมืออย่างไรดี

สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดติดอ่าง มีอะไรบ้าง

สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดติดอ่าง มีอะไรบ้าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ ผู้เลี้ยงดูไม่ควรมองข้าม และควรหาวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อทำให้อาการพูดติดอ่างของลูกดีขึ้น ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ลูกมีปัญหาในด้านการพูดติดอ่าง มีดังนี้

1.การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู, สภาพแวดล้อม, และการตอบสนองของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูสามารถมีผลต่อการพูดไม่ชัดของลูกในวัยเด็ก

2.อารมณ์และจิตใจ ความตึงเครียดและความวิตกกังวลเกี่ยวกับการพูดอาจส่งผลให้เด็กพูดไม่ชัด

3.ปัญหาระบบประสาทและสมอง ลูกมีพัฒนาการช้า หรือมีความล่าช้าในการพัฒนาทางภาษาอาจเกิดจากความล่าช้าของพัฒนาการสมองซีกซ้ายซึ่งเกี่ยวข้องกับการพูดและการสื่อสาร

อาการหลักของเด็กพูดติดอ่าง

อาการหลักของเด็กพูดติดอ่าง

เด็กพูดติดอ่าง เกิดจากความผิดปกติของการพูด พูดในจังหวะที่ผิดปกติ พูดติด ๆ ขัด ๆ ทำให้ไม่สามารถพูดสื่อสารได้ตามต้องการ เด็กจะพูดลากเสียงยาว พูดซ้ำ ๆ พยางค์ ซ้ำคำ พูดแทรกคำ พูดและหยุดอย่างไม่เหมาะสม อาการหลัก หรืออาการเด่นชัดของเด็กที่แสดงถึงการพูดติดอ่าง ได้แก่

1.พูดลากเสียงยาว  เด็กอาจลากเสียงของพยางค์หรือคำให้ยาวกว่าปกติ เช่น “มมมแม่” แทนที่จะพูด “แม่” สั้น ๆ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะเริ่มพูดต่อไปแต่พบอุปสรรค

2.พูดซ้ำพยางค์ ซ้ำเสียง  เด็กอาจพูดพยางค์หรือเสียงซ้ำหลายครั้ง เช่น “บาบาบา” หรือ “ทีทีที” ก่อนที่จะสามารถพูดคำเต็มได้ ซึ่งเกิดจากความยากในการเริ่มต้นคำ

3.พูดซ้ำคำ  เด็กอาจพูดคำเดียวกันซ้ำหลายครั้ง เช่น “อยากอยากกิน” แทนที่จะพูด “อยากกิน” เพื่อให้ลูกได้เวลาในการควบคุมการพูด

4.พูด และ หยุด อย่างไม่เหมาะสม  เด็กอาจพูดคำหรือประโยคแล้วหยุดกะทันหัน ทำให้ประโยคไม่สมบูรณ์ เช่น “ฉันจะ…ไปสวนสัตว์” หยุดกลางประโยค

5.พูดแทรกคำอย่างไม่เหมาะสม  เด็กอาจใส่คำหรือเสียงเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็น เช่น “เอ่อ… ฉันจะไปซื้อ… แพนเค้ก” ทำให้การพูดฟังดูไม่ลื่นไหล

6.พูดแบบไม่มีเสียงออกมา  เด็กอาจพยายามพูดคำหรือประโยค แต่ไม่มีเสียงออกมาเลย เช่น พยายามพูด “น้ำ” แต่ไม่มีเสียงออกมาเลยซึ่งเป็นสัญญาณของความพยายามที่ไม่สำเร็จ

พ่อแม่เป็นผู้ฟังที่ดีให้ลูก ช่วยแก้อาการพูดติดอ่างได้จริงไหม

พ่อแม่เป็นผู้ฟังที่ดีให้ลูก ช่วยแก้อาการพูดติดอ่างได้จริงไหม

การเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นวิธีในการช่วยเหลือในการพูดติดอ่างได้ คุณพ่อคุณแม่ควรฟังอย่างตั้งใจ ให้ความสำคัญในการสนทนากับลูก ทำให้ลูกมั่นใจ รู้สึกปลอดภัยที่จะพูดให้ฟัง ไม่ควรพูดขัดจังหวะ พูดแทรก ในขณะที่ลูกพูด ไม่แสดงความหงุดหงิดเมื่อลูกพูดติดขัด ไม่เร่งรัดให้ลูกรีบพูด เพื่อช่วยลดความตื่นเต้น ความกังวลเมื่อลูกพูดได้

การพูดติดอ่างหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับการพูดการสื่อสารของลูกนั้น เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขและพัฒนาให้ลูกได้ โดยใช้วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตและไม่ควรล่าช้าในการปรับแก้ให้ลูก ฝึกให้ลูกพูดด้วยการใช้เวลา ไม่เร่งรัด ไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าโดนบังคับหรือจ้องจับผิด ไม่ตำหนิลูก ควรฟังลูกอย่างตั้งใจ เพื่อแสดงให้เห็นว่า คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับลูกแค่ไหน เพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ลดความกังวล และมั่นใจที่จะพูด

ทำอย่างไรเมื่อลูกพูดติดอ่าง 

1. ไม่แสดงท่าทีรำคาญขณะที่เด็กพูดไม่คล่อง และไม่จ้องจับผิดเวลาพูดตะกุกตะกัก

2. เป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังลูกด้วยท่าที่ที่อ่อนโยน ผ่อนคลาย รวมทั้งให้เวลาเด็กได้พูดจนจบโดยไม่ขัดจังหวะ 

3. ไม่กระตุ้นหรือเร่งรัดให้เด็กพูดให้ถูก

4. ให้กำลังใจ ไม่เปรียบเทียบเรื่องพูดของลูกกับเด็กคนอื่น

อาการติดอ่างแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์

อาการติดอ่างแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์

1.พูดติดอ่างอย่างรุนแรง จนเด็กมีความกลัวที่จะพูด

2.มีอาการอื่นร่วมด้วยขณะพูดติดอ่าง เช่น อาการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า

3.เด็กมีอาการหงุดหงิด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง

4.พ่อแม่เกิดความวิตกกังวลในปัญหาข้อนี้และไม่สามารถหาทางออกได้ ทางแก้คือคุณพ่อคุณแม่ควรต้องไปปรึกษาแพทย์ เพื่อที่แพทย์จะได้ให้คำตอบที่ชัดเจน และอาจจะช่วยคลายกังวลได้

บทส่งท้าย

การ “พูดติดอ่าง” เป็นความผิดปกติของจังหวะการพูด เช่น พูดซ้ำคำ พูดลากเสียง หรือพูดตะกุกตะกัก ไม่ต่อเนื่อง ทำให้พ่อแม่เกิดความกังวลใจว่าจะส่งผลต่อความมั่นใจและการใช้ชีวิตในอนาคตของลูก แต่ไม่ต้องกังวลไปนะ ขอแค่พ่อแม่เข้าใจ ให้เวลารับฟัง ไม่ตำหนิ เพียงแค่นี้ปัญหาเรื่องพูดติดอ่างก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นได้เอง

เครดิตรูปภาพ www.capitalareapediatrics.com southvalleyent.com themontessoriroom.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (197) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (20) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (38) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (187) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)