ลูกน้ำหนักเกินทำไงดี คุมน้ำหนักลูกยังไงแบบไม่ให้เสียสุขภาพ

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกน้ำหนักเกินทำไงดี คุมน้ำหนักลูกยังไงแบบไม่ให้เสียสุขภาพ” ภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และอาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาสุขภาพอื่น เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น หากพบว่า ลูกน้ำหนักเกิน โดยเฉพาะเมื่อถึงขั้นเป็นโรคอ้วน คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้ลูกมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี และลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ 

รู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้ำหนักเกิน

คุณพ่อคุณแม่หากสงสัยว่าลูกน้ำหนักตัวเกินหรือไม่ วิธีที่จะตรวจสอบว่าลูกน้ำหนักเกินมาตรฐานก็คือการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือ (Body Mass Index หรือ BMI) วิธีนี้จะช่วยให้รู้ถึงความสมดุลของน้ำหนักตัว และส่วนสูง ถือเป็นค่าวัดมาตรฐานที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนผอม เพราะค่าที่ได้สามารถที่จะบอกได้ว่า ลูกของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือน้ำหนักตัวเกินหรือไม่ โดยสามารถตรวจวัดค่าดัชนีมวลกายได้ดังนี้ 

– น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 5%

– น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 5-84%

– น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 85-94%

– โรคอ้วน ค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 95% ขึ้นไป

สาเหตุของภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก

ลูกน้ำหนักเกิน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย เช่น

1.ปัจจัยทางพันธุกรรม

2.พฤติกรรมเนือยนิ่ง หรือไม่ค่อยออกกำลังกาย ไม่ชวนลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน

3.ยอมให้ลูกกินขนมจุกจิก

4.ปล่อยให้ลูกเป็นเด็กกินยาก

5.ปล่อยให้ลูกกินอาหารรสเค็มจัด และหวานจัด

6.ให้ลูกกินแต่อาหารขยะ (Junk Food) อาหารแปรรูป

7.บังคับให้ลูกกินอาหารให้หมด โดยไม่ได้คำนึงว่าลูกกินอิ่มแล้ว

More Than 1 in 7 Kindergartners Obese, Study Finds | Everyday Health

ปัญหาสุขภาพที่ตามมาเมื่อ ลูกน้ำหนักเกิน

หากลูกของคุณมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และคุณปล่อยปละละเลย  อาจส่งผลให้เขาเป็นโรคอ้วนในเด็ก และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่อไปนี้ได้ด้วย

1.โรคหอบหืด เด็กที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนจำนวนมาก พบว่าเป็นโรคหอบหืดด้วย

2.โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งปัจจุบัน มีจำนวนเด็กที่น้ำหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วน เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นมาก

3.โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงแข็งนั้นมีส่วนเชื่อมโยงกับภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และไตรกลีเซอไรด์สูง 

4.โรคความดันโลหิตสูง เด็กที่มีน้ำหนักเกินมักพบเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักเกินไป และนำไปสู่โรคหัวใจได้

5.โรคตับ เด็กที่น้ำหนักเกินอาจเป็นโรคตับ ที่เรียกว่า โรคตับจากไขมันเกาะตับ  และนำไปสู่โรคตับแข็งได้

6.ปัญหารอบเดือน เด็กผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน อาจเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนวัย หรือที่เรียกว่าเป็นสาวก่อนวัย ทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดเนื้องอกในมดลูก หรือมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติเมื่ออายุมากขึ้นได้ด้วย

7.ปัญหาในการนอนหลับ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนในเด็ก เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งหากเป็นเรื้อรัง อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

วิธีช่วยให้ลูกน้ำหนักเกิน ลดน้ำหนักได้

1.เลือกของว่างที่มีประโยชน์ให้ลูก

ควรเน้นอาหารว่างที่มีประโยชน์ และแคลอรี่ต่ำ เช่น ผลไม้สด ถั่ว เมล็ดพืช และควรให้ลูกลดหรืองดอาหารแคลอรี่สูง หรืออาหารไขมันสูง เช่น มันฝรั่งทอด ลูกชิ้นทอด เค้ก น้ำอัดลม

2.ให้ลูกดื่มน้ำเปล่ามากขึ้น

คุณควรให้เด็กดื่มน้ำเปล่า 4-6 แก้วต่อวัน โดยเฉพาะก่อนกินอาหาร เพราะน้ำเปล่าช่วยให้เด็กรู้สึกอิ่ม ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะบวมน้ำ และภาวะขาดน้ำ ทั้งยังไม่มีแคลอรี่ด้วย 

3.ให้ลูกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

ในแต่ละวันลูกควรได้รับอาหารที่เหมาะสมครบทุกหมู่ และดีต่อสุขภาพ คุณแม่ไม่ควรให้ลูกอดอาหารเช้า เพราะมื้อเช้าถือเป็นอาหารที่สำคัญ ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดีตลอดวัน และอาหารเช้ายังมีส่วนช่วยบำรุงสมองด้านความจำอีกด้วย

4.จำกัดเวลาอยู่หน้าจอ

คุณควรจำกัดเวลาในการเสพสื่อบันเทิง หรือให้ลูกใช้เวลาหน้าจอคอมพิวเตอร์ จอโทรทัศน์ หรือจอโทรศัพท์มือถือ แค่วันละไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพราะกิจกรรมนี้ใช้พลังงานไม่เยอะ ทำให้การเผาผลาญแคลอรี่ได้ไม่ดี ยังมักทำให้เด็กชอบกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ 

5.ชวนลูกออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในการควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนัก คุณพ่อคุณแม่ควรชวนลูกน้ำหนักเกินมาออกกำลังกายให้มากขึ้น ด้วยกิจกรรมที่เหมาะกับเด็ก  อย่างน้อยครั้งละ 20-30 นาที 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยจะออกกำลังกายด้วยการเดิน การวิ่ง การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน หรือการเล่นกีฬา 

6.เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก

หากคุณอยากให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น คุณก็ควรทำตัวเป็นแบบอย่าง หรือทำกิจกรรมนั้น ๆ ไปพร้อมกับลูกด้วย เพื่อให้เขารู้สึกมีกำลังใจ ไม่โดดเดี่ยว หรือไม่รู้สึกกดดันมากเกินไป

สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

1.อย่าเร่งรีบ ควรค่อยเป็นค่อยไป เพราะการลดน้ำหนักแบบสุขภาพดีนั้นต้องใช้เวลา

2.ให้ทุกคนในครอบครัวได้มีส่วนร่วม เช่น ปรับเปลี่ยนอาหารของทุกคนให้ดีต่อสุขภาพ ชวนกันไปออกกำลังกายทั้งบ้าน เพราะวิธีนี้จะส่งผลให้เด็กลดน้ำหนักได้มากกว่าการให้เขาลดน้ำหนักอยู่คนเดียว

3.จัดสรรเวลา หรือโอกาสพิเศษให้ลูกได้กินขนม หรืออาหารโปรดของลูกบ้าง

4.หลีกเลี่ยงการให้ลูกลดน้ำหนักด้วยรูปแบบที่รวดเร็ว หรือเคร่งครัดเกินไป เช่น การทำ IF การกินอาหารตามตารางที่เรียกว่า Fad diet เพราะถึงแม้การลดน้ำหนักด้วยวิธีเหล่านี้จะได้ผล แต่ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของของลูกได้

บทส่งท้าย

หากลองช่วยลูกลดน้ำหนักด้วยวิธีการที่ปลอดภัยแล้ว แต่น้ำหนักของเขายังไม่ลดลงเท่าที่ควร แนะนำให้ปรึกษากุมารแพทย์ หรือหมอเด็ก จะได้หาวิธีลดน้ำหนักที่เหมาะสมกับลูก หรือการลดน้ำหนักส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเด็ก ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญ

เครดิตรูปภาพ scitechdaily.com www.everydayhealth.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (189) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (181) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)